คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 67

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่สาธารณประโยชน์: นายอำเภอมีอำนาจฟ้องได้
ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 (เดิม) ที่ใช้ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ระบุเพียงว่า "เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์... ให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนแก้ไข...(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับจังหวัดอื่น..." หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกผิดพลาดนั้นได้ ซึ่งเป็นอำนาจทางปกครองเท่านั้น ส่วนอำนาจในการฟ้องร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบนั้นกฎหมายไม่ได้ระบุว่าเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่เพียงผู้เดียว ทั้งตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67, 117, 122 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 62 บัญญัติกำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณะประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้นเป็นของนายอำเภอ เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 29 ที่โจทก์อ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ "หนองหว้า" ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นนายอำเภอเมืองยโสธรจึงมีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวนั้นได้ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 29 ที่ออกให้ในนาม ว. นั้นออกโดยผิดพลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6043/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปลัดอำเภอทำการแทนนายอำเภอในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และประเด็นการนอกฟ้อง
ปัญหาตามฎีกาโจทก์ที่ว่า ว. ได้ลงลายมือชื่อไว้ในเอกสารจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหรือไม่ เป็นข้อที่ โจทก์ไม่เคยกล่าวไว้ในฟ้องเลย ฉะนั้น ฎีกาโจทก์ ในข้อนี้จึงเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นแม้ศาลชั้นต้น จะได้สั่งรับฎีกาโจทก์เรื่องนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย ด้วยผลของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 มาตรา 79 และมาตรา 80 ช. ปลัดอำเภอตรี ซึ่งเป็นกรมการอำเภอ หากมียศสูงกว่าผู้อื่นในขณะที่นายอำเภอทำการไม่ได้ในหน้าที่ชั่วคราวช. ก็ต้องเป็นผู้แทนของนายอำเภอมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งของนายอำเภอที่ตนเป็นผู้แทนหรือต้องกระทำการแทนนั้นทุกอย่าง รวมทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมรายนี้ด้วย ส่วนข้อที่ว่าให้มีดวงตราประจำตำแหน่งนายอำเภอนั้น ตามมาตรา 78 บัญญัติไว้ในทำนองว่าในเวลาผู้ใดทำการแทนหรือรั้งตำแหน่งนั้นก็ให้ใช้ได้ ซึ่งไม่เป็นข้อกำหนดตายตัวว่าจะต้องใช้ตราดังกล่าวประทับทุกครั้งเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือบุคคลต่างด้าว ได้รับคำสั่งให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,137,157,267,268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ 267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำ ด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการ ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคล ต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรอง บุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตาม บทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา 137,267 และ 157 ด้วยแต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็น ชัดเจนการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้างโดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ว.พาท.มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านพ.วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร. ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท.ต่อมาวันรุ่งขึ้นท. ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร. และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรกเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข.คือ ท. ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร.และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการ รักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่ง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้น เรียบร้อย ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทย ได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยเมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้ รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน ฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีปลัดอำเภอรับรองบุคคลต่างด้าว และการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67กำหนดให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี รวมเรียกว่ากรมการ อำเภอแม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย กรณีจึงต้อง ถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลย ที่ให้คำรับรอง ท. ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนทั้ง ๆที่ทราบว่า ท. เป็นบุคคลต่างด้าวจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยที่ 1/2509 วางระเบียบ ใน การสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่าต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วม กับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยนั้นก็เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ ของผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ แต่ คดี นี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือนแต่อย่างใด การสอบสวนจึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีออกบัตรประชาชนให้บุคคลต่างด้าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 83, 137,157, 267, 268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคลต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรองบุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตามบทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา137, 267 และ 157 ด้วย แต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็นชัดเจน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้าง โดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ว.พา ท. มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้าน พ. วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร.ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท. ต่อมาวันรุ่งขึ้น ท.ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร.และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก เจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข. คือ ท.ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร. และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการรักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่งตามพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอสมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย... ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ.มาตรา 157
ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทยได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วย เมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ แต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แล้ว