พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,669 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างที่ผูกพันสมาชิกสหภาพแรงงาน: การนำค่าครองชีพมารวมเงินเดือน และผลกระทบต่อการเรียกร้องค่าล่วงเวลา
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่า จำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ 500 บาท ไปรวมกับเงินเดือนของพนักงานและพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีก บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลย ผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้ แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด โดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำผ่านสหภาพแรงงานมีผลผูกพันสมาชิก แม้จะไม่ได้ฟ้องร้องค้างเก่า
พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานของจำเลยตกลงกันได้ว่าจำเลยตกลงนำเงินค่าครองชีพเดือนละ500บาทไปรวมกับเงินเดือนของพนักงานและพนักงานไม่ติดใจที่จะนำปัญหาการคิดคำนวณค่าล่วงเวลาย้อนหลังไปฟ้องร้องต่อไปอีกบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นจากการแจ้งข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานของจำเลยต่อจำเลยผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อในบันทึกข้กตกลงที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้บันทึกไว้แล้วคู่กรณีนำไปจดทะเบียนต่ออธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นโดยชอบตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มีผลใช้บังคับและผูกพันคู่กรณีรวมทั้งโจทก์ทั้งหมดซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าล่วงเวลาค่าทำงานในวันหยุดค่าล่วงเวลาในวันหยุดโดยนำค่าครองชีพไปรวมกับเงินเดือนเป็นฐานคำนวณย้อนหลัง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนข้อเรียกร้องแรงงานทำให้สิทธิปิดงานระงับ, การปิดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อเรียกร้องเพื่อกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต้องทำเป็นหนังสือ ในกรณีที่ฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องถอนข้อเรียกร้องของฝ่ายตนไปตามสิทธิของตน และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้โต้แย้งถือว่าข้อเรียกร้องของฝ่ายแรกหมดสิ้นไปข้อพิพาทแรงงานที่เกิดจากสาเหตุที่ฝ่ายนั้นยื่นข้อเรียกร้องย่อมระงับไปด้วยสิทธิที่จะปิดงาน(ของอีกฝ่ายหนึ่ง)ย่อมระงับตามไปด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: การบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า 'เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือ การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างผู้แทนลูกจ้างกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการหรือ อนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง' การที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ โดยไม่เป็นธรรม ไร้เหตุผลในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งโจทก์ ได้ยื่นข้อเรียกร้องไว้ต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นั้น เป็นการบรรยายการกระทำผิดของจำเลยทั้งสอง ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนการกระทำ ของจำเลยทั้งสองเป็นกรณีไม่เป็นธรรมหรือไร้เหตุผลหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดนั้นฉะนั้นโจทก์จะบรรยายฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องทางแรงงาน ไม่จำเป็นต้องระบุเหตุผลว่าไม่เป็นธรรมหรือไม่
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า.'เมื่อได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือ การชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 ห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้างผู้แทนลูกจ้างกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการหรือ อนุกรรมการสหพันธ์แรงงานซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง' การที่โจทก์ บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ โดยไม่เป็นธรรม ไร้เหตุผลในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องซึ่งโจทก์ ได้ยื่นข้อเรียกร้องไว้ต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 นั้น เป็นการบรรยายการกระทำผิดของจำเลยทั้งสอง ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ส่วนการกระทำ ของจำเลยทั้งสองเป็นกรณีไม่เป็นธรรมหรือไร้เหตุผลหรือไม่ ไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดนั้นฉะนั้นโจทก์จะบรรยายฟ้องไว้หรือไม่ก็ตาม ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปิดงาน-นัดหยุดงาน: ข้อพิพาทแรงงานตกลงกันไม่ได้ นายจ้าง/ลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกัน
เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่ว่าข้อขัดแย้งนั้นจะเกิดจากฝ่ายใดเป็นฝ่ายแจ้งหรือข้อเรียกร้อง ถ้าได้ดำเนินการเจรจาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วแต่มิอาจตกลงกันได้ ซึ่งถือเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้นั้น นายจ้างหรือลูกจ้างย่อมมีสิทธิปิดงานหรือนัดหยุดงานได้แล้วแต่กรณี ไม่ใช่จะมีสิทธิเฉพาะฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง, ค่าครองชีพเป็นฐานคำนวณค่าล่วงเวลา, และดอกเบี้ยจากเงินที่ค้างจ่าย
กรณีที่สหภาพแรงงานและนายจ้างต่างแจ้งข้อเรียกร้องฝ่ายละหลายข้อ ซึ่งต้องแบ่งข้อเรียกร้องเจรจากันเป็นคราว ๆ ไป แม้ในการเจรจาคราวแรกจะตกลงกันได้และทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ในการเจรจาข้อเรียกร้องข้ออื่น ๆ ต่อมา สหภาพแรงงานก็มีอำนาจที่จะตกลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกได้ ดังนั้น เมื่อข้อตกลงในการเจรจาคราวแรกกำหนดเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จไว้ประการหนึ่ง แล้วต่อมาทำความตกลงเพิ่มเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จอีกประการหนึ่ง อันเป็นเงื่อนไขซึ่งจะตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะกระทำผิดในอนาคต ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของลูกจ้างทั่วไปที่ได้รับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกอยู่ก่อนแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังนี้จึงมีผลใช้บังคับ
เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง
ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง
ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจสหภาพแรงงานในการแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และฐานคำนวณค่าล่วงเวลา
กรณีที่สหภาพแรงงานและนายจ้างต่างแจ้งข้อเรียกร้องฝ่ายละหลายข้อ ซึ่งต้องแบ่งข้อเรียกร้องเจรจากันเป็นคราวๆไปแม้ในการเจรจาคราวแรกจะตกลงกันได้และทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ในการเจรจาข้อเรียกร้องข้ออื่นๆต่อมา สหภาพแรงงานก็มีอำนาจที่จะตกลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกได้ ดังนั้น เมื่อข้อตกลงในการเจรจาคราวแรกกำหนดเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จไว้ประการหนึ่ง แล้วต่อมาทำความตกลงเพิ่มเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จอีกประการหนึ่ง อันเป็นเงื่อนไขซึ่งจะตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะกระทำผิดในอนาคต ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของลูกจ้างทั่วไปที่ได้รับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกอยู่ก่อนแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังนี้จึงมีผลใช้บังคับ เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกร้องค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานจริง การอยู่เวรก็ถือเป็นการทำงาน
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที
การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย
การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างตามระเบียบข้อบังคับ – การจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานให้ทำช่วงเวลาที่อยู่เวร
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย