คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีรพงศ์ จิระภาค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีละเมิด: ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่มีความรับผิดในเหตุละเมิดต่อผู้ถูกกระทำละเมิด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะคันที่ชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ และขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่บัญญัติให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในรถยนต์ต้องรับผิดต่อผู้ถูกกระทำละเมิด จำเลยทั้งสองไม่มีความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ หรือยกขึ้นต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (5) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6778/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งวัดและการมีอำนาจฟ้องของวัด: การแต่งตั้งโดยปริยายและการไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ.2507) ออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ผู้มีอำนาจเสนอรายงานขอตั้งวัดคือผู้ได้รับอนุญาตสร้างวัด ทายาท หรือผู้แทน แม้ พ. ผู้เสนอรายงานขอตั้งวัดจะไม่ใช่ทายาทของจำเลยผู้ได้รับอนุญาตสร้างวัด และจำเลยไม่ได้แต่งตั้งโดยชัดแจ้งให้ พ. เป็นผู้แทนเสนอรายงานขอตั้งวัดก็ตาม แต่ในระหว่างสร้างวัดและขอตั้งวัดจำเลยไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านการดำเนินการของ พ. พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยแต่งตั้งโดยปริยายให้ พ. เป็นผู้แทนของจำเลยในการเสนอรายงานขอตั้งวัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคสอง แล้ว เมื่อกระทรวงศึกษาธิการโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมได้ประการตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 22 มิถุนายน 2542 แล้ว การขอตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาจึงดำเนินการโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ มาตรา 31 วรรคสอง และมีอำนาจฟ้อง
ขณะยื่นฟ้องคดีก่อน กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้ประกาศตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลจึงไม่มีอำนาจฟ้องและยกฟ้องโจทก์ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีอำนาจฟ้อง ประเด็นที่วินิจฉัยในทั้งสองคดีมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง