พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,669 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607-2608/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเรียกร้องไม่ครบ 15% ไม่มีผล นัดหยุดงานโดยมิชอบ เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
เมื่อโจทก์กับพวกยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 มีลายมือชื่อผู้เรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าข้อเรียกร้องจึงไม่มีผลและถือได้ว่าตกไปการที่มีการยื่นลายมือชื่อผู้เรียกร้องเพิ่มขึ้นหาทำให้ข้อเรียกร้องดังกล่าวกลับถูกต้องตามกฎหมายไม่โจทก์จึงไม่มีมูลฐานที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อนัดหยุดงานได้โดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยให้โจทก์กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ก็ยังคงนัดหยุดงานกันต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607-2608/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเรียกร้องไม่ครบตามกฎหมาย, นัดหยุดงานโดยมิชอบ, การเลิกจ้างที่เป็นธรรม
เมื่อโจทก์กับพวกยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 มีลายมือชื่อผู้เรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้า ข้อเรียกร้องจึงไม่มีผลและถือได้ว่าตกไป การที่มีการยื่นลายมือชื่อผู้เรียกร้องเพิ่มขึ้นหาทำให้ข้อเรียกร้องดังกล่าวกลับถูกต้องตามกฎหมายไม่ โจทก์จึงไม่มีมูลฐานที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อนัดหยุดงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยให้โจทก์กลับเข้าทำงานแต่โจทก์ก็ยังคงนัดหยุดงานกันต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพตามข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายและขอบเขตของข้อตกลง
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายแก่ลูกจ้างเป็น รายเดือนจะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างก็ตาม แต่เมื่อการที่นายจ้างตกลงจะจ่ายเงินค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเกิดจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่จ่ายตามข้อผูกพัน หรือ สัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิม ดังนั้น การจ่ายเงินค่าครองชีพจำต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2004/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพตามข้อตกลงสภาพการจ้าง: เงื่อนไขการจ่ายและขอบเขตการบังคับใช้
แม้เงินค่าครองชีพซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายแก่ลูกจ้างเป็น รายเดือนจะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างก็ตาม แต่เมื่อการที่นายจ้างตกลงจะจ่ายเงินค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเกิดจาก ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่จ่ายตามข้อผูกพัน หรือ สัญญาจ้างแรงงานที่มีอยู่เดิม ดังนั้น การจ่ายเงินค่าครองชีพ จำต้องอยู่ภายใต้บังคับของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหา อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็น ไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
เมื่อคดีไม่มีประเด็นว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างขัดต่อกฎหมายหรือมีผลใช้บังคับหรือไม่ การที่คู่ความ อุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้จะเป็นปัญหา อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาเห็น ไม่สมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: คุ้มครองลูกจ้างแม้มีเหตุเลิกจ้างตามข้อตกลง
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้นแม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: สิทธิของลูกจ้างและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้น แม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องได้รับความยินยอมจากทุกฝ่าย และต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย มิฉะนั้นไม่มีผลบังคับ
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนอกจากจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์กำหนดไว้แล้ว ยังจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วยมิฉะนั้นจะไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย หากไม่ได้รับความยินยอม การแก้ไขนั้นไม่ผูกพันและไม่มีผลตามกฎหมาย
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นอกจากจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์กำหนดไว้แล้ว ยังจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วยมิฉะนั้นจะไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การสิ้นสภาพข้อพิพาทเมื่อลูกจ้างไม่ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และการโต้แย้งสิทธิจากคำวินิจฉัยรัฐมนตรี
แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุตำแหน่งจำเลยมาในฟ้อง แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวว่าจำเลยเป็นพนักงานปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อาศัยความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยและคำสั่งที่ มท 1206/9094 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2515 ของจำเลยโดยระบุตำแหน่งจำเลยไว้ด้วย ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาของข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ได้วินิจฉัยอำนาจร้องของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแล้วจึงเป็นการครบขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 23 กำหนดไว้ ฝ่ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่อนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ โดยลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเพียงเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่ การที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องถอนชื่อออกจากการสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยความสมัครใจเหลือจำนวนลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อพิพาทแรงงานนั้น จึงสิ้นสภาพนับแต่วันที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาของข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ได้วินิจฉัยอำนาจร้องของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแล้วจึงเป็นการครบขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 23 กำหนดไว้ ฝ่ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่อนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ โดยลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเพียงเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่ การที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องถอนชื่อออกจากการสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยความสมัครใจเหลือจำนวนลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อพิพาทแรงงานนั้น จึงสิ้นสภาพนับแต่วันที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อเรียกร้องและเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างต้องครอบคลุมลูกจ้างทั้งหมด มิเช่นนั้นข้อตกลงทำกับผู้แทนที่ไม่ชอบจะไม่มีผลผูกพัน
การที่นายจ้างแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างนั้น เพียงแต่นายจ้างปิดประกาศข้อเรียกร้อง และส่งสำเนาประกาศแก่หัวหน้าแผนกทราบเพื่อชี้แจงแก่ลูกจ้างในแผนกก็เป็นการเพียงพอแล้ว
การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างโดยลูกจ้างจัดการเอง ต้องมีการประชุมลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ในกรณีที่ข้อเรียกร้องของนายจ้างเกี่ยวกับเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้างข้อเรียกร้องนี้จึงเกี่ยวข้องกับลูกจ้างทั้งหมด การประชุมเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างจึงต้องเป็นการประชุมลูกจ้างทั้งหมดเพื่อพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใดเป็นผู้แทนในการเจรจากับฝ่ายนายจ้างไม่ใช่เลือกตั้งกันเป็นแผนก ๆ เพราะลูกจ้างที่แผนกอื่นเลือกตั้งมาอาจไม่ใช่ผู้ที่ลูกจ้างในอีกแผนกหนึ่งประสงค์จะเลือกเป็นผู้แทนก็ได้
ถ้าผู้แทนที่เลือกตั้งมาไม่ใช่ผู้แทนของลูกจ้างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างนั้นไม่ชอบ เมื่อผู้ซึ่งไม่ได้เป็นผู้แทนลูกจ้างที่แท้จริงไปทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับนายจ้าง ข้อตกลงนั้นทั้งฉบับไม่มีผลบังคับ
การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างโดยลูกจ้างจัดการเอง ต้องมีการประชุมลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ในกรณีที่ข้อเรียกร้องของนายจ้างเกี่ยวกับเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้างข้อเรียกร้องนี้จึงเกี่ยวข้องกับลูกจ้างทั้งหมด การประชุมเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างจึงต้องเป็นการประชุมลูกจ้างทั้งหมดเพื่อพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใดเป็นผู้แทนในการเจรจากับฝ่ายนายจ้างไม่ใช่เลือกตั้งกันเป็นแผนก ๆ เพราะลูกจ้างที่แผนกอื่นเลือกตั้งมาอาจไม่ใช่ผู้ที่ลูกจ้างในอีกแผนกหนึ่งประสงค์จะเลือกเป็นผู้แทนก็ได้
ถ้าผู้แทนที่เลือกตั้งมาไม่ใช่ผู้แทนของลูกจ้างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง การเลือกตั้งผู้แทนลูกจ้างนั้นไม่ชอบ เมื่อผู้ซึ่งไม่ได้เป็นผู้แทนลูกจ้างที่แท้จริงไปทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับนายจ้าง ข้อตกลงนั้นทั้งฉบับไม่มีผลบังคับ