คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 697

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8370/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: การยกเว้นความรับผิดจากผลการปลดจำนอง และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่โจทก์ปลดจำนองให้แก่ ว. อาจทำให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่อาจรับช่วงสิทธิจากโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคสอง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดเพียงเท่าที่ตนต้องเสียหายตามมาตรา 697 ก็ตาม แต่ปรากฏว่าตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ ข้อ 5 ระบุว่า "การค้ำประกันนี้ย่อมผูกพันผู้ค้ำประกันอย่างสมบูรณ์ตลอดไป... และผู้ค้ำประกันไม่พ้นจากการรับผิด เพราะเหตุผู้ให้กู้อาจกระทำการใดๆ ไป เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสิทธิใดๆ อันได้ให้หรืออาจได้ให้ไว้แก่ผู้ให้กู้แต่ก่อนหรือในขณะทำสัญญาค้ำประกันนี้" อันเป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาได้ตกลงกันยกเว้นบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 697 ซึ่งมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์และจำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจตกลงกันให้มีผลเป็นอย่างอื่นได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ตกลงปลดจำนองค้ำประกันร่วมให้แก่ ว. แม้จะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 ได้รับความเสียหายก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามข้อสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสัญญาซื้อลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ลูกหนี้ฟื้นฟูกิจการ ความรับผิดยังคงอยู่
สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ป. ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกัน ดังนั้น การยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท ป. ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกไว้ต่อโจทก์ แม้ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทดังกล่าวก็ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อการส่งสินค้าออกของบริษัท ป. ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ไม่ทำให้หนี้ระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน กรณีนี้ไม่อาจปรับบทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8328/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันแยกจากตั๋วสัญญาใช้เงิน, ผลกระทบการฟื้นฟูกิจการ, การไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นสัญญาอีกอย่างหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกให้ไว้แก่โจทก์ ความรับผิดของจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ ป.พ.พ. มาตรา 985 ประกอบมาตรา 941 บังคับให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนด
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของผู้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่มีผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง การที่โจทก์ไม่นำหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ดังกล่าวระงับ จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสามหลุดพ้นจากความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน กรณีไม่อาจปรับบทตาม ป.พ.พ. มาตรา 697

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน - การยินยอมให้มีการกันส่วนของสินสมรสไม่ปลดเปลื้องความรับผิด
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เงิน ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการกู้เงินดังกล่าว โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ภายในวงเงินที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้ ซึ่งตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า "...นอกจากนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่พ้นจากความรับผิดเพราะเหตุธนาคารอาจกระทำการใด ๆ ไปเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือบางส่วนในสิทธิใด ๆ ก็ดี จำนองก็ดี จำนำก็ดี และบุริมสิทธิซึ่งลูกหนี้หรือบุคคลอื่นใดก็ตามได้ให้ไว้แก่ธนาคารแต่ก่อน หรือในขณะหรือหลังจากวันทำสัญญาค้ำประกันนี้" และข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะคู่สัญญา ดังนี้ แม้โจทก์ผู้รับจำนองเพิกเฉยไม่คัดค้านการร้องขอกันส่วนของจำเลยที่ 4 สามีจำเลยที่ 1 ในฐานะสินสมรส ทำให้จำเลยที่ 4 ได้รับเงินส่วนที่ขอกันไว้ 750,000 บาท จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนอง เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องเสียหายก็ตาม จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้ และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8154/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน แม้เจ้าหนี้ไม่คัดค้านการขอกันส่วนจากทรัพย์สินที่จำนอง
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ตามสัญญากู้เงินส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการกู้เงินดังกล่าว โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ภายในวงเงินที่จำเลยที่ 2และที่ 3 ค้ำประกันไว้ ซึ่งตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า"นอกจากนี้ผู้ค้ำประกันย่อมไม่พ้นจากความรับผิดเพราะเหตุธนาคารอาจกระทำการใด ๆ ไปเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงได้ทั้งหมดหรือบางส่วนในสิทธิใด ๆ ก็ดี จำนองก็ดี จำนำก็ดี และบุริมสิทธิซึ่งลูกหนี้หรือบุคคลอื่นใดก็ตามได้ให้ไว้แก่ธนาคารแต่ก่อนหรือในขณะหรือหลังจากวันทำสัญญาค้ำประกันนี้"และข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะคู่สัญญาดังนี้ แม้โจทก์ผู้รับจำนองเพิกเฉยไม่คัดค้านการร้องขอกันส่วนของจำเลยที่ 4 สามีจำเลยที่ 1 ในฐานะสินสมรสทำให้จำเลยที่ 4 ได้รับเงินส่วนที่ขอกันไว้750,000 บาท จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องเสียหายก็ตามจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดไปได้ และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเช็คและตั๋วสัญญาใช้เงิน: ความรับผิดเมื่อเช็คสูญหายและการหักกลบลบหนี้
จำเลยนำเช็คมาขายลดให้โจทก์และออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนเท่ากันกำหนดใช้เงินให้โจทก์เมื่อครบ 58 วันเท่ากับระยะเวลาที่เช็คถึงกำหนดชำระเงินพร้อมกับได้ทำหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุให้เช็คดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ที่ประกันในการออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อตกลงในการชำระเงินว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินให้โจทก์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร ถ้าโจทก์ได้รับเงินตามเช็คก็ให้ถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยเป็นผู้ออกนั้นได้ใช้เงินแล้วหนี้ที่ซื้อขายลดเช็คเป็นอันระงับไป หากเช็คเบิกเงินไม่ได้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ดังนี้ การออกตั๋วสัญญาใช้เงินและหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นความสมัครใจของโจทก์และจำเลย เกิดเป็นสัญญามีผลผูกพันบังคับกันได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวสูญหายไปจำเลยต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มิได้นำเช็คไปเบิกจากธนาคารก่อนหรือการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ และเรื่องนี้มิใช่เรื่องสัญญาค้ำประกัน จำเลยจะยกเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 มาปัดความรับผิดก็ไม่ได้เช่นกัน หนี้ที่จำเลยนำมาขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์เป็นหนี้ที่เกิดจากความเสียหายอันเนื่องจากการที่โจทก์ทำเช็คสูญหายไปมิใช่เป็นหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ตามเช็คให้จำเลยโจทก์มิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจึงไม่มีหนี้อะไรตามเช็คที่จำเลยจะนำมาหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ต่างหาก โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและนำมาขายให้แก่โจทก์ ครั้นถึงกำหนดจำเลยไม่ยอมชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยนำเช็คมาขายลดให้โจทก์แล้วออกตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมกับทำหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุเช็คนั้นเป็นประกันการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยมีข้อตกลงว่า หากโจทก์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจะต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเช็คและตั๋วสัญญาใช้เงิน การชำระหนี้ด้วยเช็ค และการหักกลบลบหนี้
จำเลยนำเช็คมาขายลดให้โจทก์และออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนเท่ากันกำหนดใช้เงินให้โจทก์เมื่อครบ 58 วันเท่ากับระยะเวลาที่เช็คถึงกำหนดชำระเงินพร้อมกับได้ทำหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุให้เช็คดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ที่ประกันในการออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อตกลงในการชำระเงินว่า เมื่อถึงกำหนดชำระเงินให้โจทก์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคาร ถ้าโจทก์ได้รับเงินตามเช็คก็ให้ถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่จำเลยเป็นผู้ออกนั้นได้ใช้เงินแล้ว หนี้ที่ซื้อขายลดเช็คเป็นอันระงับไป หากเช็คเบิกเงินไม่ได้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ดังนี้ การออกตั๋วสัญญาใช้เงินและหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นความสมัครใจของโจทก์และจำเลย เกิดเป็นสัญญามีผลผูกพันบังคับกันได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวสูญหายไป จำเลยต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มิได้นำเช็คไปเบิกจากธนาคารก่อนหรือการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่ และเรื่องนี้มิใช่เรื่องสัญญาค้ำประกันจำเลยจะยกเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 มาปัดความรับผิดก็ไม่ได้เช่นกัน
หนี้ที่จำเลยนำมาขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์เป็นหนี้ที่เกิดจากความเสียหายอันเนื่องจากการที่โจทก์ทำเช็คสูญหายไป มิใช่เป็นหนี้ที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ตามเช็คให้จำเลย โจทก์มิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คจึงไม่มีหนี้อะไรตามเช็คที่จำเลยจะนำมาหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรชอบที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่โจทก์ต่างหาก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินโดยอ้างว่าจำเลยเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและนำมาขายให้แก่โจทก์ ครั้นถึงกำหนดจำเลยไม่ยอมชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยนำเช็คมาขายลดให้โจทก์แล้วออกตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมกับทำหนังสือรับรองการมอบตั๋วสัญญาใช้เงินโดยระบุเช็คนั้นเป็นประกันการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยมีข้อตกลงว่า หากโจทก์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารไม่ได้ จำเลยจะต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนี้ ไม่ถือว่าข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหนี้ร่วม และการฟ้องล้มละลาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
คำพิพากษาในคดีแพ่งที่พิพากษาให้จำเลยทั้ง 4 ร่วมกันชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ค้ำประกัน หากไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาด ถ้าได้เงินไม่พอ ให้ยึดทรัพย์อื่นของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดชำระจนครบ นั้น หมายถึงการบังคับคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ในกรณีที่จำเลยที่ 3 ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา หาได้หมายความว่าให้โจทก์บังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 โดยสิ้นเชิงก่อน ถ้าได้เงินไม่พอจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 4 ไม่ จำเลยที่ 4 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องและบังคับจำเลยที่ 4 ให้ชำระหนี้ที่ยังเหลือจากที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 3 และอาศัยหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่าสามหมื่นบาท เป็นมูลฟ้องให้ล้มละลายได้
จำเลยกล่าวในฎีกาแต่เพียงว่า ยังไม่มีเหตุผลสมควรที่ะให้จำเลยล้มละลายได้มิได้กล่าวข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือมีฐานะมีทรัพย์สินอาจชำระหนี้ให้ครบได้อย่างไร หรือมีเหตุอื่นใดบ้างที่ไม่ควรให้ล้มละลาย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 7 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: การคืนโฉนดไม่ปลดเปลื้องความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้น การที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันและการคืนโฉนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดตามสัญญา
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้นการที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่
of 2