พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11097/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: การโต้แย้งความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง ไม่ใช่การโต้แย้งอำนาจศาล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ใช่การจ้างแรงงาน โจทก์ไม่ใช่ลูกจ้าง จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกร้องเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อศาลแรงงานภาค 5 คำให้การของจำเลยทั้งสองเป็นการยกข้อต่อสู้เพื่อให้ศาลแรงงานภาค 5 วินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคดีว่าจำเลยทั้งสองกับโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์เป็นนายจ้างลูกจ้างกัน โจทก์ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินจากจำเลยทั้งสองต่อศาลแรงงานภาค 5 คำให้การของจำเลยทั้งสองไม่ใช่การอ้างเหตุหรือโต้แย้งอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจำกัดสิทธิประกอบอาชีพและข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม กรณีเบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลแก้ไขให้มีผลใช้ได้เท่าที่เป็นธรรม
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่ว่าคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และคดีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 (1) อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง
จำเลยที่ 1 ทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งนักบิน หากจำเลยที่ 1 ไม่ผ่านการฝึกอบรมตามสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศจำเลยที่ 1 จะไม่สามารถทำหน้าที่ขับเครื่องบินที่โจทก์นำมาใช้ในสายการบินของโจทก์ได้ การฝึกอบรมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีคุณวุฒิเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นที่ต้องการของบริษัทอื่น ข้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์มิฉะนั้นต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนและเสียเบี้ยปรับจึงเป็นข้อหามที่มีลักษณะเพื่อปกป้องกิจการของโจทก์ไม่ให้สูญเสียพนักงานเป็นข้อตกลงที่สามารถกระทำได้ ทั้งจำเลยที่ 1 สามารถจะเลือกได้ว่าจะกลับมาทำงานกับโจทก์หรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนให้โจทก์พร้อมทั้งเสียเบี้ยปรับ 3 เท่าของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืน ข้อกำหนดเบี้ยปรับ 3 เท่า ดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ แต่โจทก์ส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมเพียง 14 วัน โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไว้ 300,000 บาท และโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ไปเพียง 223,871.70 บาท ข้อกำหนดที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นเวลาถึง 3 ปี เป็นการทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติศาลฎีกาให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
จำเลยที่ 1 ทำงานเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งนักบิน หากจำเลยที่ 1 ไม่ผ่านการฝึกอบรมตามสัญญาให้ทุนฝึกอบรมต่างประเทศจำเลยที่ 1 จะไม่สามารถทำหน้าที่ขับเครื่องบินที่โจทก์นำมาใช้ในสายการบินของโจทก์ได้ การฝึกอบรมมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีคุณวุฒิเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นที่ต้องการของบริษัทอื่น ข้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์มิฉะนั้นต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนและเสียเบี้ยปรับจึงเป็นข้อหามที่มีลักษณะเพื่อปกป้องกิจการของโจทก์ไม่ให้สูญเสียพนักงานเป็นข้อตกลงที่สามารถกระทำได้ ทั้งจำเลยที่ 1 สามารถจะเลือกได้ว่าจะกลับมาทำงานกับโจทก์หรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคืนให้โจทก์พร้อมทั้งเสียเบี้ยปรับ 3 เท่าของจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้คืน ข้อกำหนดเบี้ยปรับ 3 เท่า ดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ แต่โจทก์ส่งจำเลยที่ 1 ไปฝึกอบรมเพียง 14 วัน โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไว้ 300,000 บาท และโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมของจำเลยที่ 1 ไปเพียง 223,871.70 บาท ข้อกำหนดที่ให้จำเลยที่ 1 ต้องกลับมาทำงานกับโจทก์ในตำแหน่งและหน้าที่ที่โจทก์กำหนดเป็นเวลาถึง 3 ปี เป็นการทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติศาลฎีกาให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7397/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: กรณีสัญญานอกเหนือสัญญาจ้างแรงงาน (สัญญาตัวแทน) และการส่งสำนวนให้อธิบดีผู้พิพากษาเพื่อวินิจฉัยอำนาจ
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าอย่างไร มีสิทธิและหน้าที่ต่อกันอย่างไร และจำเลยกระทำการใดอันถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ส่วนจะเป็นสัญญาประเภทใด ต้องยกกฎหมายใดมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้นเป็นหน้าที่ของศาลที่จะวินิจฉัยเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยมิใช่เป็นนายจ้างลูกจ้างกันตามสัญญาจ้างแรงงานแต่เป็นสัญญาตัวแทนซึ่งเป็นสัญญาแบบหนึ่งที่สามารถใช้บังคับได้ จึงมีปัญหาว่าศาลแรงงานกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาถึงความรับผิดตามสัญญาตัวแทนหรือไม่ แสดงว่ามีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 หรือไม่ ซึ่งเป็นอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยตามมาตรา 9 วรรคสอง ศาลแรงงานกลางจึงต้องส่งสำนวนให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อนว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ก่อนจะวินิจฉัยถึงความรับผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8789/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่, ค่าเสียหายจากการฟ้องแย้ง, อำนาจศาลแรงงาน, การหักลบค่าใช้จ่าย, ข้อจำกัดการอุทธรณ์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าการที่จะพิจารณาว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5) หรือไม่ ต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ชัดแจ้งเช่นสมุดลงชื่อเวลาทำงานของลูกจ้าง บัตรตอกเวลาทำงานของลูกจ้าง เป็นต้น ทั้งต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีเพราะหลังจากลูกจ้างถูกเลิกจ้างแล้วลูกจ้างก็ไม่อาจหาหลักฐานสำคัญซึ่งอยู่ในที่ทำงานมาแสดงต่อศาลแรงงานได้ ไม่อาจขอความช่วยเหลือลูกจ้างด้วยกันมาเป็นพยานบุคคลได้ โจทก์ถูกยกฟ้องแล้วยังต้องชดใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 1 อีก จึงเป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบนั้น โจทก์ประสงค์จะให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิได้ละทิ้งหน้าที่โดยขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค 9 อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำสั่งรับฟ้องแย้งของศาลแรงงานภาค 9 ไม่ใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานภาค 9 ไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
การที่โจทก์จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่ โจทก์จะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง เพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้เพื่อศาลแรงงานภาค 9 จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานภาค 9 จะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้นเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง โจทก์มิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานภาค 9 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจของศาลแรงงานภาค 9 ที่จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลแรงงานภาค 9 พิจารณาพิพากษาคดีในปัญหาดังกล่าวแล้ว โจทก์เพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาพิพากษาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว
คำสั่งรับฟ้องแย้งของศาลแรงงานภาค 9 ไม่ใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานภาค 9 ไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
การที่โจทก์จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่ โจทก์จะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง เพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้เพื่อศาลแรงงานภาค 9 จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานภาค 9 จะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้นเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง โจทก์มิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานภาค 9 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจของศาลแรงงานภาค 9 ที่จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลแรงงานภาค 9 พิจารณาพิพากษาคดีในปัญหาดังกล่าวแล้ว โจทก์เพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาพิพากษาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย, และการบังคับใช้ตามคำพิพากษาในคดีแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 กำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินประกัน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย หรือค่าชดเชยพิเศษ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน นอกเหนือจากที่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดที่กำหนดให้ต้องเสียร้อยละสิบห้าต่อปีอีกด้วย เมื่อค่าจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยไม่ได้จ่ายแก่โจทก์ยังมีข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยต้องจ่ายให้โจทก์หรือไม่ และจะนำไปหักกลบลบหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ได้หรือไม่ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นนายจ้างจงใจไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเจ็ดวันแต่อย่างใด
การอุทธรณ์ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ซึ่งจำเลยจะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อศาลแรงงานกลางจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดีและวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พ.รบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ในคำให้การ แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 180 บัญญัติว่า "การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย" ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น
การอุทธรณ์ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ซึ่งจำเลยจะต้องยกเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาท เพื่อศาลแรงงานกลางจะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดีและวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้น พ.รบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นที่สุด เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ในคำให้การ แสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ จำเลยเพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ซึ่งล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 180 บัญญัติว่า "การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย" ในคดีแรงงานถือได้ว่าไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: อธิบดีศาลแรงงานกลางมีอำนาจวินิจฉัยเด็ดขาด หากมีปัญหาเรื่องอำนาจพิจารณา
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม.9 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด" การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานและมีคำสั่งไม่รับฟ้องนั้นแสดงว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้วว่าคดีนี้จะอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานหรือไม่ ซึ่ง ม.9 วรรคสอง บัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยศาลชั้นต้นหามีอำนาจวินิจฉัยไม่ การที่ศาลชั้นต้นเป็นผู้วินิจฉัยเสียเองว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งเดิมถูกยกเลิก: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความ 1 ปี
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลางหลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งยกเลิก - อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความลาภมิควรได้ - ศาลแรงงานพิพากษายืน
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว และจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน 62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีมีข้อพิพาทเรื่องอำนาจศาลแรงงาน ต้องส่งให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9วรรคสอง บัญญัติถึงกรณีมีปัญหาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย โดยให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานเป็นประเด็นมาแต่เริ่มแรก ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาคดีต่อไปแล้ววินิจฉัยเองว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นโดยไม่ส่งปัญหาไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8622/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีแรงงาน: การยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจศาลต้องทำในคำให้การ และอายุความสัญญาจ้าง
การที่จำเลยจะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางหรือไม่ จำเลยจะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การให้เป็นประเด็นพิพาท เพื่อที่จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาคดี เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ดังกล่าวไว้ในคำให้การแสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วจำเลยเพิ่งจะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์
ตามคำฟ้องโจทก์เสนอข้อหาต่อศาลว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างดังกล่าวมิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ตามคำฟ้องโจทก์เสนอข้อหาต่อศาลว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเรียกเอาจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างดังกล่าวมิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะย่อมมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30