พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีซื้อบริภัณฑ์ในสัญญาเช่าสถานีบริการน้ำมัน: การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและข้อจำกัดในการหักลดหย่อน
ตามสัญญาเช่าดำเนินกิจการสถานีบริการและยืมบริภัณฑ์ โจทก์ให้เช่าสถานีบริการน้ำมันตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ส่วนบริภัณฑ์นั้นโจทก์ให้ผู้เช่ายืมใช้เพื่อประโยชน์ในการจำหน่ายน้ำมันของผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าต้องซื้อผลิตภัณฑ์จากโจทก์โดยตรงเท่านั้น บริภัณฑ์ที่โจทก์ให้ผู้เช่ายืมจึงเป็นส่วนสำคัญของการให้เช่าสถานีบริการน้ำมัน เมื่อการให้เช่าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อ "บริภัณฑ์" จึงเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งต้องห้ามมิให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษีได้เฉพาะการขายสินค้า/บริการของตนเอง ใบกำกับภาษีปลอมนำมาหักภาษีซื้อไม่ได้
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86 ผู้ที่จะออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าได้จะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิได้ขายสินค้าหรือบริการไม่อาจออกใบกำกับภาษีแทนผู้อื่นได้
ว. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีในนามของตนเองหรือในนามของลิฟท์ไทยเอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นชื่อสถานประกอบการตามที่จดทะเบียนไว้ เมื่อโจทก์ติดต่อซื้อรางรถไฟจาก ว. และชำระค่ารางรถไฟให้โดยเช็คระบุชื่อบริษัทลิฟท์ไทยเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ที่มีสิทธิและหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์คือ ว. หรือลิฟท์ไทยเอ็นจิเนียริ่งใบกำกับภาษีฉบับพิพาทซึ่งออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัดส. จึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นใบกำกับภาษีที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวออกโดยไม่มีการขายสินค้าและถือได้ว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าว จึงไม่อาจนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำใบกำกับภาษีซื้อที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีดังกล่าวตามมาตรา 89(7) แห่งประมวลรัษฎากรได้
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่า โจทก์มิได้ซื้อรางรถไฟจากห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แต่โจทก์ยังนำเอาใบกำกับภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรลดหรืองดเบี้ยปรับแก่โจทก์
ว. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีในนามของตนเองหรือในนามของลิฟท์ไทยเอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นชื่อสถานประกอบการตามที่จดทะเบียนไว้ เมื่อโจทก์ติดต่อซื้อรางรถไฟจาก ว. และชำระค่ารางรถไฟให้โดยเช็คระบุชื่อบริษัทลิฟท์ไทยเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ที่มีสิทธิและหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์คือ ว. หรือลิฟท์ไทยเอ็นจิเนียริ่งใบกำกับภาษีฉบับพิพาทซึ่งออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัดส. จึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นใบกำกับภาษีที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวออกโดยไม่มีการขายสินค้าและถือได้ว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าว จึงไม่อาจนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำใบกำกับภาษีซื้อที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีดังกล่าวตามมาตรา 89(7) แห่งประมวลรัษฎากรได้
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่า โจทก์มิได้ซื้อรางรถไฟจากห้างหุ้นส่วนจำกัดส. แต่โจทก์ยังนำเอาใบกำกับภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรลดหรืองดเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบกำกับภาษีปลอม - ผู้ขายที่แท้จริงต้องออกใบกำกับภาษี - ภาษีซื้อไม่อาจนำมาหักได้
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 86 ผู้ที่จะออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าได้นั้นจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือบริการเท่านั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิได้ขายสินค้าหรือบริการไม่อาจออกใบกำกับภาษีแทนผู้อื่นได้ ว. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีในนามของตนเองหรือในนามของลิฟท์ไทยเอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นชื่อสถานประกอบการตามที่จดทะเบียนไว้ เมื่อโจทก์ติดต่อซื้อรางรถไฟจาก ว. และชำระค่ารางรถไฟให้โดยเช็คระบุชื่อบริษัทลิฟท์ไทยเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้ที่มีสิทธิและหน้าที่ในการออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์คือ ว. หรือลิฟท์ไทยเอ็นจิเนียริ่ง ใบกำกับภาษีฉบับพิพาทซึ่งออกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงเป็นใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นใบกำกับภาษีที่ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวออกโดยไม่มีการขายสินค้าและถือได้ว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าว จึงไม่อาจนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 82/5 แห่ง ป. รัษฏากร การที่โจทก์นำใบกำกับภาษีซื้อที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษีดังกล่าวตามมาตรา 89 (7) แห่ง ป. รัษฎากรได้
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่า โจทก์มิได้ซื้อรางรถไฟจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แต่โจทก์ยังนำเอาใบกำกับภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรลดหรืองดเบี้ยปรับแก่โจทก์
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่า โจทก์มิได้ซื้อรางรถไฟจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แต่โจทก์ยังนำเอาใบกำกับภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรลดหรืองดเบี้ยปรับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และภาษีซื้อที่จ่ายให้ไม่มีสิทธิหัก
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 86 และมาตรา 86/13 ผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการอื่นที่มิได้จดทะเบียน แม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และหากผู้ประกอบการซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษี มาตรา 88/1 ก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
บริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่ง ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัท พ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปรากฏว่าบริษัท พ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน 301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ.
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคท้าย มีความหมายว่าหากเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนเรียกเก็บแล้ว ย่อมไม่เป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้านั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัท พ. ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 เนื่องจากบริษัท พ. ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ. ไปโดยสุจริต เนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์ได้โดยชอบก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องตรวจสอบให้ได้ความแน่ชัดว่าบริษัท พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาของโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์มิได้ตรวจสอบถือเป็นความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอากับบริษัท พ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ไม่ได้ เมื่อโจทก์นำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขาย จึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มได้
บริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่ง ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัท พ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปรากฏว่าบริษัท พ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน 301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ.
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคท้าย มีความหมายว่าหากเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนเรียกเก็บแล้ว ย่อมไม่เป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้านั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัท พ. ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 เนื่องจากบริษัท พ. ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ. ไปโดยสุจริต เนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์ได้โดยชอบก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องตรวจสอบให้ได้ความแน่ชัดว่าบริษัท พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาของโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์มิได้ตรวจสอบถือเป็นความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอากับบริษัท พ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ไม่ได้ เมื่อโจทก์นำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขาย จึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มได้