พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยทั้งสองเป็นพ่อลูกกันร่วมเดินทางมาด้วยกันแต่ไม่มีเจตนาคบคิดกันที่จะใช้อาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 นำติดตัวมาไปยิงทำร้ายผู้ใดมาก่อน เป็นเรื่องที่มิได้คาดคิด การที่จำเลยที่ 2 พูดว่า ยิงเลยยิงเลย เป็นการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการยุยงส่งเสริม จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 84
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 84 จึงแตกต่างกับคำฟ้องในสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่า เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วยศาลฎีกาลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกระทำความผิดด้วยกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 84 จึงแตกต่างกับคำฟ้องในสาระสำคัญตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง จะลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดไม่ได้แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่า เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 86 ด้วยศาลฎีกาลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องและความแตกต่างในชื่อผู้เสียหายไม่ถือเป็นสาระสำคัญที่ทำให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ร้อยตำรวจเอก ส. เป็นพนักงานสอบสวนในคดีที่ ต. ถูกจับกุมดำเนินคดีอาญา จำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 5,000 บาท จาก ต. และ น. เพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยจะจูงใจร้อยตำรวจเอก ส. โดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย เพื่อให้ร้อยตำรวจเอก ส. กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่ ต. โดยการช่วยเหลือในทางคดี เพื่อทำให้ ต. หลุดพ้นจากความผิด เป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นถึงการกระทำและเจตนาของจำเลยว่าจำเลยเจตนาเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยอ้างว่าจะจูงใจเจ้าพนักงานไม่ให้ดำเนินคดีแก่ ต. และปล่อยตัวให้หลุดพ้นจากคดีอาญา เป็นการบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว ส่วนการที่จำเลยไปติดต่อหรือจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีใด หรือเจ้าพนักงานจะกระทำการใดอันเป็นการช่วยเหลือ ต. มิใช่องค์ประกอบแห่งความผิดนัดอันต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องผิดไปว่า นางนิตยา มั่งคั่ง เป็นผู้ที่ถูกจำเลยเรียกรับเงิน โดยทางพิจารณาได้ความว่านางนิตยา มั่นคง เป็นผู้ที่ถูกจำเลยเรียกรับเงิน แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์ก็ระบุชื่อนางนิตยา มั่นคง มาตลอด มิได้ระบุชื่อนางนิตยา มั่งคั่ง กรณีจึงอาจเป็นได้ว่าโจทก์พิมพ์คำฟ้องผิดพลาดถือว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยไม่หลงต่อสู้เพราะไม่ได้สืบพยานระบุถึงนางนิตยา มั่งคั่ง กรณีมิใช่เป็นเรื่องทางพิจารณาได้ความแตกต่างในสาระสำคัญที่ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องผิดไปว่า นางนิตยา มั่งคั่ง เป็นผู้ที่ถูกจำเลยเรียกรับเงิน โดยทางพิจารณาได้ความว่านางนิตยา มั่นคง เป็นผู้ที่ถูกจำเลยเรียกรับเงิน แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์ก็ระบุชื่อนางนิตยา มั่นคง มาตลอด มิได้ระบุชื่อนางนิตยา มั่งคั่ง กรณีจึงอาจเป็นได้ว่าโจทก์พิมพ์คำฟ้องผิดพลาดถือว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยไม่หลงต่อสู้เพราะไม่ได้สืบพยานระบุถึงนางนิตยา มั่งคั่ง กรณีมิใช่เป็นเรื่องทางพิจารณาได้ความแตกต่างในสาระสำคัญที่ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง และการใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังตาม ป.อ. มาตรา 23 นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษแก่จำเลยตามสมควรแก่ความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง และโทษกักขังก็เป็นโทษในสถานเบากว่าโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งที่โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 หาได้ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 หรือมาตรา 212 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันลักทรัพย์: พยานหลักฐานประกอบแวดล้อม คำเบิกความผู้เสียหาย และคำรับสารภาพผู้ร่วมกระทำความผิด เพียงพอพิสูจน์ความผิดจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานรับของโจรและยกฟ้องฐานลักทรัพย์ โจทก์ไม่อุทธรณ์แต่จำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาฐานความผิดฐานใดฐานหนึ่งระหว่างฐานรับของโจรกับฐานลักทรัพย์ไปตามพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม เพียงแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่มีสิทธิที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมไปจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7638/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทมาตราในฟ้องอาญา ศาลปรับบทความผิดได้ตามข้อเท็จจริงที่รับฟัง โดยไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องโดยอ้างบทห้ามกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 มาด้วย เท่ากับโจทก์อ้างบทห้ามการกระทำความผิดตามมาตรา 43 (4) อยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุอนุมาตรา (4) ของมาตรา 43 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทความผิดในมาตรานั้นๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4) จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7638/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษตามบทมาตราที่อ้างในฟ้อง และการปรับบทความผิดตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติว่า คำฟ้องจะต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์กระบะของ อ. ที่ ค. เป็นผู้ขับได้รับความเสียหาย และอ้างบทห้ามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 มาด้วย ซึ่งเท่ากับโจทก์อ้างบทห้ามการกระทำความผิดตามมาตรา 43 (4) อยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุอนุมาตรา (4) ของมาตรา 43 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทความผิดในมาตรานั้นๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริรงที่รับฟังได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4) จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5893/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงความผิดจากปล้นทรัพย์เป็นทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ พร้อมล้างมลทินโทษจำคุกเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ แต่ในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย เมื่อความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งมีการใช้กำลังประทุษร้ายรวมด้วยอย่างหนึ่ง และแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก
เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานปล้นทรัพย์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องความผิดฐานปล้นทรัพย์ไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษดุจจำเลยที่ 1 ผู้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 2 และพวกไม่มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวของผู้เสียหายไปตั้งแต่เริ่มแรก แต่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์สินดังกล่าวหลังจากร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายแล้วอันเป็นการกระทำต่างวาระ จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และลักทรัพย์ รวม 2 กรรม ซึ่งลงโทษได้ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองเพราะจำเลยทั้งสองเคยได้รับโทษจำคุกในคดีอื่นมาก่อน และภายในเวลา ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษ จำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้ซ้ำอีกนั้น ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ใช้บังคับ ซึ่งมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสองซึ่งต้องคำพิพากษาดังกล่าว โดยให้ถือว่าจำเลยทั้งสองมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน กรณีไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในความผิดฐานปล้นทรัพย์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องความผิดฐานปล้นทรัพย์ไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษดุจจำเลยที่ 1 ผู้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 2 และพวกไม่มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวของผู้เสียหายไปตั้งแต่เริ่มแรก แต่จำเลยที่ 2 เอาทรัพย์สินดังกล่าวหลังจากร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายแล้วอันเป็นการกระทำต่างวาระ จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และลักทรัพย์ รวม 2 กรรม ซึ่งลงโทษได้ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองเพราะจำเลยทั้งสองเคยได้รับโทษจำคุกในคดีอื่นมาก่อน และภายในเวลา ๕ ปี นับแต่วันพ้นโทษ จำเลยได้มากระทำความผิดคดีนี้ซ้ำอีกนั้น ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๔ ใช้บังคับ ซึ่งมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสองซึ่งต้องคำพิพากษาดังกล่าว โดยให้ถือว่าจำเลยทั้งสองมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นมาก่อน กรณีไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5855/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักทรัพย์มีสิทธิเป็นผู้เสียหายได้ แม้กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอน
คำว่า "ผู้เสียหาย" ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้ คดีนี้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมได้ร่วมกันลักอาหารสัตว์ส่วนหนึ่งในระหว่างทางที่โจทก์ร่วมขนส่งเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ ระหว่างการขนส่งอาหารสัตว์ที่บรรทุกในรถยนต์คันเกิดเหตุ อาหารสัตว์เหล่านั้นจึงยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์ร่วมมีหน้าที่จำต้องส่งมอบอาหารสัตว์ให้ครบจำนวนแก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ โจทก์ร่วมจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้อยู่ด้วย ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมตกลงขายได้โอนไปยังบริษัท ซ. เพราะมีการชั่งน้ำหนักอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตั้งแต่ต้นทางการขนส่งโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคแรก แล้วหรือไม่ก็ตาม โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้โดยชอบ แม้ขณะเกิดเหตุหากกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ดังกล่าวได้โอนไปยังบริษัท ซ. เสียก่อนแล้วโดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซ. ขณะอยู่ในความครอบครองโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องซึ่งบรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม กรณีก็เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งสองมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร จำเลยให้การรับสารภาพไม่ชัดเจน โจทก์ต้องสืบพยานให้ได้ความชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจทก์เป็นความผิดคนละฐานกันจะลงโทษจำเลยทั้งสองฐานความผิดดังกล่าวย่อมไม่ได้ คำให้การของจำเลยที่ว่าขอสารภาพผิดตามฟ้องโจทก์นั้น ไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งของจำเลย
โจทก์จะอ้างว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคำให้การจำเลยแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร แต่เหตุที่ไม่ปรากฏข้อความดังกล่าวในบันทึกคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นเพราะความผิดพลาดในการพิมพ์บันทึกข้อมูลไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่บันทึกไว้ไม่ชัดแจ้งหรือพิมพ์ตกหล่นผิดพลาดประการใด โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป และโจทก์จะอ้างว่าฟ้องจำเลยในความผิดอย่างเดียวกันอีก 2 คดี ของศาลชั้นต้น และขอให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อกับโทษทั้งสองคดีดังกล่าว ซึ่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกันทั้งสามคดี และจำเลยได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรทั้งสามคดี ศาลชั้นต้นจึงบันทึกไว้เป็นหลักฐานในคำฟ้องคดีนี้ และพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าว โดยนับโทษจำเลยต่อกันทั้งสามคดี และจำเลยคงอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบา ซึ่งเท่ากับยอมรับว่าตนกระทำความผิดฐานรับของโจรจริงไม่ได้ เพราะตามบันทึกคำให้การของจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรทั้งกรณีตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวไม่อาจนำมารับฟังเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรในคดีนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งของจำเลยดังกล่าวข้างต้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การจำเลยใหม่
โจทก์จะอ้างว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามคำให้การจำเลยแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร แต่เหตุที่ไม่ปรากฏข้อความดังกล่าวในบันทึกคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเป็นเพราะความผิดพลาดในการพิมพ์บันทึกข้อมูลไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าว หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่บันทึกไว้ไม่ชัดแจ้งหรือพิมพ์ตกหล่นผิดพลาดประการใด โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป และโจทก์จะอ้างว่าฟ้องจำเลยในความผิดอย่างเดียวกันอีก 2 คดี ของศาลชั้นต้น และขอให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อกับโทษทั้งสองคดีดังกล่าว ซึ่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกันทั้งสามคดี และจำเลยได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรทั้งสามคดี ศาลชั้นต้นจึงบันทึกไว้เป็นหลักฐานในคำฟ้องคดีนี้ และพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าว โดยนับโทษจำเลยต่อกันทั้งสามคดี และจำเลยคงอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบา ซึ่งเท่ากับยอมรับว่าตนกระทำความผิดฐานรับของโจรจริงไม่ได้ เพราะตามบันทึกคำให้การของจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรทั้งกรณีตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวไม่อาจนำมารับฟังเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้ให้การรับสารภาพฐานรับของโจรในคดีนี้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งของจำเลยดังกล่าวข้างต้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสอบถามคำให้การจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยการงัดแงะและการคืนทรัพย์สินที่ผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335 ให้จำเลยคืนแหวนทองคำ กำไลทองคำและสร้อยคำทองคำหรือใช้ราคา 37,300 บาท แก่ผู้เสียหาย ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่าได้รับเงิน 40,000 บาท จากจำเลยเพื่อใช้ค่าเสียหายและค่าทรัพย์สินที่ไม่ได้คืนแล้ว ผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนทรัพย์หรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (4) และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนเป็นเงิน 37,300 บาท แก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบ