พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่สาธารณประโยชน์: นายอำเภอมีอำนาจฟ้องได้
ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 (เดิม) ที่ใช้ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ระบุเพียงว่า "เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์... ให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนแก้ไข...(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับจังหวัดอื่น..." หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกผิดพลาดนั้นได้ ซึ่งเป็นอำนาจทางปกครองเท่านั้น ส่วนอำนาจในการฟ้องร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบนั้นกฎหมายไม่ได้ระบุว่าเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่เพียงผู้เดียว ทั้งตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67, 117, 122 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 62 บัญญัติกำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณะประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้นเป็นของนายอำเภอ เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 29 ที่โจทก์อ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ "หนองหว้า" ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นนายอำเภอเมืองยโสธรจึงมีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวนั้นได้ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 29 ที่ออกให้ในนาม ว. นั้นออกโดยผิดพลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3133/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ไม่ต้องขึ้นทะเบียน: สิทธิครอบครองและการรักษาประโยชน์สาธารณะ
สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันนั้น กฎหมายไม่บังคับว่าต้องขึ้นทะเบียน เพราะจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามสภาพของที่ดินนั้นเองว่าเป็นทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ที่พิพาทเป็นหนองน้ำสาธารณะซึ่งไม่อาจออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่พิพาทและตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117,122 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ (ปัจจุบันคืนนายอำเภอ) ที่จะต้องรักษาดูแลที่ดินลำน้ำอันเป็นสาธารณประโยชน์ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายหรือกีดกันเอาเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว จำเลยที่ 3 ในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ปักป้ายที่สาธารณะตลอดจนปักหลักแนวเขตที่พิพาทได้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณะ การครอบครองประโยชน์ร่วมกัน และอำนาจฟ้องแย้งของนายอำเภอในการปกป้องสาธารณสมบัติ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ เป็นที่สาธารณะและที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์
ที่พิพาทหมาย 1 เป็นหนองที่ราษฎรร่วมกันซื้อจากมารดาโจทก์ส่วนที่หมาย 2, 3 เป็นที่ที่ ม. ยกให้เป็นที่สาธารณะทำเลเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี 2465 เมื่อราษฎรซื้อและรับยกให้แล้ว ราษฎรเข้าครอบครองใช้ที่พิพาทเป็นประโยชน์ร่วมกันตลอดมา กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการสละเจตนาครอบครองโดยส่งมอบทรัพย์ที่ครอบครองแล้ว นับแต่รับมอบที่พิพาทแล้วราษฎรเป็นจำนวนร้อย ๆ ได้ร่วมกันทำทำนบกั้นน้ำประตูระบายน้ำ ขุดลอกหนอง โดยถือว่าเป็นที่สาธารณะที่ราษฎรได้ใช้เป็นประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้หนองและที่พิพาทหมาย 1, 2, 3เป็นหนองและทำเลเลี้ยงสัตว์ที่ราษฎรใช้ร่วมกันมาเป็นเวลาสิบ ๆ ปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 และการเป็นหนองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น กฎหมายไม่บังคับว่าต้องขึ้นทะเบียน เพราะจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ย่อมเป็นไปตามสภาพของที่นั้นเองว่าเป็นทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117, 122บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะต้องรักษาดูแลที่ดินลำน้ำอันเป็นสาธารณประโยชน์ได้ ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายหรือกีดกันเอาเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจสั่งห้ามโจทก์ไม่ให้บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ ตลอดจนมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ได้ด้วย
ที่พิพาทหมาย 1 เป็นหนองที่ราษฎรร่วมกันซื้อจากมารดาโจทก์ส่วนที่หมาย 2, 3 เป็นที่ที่ ม. ยกให้เป็นที่สาธารณะทำเลเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี 2465 เมื่อราษฎรซื้อและรับยกให้แล้ว ราษฎรเข้าครอบครองใช้ที่พิพาทเป็นประโยชน์ร่วมกันตลอดมา กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการสละเจตนาครอบครองโดยส่งมอบทรัพย์ที่ครอบครองแล้ว นับแต่รับมอบที่พิพาทแล้วราษฎรเป็นจำนวนร้อย ๆ ได้ร่วมกันทำทำนบกั้นน้ำประตูระบายน้ำ ขุดลอกหนอง โดยถือว่าเป็นที่สาธารณะที่ราษฎรได้ใช้เป็นประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้หนองและที่พิพาทหมาย 1, 2, 3เป็นหนองและทำเลเลี้ยงสัตว์ที่ราษฎรใช้ร่วมกันมาเป็นเวลาสิบ ๆ ปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 และการเป็นหนองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น กฎหมายไม่บังคับว่าต้องขึ้นทะเบียน เพราะจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ย่อมเป็นไปตามสภาพของที่นั้นเองว่าเป็นทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117, 122บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะต้องรักษาดูแลที่ดินลำน้ำอันเป็นสาธารณประโยชน์ได้ ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายหรือกีดกันเอาเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจสั่งห้ามโจทก์ไม่ให้บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ ตลอดจนมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณะ การครอบครองประโยชน์ร่วมกัน และอำนาจฟ้องแย้งของนายอำเภอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ เป็นที่สาธารณะและที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์
ที่พิพาทหมาย 1 เป็นหนองที่ราษฎรร่วมกันซื้อจากมารดาโจทก์ ส่วนที่หมาย 2, 3 เป็นที่ที่ ม. ยกให้เป็นที่สาธารณะทำเลเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี 2465 เมื่อราษฎรซื้อและรับยกให้แล้ว ราษฎรเข้าครอบครองใช้ที่พิพาทเป็นประโยชน์ร่วมกันตลอดมา กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการสละเจตนาครอบครองโดยส่งมอบทรัพย์ที่ครอบครองแล้ว นับแต่รับมอบที่พิพาทแล้วราษฎรเป็นจำนวนร้อย ๆ ได้ร่วมกันทำทำนบกั้นน้ำประตูระบายน้ำ ขุด ลอก หนอง โดยถือว่าเป็นที่สาธารณะที่ราษฎรได้ใช้เป็นประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้หนองและที่พิพาทหมาย 1, 2, 3เป็นหนองและทำเลเลี้ยงสัตว์ที่ราษฎรใช้ร่วมกันมาเป็นเวลาสิบ ๆ ปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 และการเป็นหนองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น กฎหมายไม่บังคับว่าต้องขึ้นทะเบียนเพราะจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามสภาพของที่นั้นเองว่าเป็นทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117, 122 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะต้องรักษาดูแลที่ดินลำน้ำอันเป็นสาธารณประโยชน์ได้ ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายหรือกีดกันเอาเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจสั่งห้ามโจทก์ไม่ให้บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ตลอดจนมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ได้ด้วย
ที่พิพาทหมาย 1 เป็นหนองที่ราษฎรร่วมกันซื้อจากมารดาโจทก์ ส่วนที่หมาย 2, 3 เป็นที่ที่ ม. ยกให้เป็นที่สาธารณะทำเลเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี 2465 เมื่อราษฎรซื้อและรับยกให้แล้ว ราษฎรเข้าครอบครองใช้ที่พิพาทเป็นประโยชน์ร่วมกันตลอดมา กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการสละเจตนาครอบครองโดยส่งมอบทรัพย์ที่ครอบครองแล้ว นับแต่รับมอบที่พิพาทแล้วราษฎรเป็นจำนวนร้อย ๆ ได้ร่วมกันทำทำนบกั้นน้ำประตูระบายน้ำ ขุด ลอก หนอง โดยถือว่าเป็นที่สาธารณะที่ราษฎรได้ใช้เป็นประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้หนองและที่พิพาทหมาย 1, 2, 3เป็นหนองและทำเลเลี้ยงสัตว์ที่ราษฎรใช้ร่วมกันมาเป็นเวลาสิบ ๆ ปีแล้ว จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 และการเป็นหนองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น กฎหมายไม่บังคับว่าต้องขึ้นทะเบียนเพราะจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ย่อมเป็นไปตามสภาพของที่นั้นเองว่าเป็นทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117, 122 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะต้องรักษาดูแลที่ดินลำน้ำอันเป็นสาธารณประโยชน์ได้ ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายหรือกีดกันเอาเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว จำเลยในฐานะนายอำเภอจึงมีอำนาจสั่งห้ามโจทก์ไม่ให้บุกรุกที่สาธารณประโยชน์ตลอดจนมีอำนาจฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741-745/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานกับการพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ศาลอาญาไม่รับวินิจฉัยสิทธิในที่ดิน ให้ไปฟ้องทางแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้ง 5 บังอาจยึดถือครอบครองที่ดินบริเวณหน้าฝายทุ่งหมูบุ้นอันเป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ร่วมกัน นายอำเภอได้ออกคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยออกไป จำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่ง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยไม่รู้ และไม่เข้าใจมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณะ การขัดคำสั่งทำด้วยใจสุจริต ขาดเจตนาร้าย ยกฟ้อง จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่จำเลยมีสิทธิครอบครองและมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ขอให้พิพากษากลับ ศาลล่างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งหมด ดังนี้ คดีอาญาจึงยุติเพียงศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยกล่าวอ้างโต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครองมา มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวในทางแพ่งต่อไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ให้ยกฎีกาจำเลย (อ้างนัยฎีกาที่ 1223/2495).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741-745/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลอาญาจำกัดเฉพาะความผิดทางอาญา กรณีพิพาทสิทธิในที่ดินเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้ง 5 บังอาจยึดถือครอบครองที่ดินบริเวณหน้าฝายทุ่งหมูบุ้นอันเป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ร่วมกันนายอำเภอได้ออกคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยออกไปจำเลยบังอาจขัดขืนไม่กระทำตามคำสั่ง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยไม่รู้และไม่เข้าใจมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณะการขัดคำสั่งทำด้วยใจสุจริต ขาดเจตนาร้าย ยกฟ้องจำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน แต่จำเลยมีสิทธิครอบครองและมีกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ขอให้พิพากษากลับศาลล่างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งหมดดังนี้ คดีอาญาจึงยุติเพียงศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยกล่าวอ้างโต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่จำเลยมีสิทธิครอบครองมา มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยชอบที่จะไปว่ากล่าวในทางแพ่งต่อไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ให้ยกฎีกาจำเลย(อ้างนัยฎีกาที่ 1223/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์: กรมการอำเภอและอธิบดีกรมที่ดิน
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4 มิได้ยกเลิก พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117, 122 บัญญัติให้กรมการอำเภอดูแลรักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ และว่าจะขัดกับประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (15) ก็ไม่ได้เพราะ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 ให้อธิบดีกรมที่ดินทีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดิน ทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117 บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและ พ.ร.บ. ระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117 บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและ พ.ร.บ. ระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์: นายอำเภอ vs กรมที่ดิน
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4มิได้ยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 117,122บัญญัติให้กรมการอำเภอดูแลรักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ และจะว่าขัดกับประมวลกฎหมายที่ดินอันจะต้องยกเลิกไป ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4(15)ก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 117บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 117บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมการอำเภอสั่งรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำสาธารณะ
กรมการอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งรื้อถอนสิ่งซึ่งมีผู้กระทำการขัดขวางต่อทางน้ำสาธารณประโยชน์ได้ตามมาตรา 117 พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ 2457
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำสาธารณะประโยชน์ของนายอำเภอตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่
กรมการอำเพอมีอำนาดที่จะสั่งรื้อถอนสิ่งซึ่งมีผู้กะทำการขัดขวางต่อทางน้ำสาธารนะประโยชน์ได้ตาม ม.117 พ.ร.บ.ลักสนะปกครอง ท้องที่ 2457