คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 486

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพความรับผิดหลังอายุความ: การผ่อนผันชำระหนี้ถือเป็นการรับสภาพหนี้ใหม่ ทำให้ฟ้องบังคับได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายตกลงส่งสินค้าให้ผู้ซื้อภายในกำหนด 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญา ผู้ซื้อจะต้องชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายเป็นงวดๆ งวดสุดท้ายจะต้องชำระภายใน 3 เดือน นับแต่ผู้ขายส่งมอบของ เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบของแก่จำเลยแล้ว หนี้ที่เกี่ยวกับเรียกเอาค่าที่ส่งมอบของเช่นนี้ผู้ขายจะต้องฟ้องเรียกร้องเสียภายในกำหนดสองปี มิฉะนั้นเป็นอันขาดอายุความ
เมื่อสิทธิเรียกร้องของผู้ขายขาดอายุความแล้ว ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ได้บอกปัดการชำระหนี้ และได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ กลับมีหนังสือถึงผู้ขายขอชำระหนี้ต่อไปทั้งได้ชำระหนี้ให้อีกบ้าง ผู้ขายก็ได้ตอบสนองรับไป เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดตามสัญญา ผู้ซื้อย่อมผูกพันตามสัญญาการรับสภาพความรับผิดนั้น (อ้างฎีกาที่ 1838/2506) และเมื่อผู้ซื้อผิดนัดอีกผู้ขายย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้ผู้ซื้อชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาจะซื้อขาย: การไม่มาเบิกความ, การถอนคำคัดค้าน, และผลของการเลิกสัญญาต่อการคืนเงินมัดจำ
ภรรยาไปพาโจทก์มาฟ้องคดี จึงต้องถือว่าเป็นการดำเนินคดีของโจทก์เอง ส่วนผลคดีจะเป็นประโยชน์ต่อใครไม่สำคัญ จะว่าเป็นการดำเนินคดีโดยไม่สุจริตไม่ได้
หากโจทก์ฟ้องแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มาเบิกความเอง จะอ้างว่าฟ้องไม่ได้เสียเลยหาได้ไม่ เพราะการที่โจทก์ไม่มาเบิกความต่อศาล ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำดังนั้น แล้วแต่โจทก์จะเสนอพยานหลักฐานใดต่อศาล ส่วนการจะฟังได้หรือไม่ ศาลย่อมวินิจฉัยตามพยานหลักฐานและรูปคดี มิใช่ว่าถ้าโจทก์ไม่มาเบิกความเองแล้วฟังไม่ได้เสียเลย
ประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้น เมื่อพยานหลักฐานได้สืบกันมาแล้ว ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยให้ได้โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
การที่โจทก์ตกลงซื้อที่ดินที่พิพาทจากจำเลยและปลูกเรือนให้ภริยาของตนอยู่ในที่พิพาท แล้วก็ทอดทิ้งไปไม่นำพาในเรื่องซื้อขายกับจำเลยอีก เมื่อภริยาโจทก์ไม่ชำระราคาที่ค้าง ยอมให้เอาที่ดินไปขายให้แก่คนอื่นได้ ทั้งให้ขายเรือนให้ด้วย และเมื่อจำเลยฟ้องคดีภรรยาโจทก์ก็ถอนการคัดค้านในการที่จำเลยจะทำนิติกรรมให้กับคนอื่น พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า คู่กรณีตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายกันแล้วโดยปริยาย
ในคดีที่โจทก์ฟ้องเพียงให้จำเลยโอนขายที่พิพาทอย่างเดียว มิได้เรียกเงินคืนในการที่โอนขายให้ไม่ได้ ทั้งโจทก์ยังมิได้จัดการให้จำเลยกลับสู่ฐานะเดิมในเหตุเลิกสัญญา จะบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำเพราะเหตุเลิกสัญญาในคดีด้วยไม่ได้ แต่ก็ไม่ตัดสิทธิคู่ความในการดำเนินคดีในผลแห่งการเลิกสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขายโดยปริยาย ผลของการเลิกสัญญาและการดำเนินคดีโดยสุจริต
ภรรยาไปพาโจทก์มาฟ้องคดี จึงต้องถือว่าเป็นการดำเนินคดีของโจทก์เองส่วนผลคดีจะเป็นประโยชน์ต่อใครไม่สำคัญ จะว่าเป็นการดำเนินคดีโดย ไม่สุจริตไม่ได้
หากโจทก์ฟ้องแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มาเบิกความเอง จะอ้างว่าฟ้องไม่ได้เสียเลยหาได้ไม่ เพราะการที่โจทก์ไม่มาเบิกความต่อศาล ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำดังนั้น แล้วแต่โจทก์จะเสนอพยานหลักฐานใดต่อศาล ส่วนการจะฟังได้หรือไม่ ศาลย่อมวินิจฉัยตามพยานหลักฐานและรูปคดี มิใช่ว่าถ้าโจทก์ไม่มาเบิกความเองแล้วฟังไม่ได้เสียเลย
ประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยนั้น เมื่อพยานหลักฐานได้สืบกันมาแล้ว ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยให้ได้โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
การที่โจทก์ตกลงซื้อที่ดินที่พิพาทจากจำเลยและปลูกเรือนให้ภริยาของตนอยู่ในที่พิพาท แล้วก็ทอดทิ้งไปไม่นำพาในเรื่องซื้อขายกับจำเลยอีก เมื่อภริยาโจทก์ไม่ชำระราคาที่ค้าง ยอมให้เอาที่ดินไปขายให้แก่คนอื่นได้ ทั้งให้ขายเรือนให้ด้วย และเมื่อจำเลยฟ้องภรรยาโจทก์ก็ถอนการคัดค้านในการที่จำเลยจะทำนิติกรรมให้กับคนอื่น พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่า คู่กรณีตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายกันแล้วโดยปริยาย
ในคดีที่โจทก์ฟ้องเพียงให้จำเลยโอนขายที่พิพาทอย่างเดียวมิได้เรียกเงินคืนในการที่โอนขายให้ไม่ได้ ทั้งโจทก์ยังมิได้จัดการให้จำเลยกลับสู่ฐานะเดิมในเหตุเลิกสัญญาจะบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำเพราะเหตุเลิกสัญญาในคดีด้วยไม่ได้ แต่ก็ไม่ตัดสิทธิคู่ความในการดำเนินคดีในผลแห่งการเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้มาโดยสุจริต: ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน แม้เจ้าของเดิมมีสิทธิเรียกคืนได้หากชดใช้ราคา
น้ำมันและถังรายพิพาทเป็นของราชการทหาร ถูกคนร้ายลักไปโจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริตในท้องตลาดแล้วต่อมาจำเลยได้ซื้อและยืมถังไปจากโจทก์และโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยไปแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเหนือน้ำมันที่ตนซื้อจากโจทก์ยิ่งกว่าบุคคลอื่นๆ แม้เจ้าของอันแท้จริงก็จะมาเรียกน้ำมันคืนไปจากจำเลยไม่ได้ เว้นแต่จะชดใช้ราคาที่จำเลยซื้อมา จำเลยต้องชำระราคาน้ำมันและถังให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เรื่องรอนสิทธิ
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในน้ำมันที่ได้มาโดยสุจริต ผู้ซื้อมีสิทธิเหนือกว่าเจ้าของเดิมที่ถูกลักทรัพย์
น้ำมันและถังรายพิพาทเป็นของราชการทหาร ถูกคนร้ายลักไปโจทก์รับซื้อไว้โดยสุจริตในท้องตลาด แล้วต่อมาจำเลยได้ซื้อและยืมถังไปจากโจทก์และโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยไปแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิเหนือน้ำมันที่ตนซื้อจากโจทก์ยิ่งกว่าบุคคลอื่นๆ แม้เจ้าของอันแท้จริงก็จะมาเรียกน้ำมันคืนไปจากจำเลยไม่ได้ เว้นแต่จะชดใช้ราคาที่จำเลยซื้อมา จำเลยต้องชำระราคาน้ำมันและถังให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เรื่องรอนสิทธิ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อเชื่อไม้กระดาน: หลักฐานการชำระเงิน
การซื้อเชื่อไม้กระดานไปจากโรงเลื่อย โดยเซ็นรับไม้กระดานในรายการ ที่ทางโรงเลื่อยทำขึ้นนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่า การชำระเงินจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือเวนคืนเอกสารรายการซื้อของเชื่อ ฉะนั้นจะวินิจฉัยให้ผู้ซื้อเชื่อต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงจนครบรายการที่รับไปจึงหาชอบไม่ ศาลอาจวินิจฉัยจากพยานหลักฐานอื่นได้ว่าผู้ซื้อได้ชำระเงินครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, และการเพิกถอนการโอนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้วต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอน ดังนี้ ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฏว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213
ตามมาตรา 1336 และรัฐธรรมนูญนั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอนตามความพอใจของตนนอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน มาตรา 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตนแล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2-3 ดังนี้ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม มาตรา 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม มาตรา 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตาม มาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่งผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่นศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน การเพิกถอนการโอน และค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้ว ต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฎว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอนดังนี้ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฎว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตามมาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องในบังคับตามาตรา 213
ตาม ม. 1336 และรัฐธรรมนูญ นั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอน ตามความพอใจของตน นอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ม. 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตน แล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 - 3 ดังนี้ ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม ม. 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม ม. 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตกมาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่ง ผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่น ศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตมาตรา 653 และสิทธิในการสืบพยานเพิ่มเติมหลังยื่นอุทธรณ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2 ใช้บังคับเฉพาะการชำระหนี้เงินกู้จะใช้แก่หนี้อย่างอื่นไม่ได้
การคืนเงินที่ได้รับจากการซื้อขายนั้นแม้ทำยอมใช้เงินนั้นที่อำเภอก็ไม่จำต้องมีใบรับหรือเวนคืนเอกสารคู่ความย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานก่อนถึงกำหนดเวลาที่จำเลยมีสิทธิจะยื่นบัญชีระบุพยานตาม มาตรา 88 แล้วตัดสินคดีนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องขอสืบพยานเพิ่มเติมได้
หมายเหตุ ศาลชั้นต้นตัดสินวันที่ 11 กรกฎาคม จำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 22 กรกฎาคม และในวันเดียวกันนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอสืบพยานเพิ่มเติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 140/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้และการสืบพยาน: ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ ม.653 วรรค 2 ใช้บังคับฉะเพาะการชำระหนี้เงินกู้จะใช้แก่หนี้อย่างอื่นไม่ได้
การคืนเงินที่ได้รับจากการซื้อขายนั้นแม้ทำยอมใช้เงินนั้นที่อำเภอ ก็ไม่จำต้องมีใบรับหรือเวนคืนเอกสารคู่ความย่อมนำพะยานบุคคลมาสืบได้
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพะยานก่อนถึงกำหนดเวลาที่จำเลยมีสิทธิจะยื่นบัญชีระบุพะยานตาม ม.88 แล้วตัดสินคดีนั้นเมื่อจำเลยอุทธรณ์จำเลยยื่นคำร้องขอสืบพะยานเพิ่มเติมได้
หมายเหตุ ศาลชั้นต้นตัดสินวันที่ 11 กรกฎ.จำเลยยื่นอุทธรณ์วันที่ 22 กรกฎ และในวันเดียวกันนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอสืบพะยานเพิ่มเติม.
of 4