พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขาดองค์ประกอบความผิดฐานแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ แม้มีคำขอท้ายฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ใจความว่า ด้วย ร.ม.ต.ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 47 และมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ออกประกาศกระทรวงเกษตรให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่ทุกจังหวัดและโจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 ใจความว่า ก. ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งหกร่วมกันตั้งโรงงานแปรรูปไม้ขึ้นที่บริเวณไม่มีเลขที่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยร่วมกันตั้งโรงงานทำเป็นสถานที่ขึ้นเพื่อทำการแปรรูปไม้ไผ่ซางโดยใช้เครื่องจักรกล ได้แก่แท่นเครื่องแปรรูปไม้ไผ่ซาง 4 แท่น แท่นเครื่องตัดไม้ไผ่ซางมีใบเลื่อยพร้อมมอเตอร์ 3 เครื่อง และตาชั่ง 1 เครื่อง เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ภายในโรงงาน ที่ใช้ทำการเลื่อยแปรรูปไม้ไผ่ซางให้เปลี่ยนรูป เปลี่ยนขนาด แปรเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ทั้งนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่มีเหตุอันควรได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ข. จำเลยทั้งหกได้บังอาจร่วมกันทำไม้ภายในเขตป่าฝั่งซ้ายของแม่น้ำป่าสัก ในท้องที่ตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยได้ร่วมกันนำไม้ไผ่ซางที่มีอยู่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวมาผ่าเลื่อยให้เปลี่ยนรูป เปลี่ยนขนาด แปรเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม อันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยจำเลยทั้งหกไม่ได้รับสัมปทานและมิได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันทำการแปรรูปไม้หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมโดยมิได้รับอนุญาตภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ อันเป็นความผิดคนละฐานซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และความผิดฐานทำไม้ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องมา ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดแห่งการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตมาในฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุบทมาตราให้ลงโทษมาด้วย ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานนี้ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: การบรรยายฟ้องต้องระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ การปรับบทกฎหมาย และการแก้ไขโทษ
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) เมทแอมเฟตามีนที่จำหน่ายต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินหนึ่งร้อยกรัม หรือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสองและวรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) เมทแอมเฟตามีนจะต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัม เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แม้ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ที่โจทก์นำสืบจะระบุปริมาณสารบริสุทธิ์ ศาลก็ไม่อาจลงโทษตามมาตรา 66 วรรคสองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ทั้งยังเป็นการรับฟังเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสอง จึงต้องลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากอุบัติเหตุทางถนน: การประเมินความประมาทและการพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 จอดรถรอเลี้ยวอยู่ในช่องกลับรถไม่ล้ำเข้าไปกีดขวางการจราจรในช่องเดินรถของจำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (3), 157 มาด้วย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้างและความผิดฐานดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว แต่เมื่อคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานพรากผู้เยาว์-อนาจาร และหลักการฟ้องคดีอาญาที่ต้องระบุองค์ประกอบความผิดให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยพรากและพาผู้เสียหายที่ 2 ผู้เยาว์อายุ 15 ปีเศษ ซึ่งเป็นบุคคลอายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา โดยใช้อุบายหลอกลวงเท่านั้น คำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายให้ปรากฏไม่ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจาร คำฟ้องของโจทก์จึงบรรยายไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะระบุอ้างขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาด้วย และทางพิจารณาจะฟังได้ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารด้วยก็ตาม แต่ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 284 วรรคแรก ดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวแก้ในคำแก้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ในเวลากลางคืน หากโจทก์มิได้นำสืบ ศาลต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยงถึงวันที่ 13 เมษายน 2548 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์หลายรายการรวมราคา 65,100 บาท ของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถาน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลและทรัพย์ แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีกว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้เห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในเคหสถานและการลักทรัพย์ต่อเนื่อง ศาลพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์หลายกรรมต่างกันได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักบัตรถอนเงินสดของผู้เสียหายในเคหสถาน อันเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) วรรคแรก และจำเลยใช้บัตรดังกล่าวเบิกถอนเงินสดผ่านเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ อันเป็นการลักทรัพย์ของผู้เสียหายอีกจำนวน 5 ครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 335 และลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335 เพียงมาตราเดียว แต่ความผิดข้อหาลักทรัพย์ในเคหสถานตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง การที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 ด้วยจึงเป็นการลงโทษจำเลยในการกระทำผิดตามที่พิจารณาได้ความ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยลักบัตรถอนเงินสดไปจากผู้เสียหาย แล้วนำไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติรวมจำนวน 5 ครั้ง ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นคนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยลักบัตรถอนเงินสดไปจากผู้เสียหาย แล้วนำไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติรวมจำนวน 5 ครั้ง ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นคนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2063/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษตามบทมาตราที่อ้างในฟ้อง และการอุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลยกฟ้อง
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 358 และ 362 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินสามปีและไม่เกินหนึ่งปีตามลำดับ โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 359 (4) และมาตรา 365 (2) แต่การที่พนักงานอัยการโจทก์อ้างบทมาตรามาในฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 และมาตรา 362 มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด เพราะโจทก์อ้างมาตราตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทฉกรรจ์ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาได้ความว่า การกระทำของจำเลยต้องด้วยเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 359 (4) และมาตรา 365 (2) แต่การที่พนักงานอัยการโจทก์อ้างบทมาตรามาในฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 และมาตรา 362 มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด เพราะโจทก์อ้างมาตราตามข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องและตามที่ปรากฏในทางพิจารณาไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทฉกรรจ์ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยที่เคยกระทำผิดซ้ำ และการเพิ่มโทษปรับควบคู่กับโทษจำคุก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 12 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดในคดีนี้อีกภายใน 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ แต่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์คงระบุเพียงว่าขอให้เพิ่มโทษตามกฎหมาย โดยมิได้ระบุให้ชัดว่าประสงค์ให้เพิ่มโทษตามกฎหมายใด จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ว่าโจทก์ประสงค์ให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 92
โทษปรับเป็นโทษสถานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ลงโทษจำคุกและลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ในคดีหลังด้วย การเพิ่มโทษที่จะลงโทษแก่จำเลยที่ 1 จึงเพิ่มโทษปรับได้ด้วย
โทษปรับเป็นโทษสถานหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ลงโทษจำคุกและลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ในคดีหลังด้วย การเพิ่มโทษที่จะลงโทษแก่จำเลยที่ 1 จึงเพิ่มโทษปรับได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7577/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินต้องมีคำขอในฟ้อง ศาลสั่งริบโดยโจทก์มิได้ขอเป็นคำพิพากษาเกินคำขอ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ศาลในการลงโทษริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระทำความผิด แต่ศาลจะพิพากษาหรือสั่งเองโดยโจทก์มิได้ฟ้องหรือมีคำขอมาในฟ้องหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีชำเราโดยศาลล่างเกินกว่าที่โจทก์ขอ และการพิจารณาโทษสำหรับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็ก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 16 ปีเศษ (ที่ถูก 15 ปีเศษ) ให้ลงโทษจำเลยโดยลดมาตราโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 ให้จำคุกจำเลยไว้ 10 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายืน ซึ่งตามฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย 2 ครั้ง เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันถือได้ว่า มีการลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี เมื่อจำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเป็นการโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาฟ้องโจทก์แล้วโจทก์บรรยายฟ้องว่าระหว่างเดือนกันยายน 2543 ถึงเดือนตุลาคม 2543 ต่อเนื่องเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย รวม 2 ครั้ง ทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 โดยไม่ระบุ ป.อ. มาตรา 91 ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองให้เรียงกระทงลงโทษมาด้วยนั้น แม้ตามทางพิจารณาจะได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 กรณีดังกล่าวแม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225