พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีบัตรประจำตัวประชาชน โดยจำเลยมีสัญชาติไทย องค์ประกอบความผิดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการพิจารณาฟ้องที่ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ให้เป็น ผู้ใด ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตราดังกล่าว ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
โจทก์ขอให้ริบของกลางที่จำเลยใช้กระทำความผิด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบของกลางในคดีอื่นที่ผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยถูกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องสั่งริบของกลางในคดีนี้อีก
โจทก์ขอให้ริบของกลางที่จำเลยใช้กระทำความผิด แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบของกลางในคดีอื่นที่ผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยถูกฟ้องแล้ว จึงไม่จำต้องสั่งริบของกลางในคดีนี้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดฐานนำเข้ายาเสพติดเกินกว่าที่บรรยายฟ้อง และการใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ให้ลงโทษประหารชีวิต ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 แล้วจำคุกตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยต่างไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เพียงการปรับบทลงโทษตามกฎหมายให้ถูกต้อง และตามกฎหมายที่ได้มีการแก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยเกี่ยวกับบทกำหนดโทษเท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังคงวินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดและลงโทษตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนในส่วนเนื้อหาของความผิดฐานนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นอันถึงที่สุดตามมาตรา 245 วรรคสอง จำเลยย่อมฎีกาไม่ได้
คำฟ้องในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 367 เม็ด ที่จำเลยนำเข้าเพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีน เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเพื่อจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมยึดได้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 367 เม็ด ที่จำเลยนำเข้าเพื่อจำหน่ายเป็นของกลาง ก็เป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเท่านั้น ยังไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีน เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย และแม้โจทก์จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานนำเข้าซึ่งเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์กรณีซ่อมรถ: ผู้ครอบครองรถยนต์เบียดบังอะไหล่เป็นของตนเอง
ผู้เสียหายมอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองรถยนต์เพื่อทำการซ่อมที่อู่ของจำเลย จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ การที่จำเลยถอดอะไหล่และเครื่องเสียงในรถยนต์ให้บุคคลอื่นหรือนำไปขายจึงเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนและบุคคลที่สามโดยทุจริต มีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 357 เมื่อศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคแรก แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากที่กล่าวในฟ้องก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษจำเลยเกินคำฟ้องฐานใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาแก้ไขโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมในฟ้องข้อ ข. ว่า "หลังจากจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำผิดดังกล่าวตามฟ้องข้อ ก. แล้ว จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้บังอาจนำเอกสารราชการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมขึ้นดังกล่าว อ้างแสดงต่อองค์การบริหารส่วนตำบลกกโก เพื่อหลอกลวง..." คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวบรรยายถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม โจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 นั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย และมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งศาลอุทธรณ์มิได้แก้โทษจำเลยโดยกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องหรือลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ไม่อ้างบทลงโทษที่หนักกว่า ถือเป็นการไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามบทนั้น
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นทั้งบทความผิดและบทลงโทษในมาตราเดียวกัน ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และความผิดฐานพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80 เป็นเพียงองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษส่วนหนึ่งของมาตรา 7 เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ไม่อ้างมาตรา 7 ซึ่งมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 80 จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 7 และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: จำเลยซื้อทรัพย์ในราคาต่ำกว่าตลาดโดยไม่ตรวจสอบ ย่อมมีความผิดฐานรับของโจร แม้ฟ้องโจทก์บรรยายไม่ครบ
แม้ขณะที่ ก. กับ จ. เอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจะไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์เนื่องจากได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย แต่ ก. กับ จ. มีหน้าที่ต้องนำรถจักรยานยนต์มาคืนผู้เสียหาย การที่ ก. กับ จ. ไม่นำมาคืน ผู้เสียหาย กลับนำไปขายให้แก่จำเลยทั้งที่ไม่ใช่ของตน ถือได้ว่า ก. กับ จ. มีเจตนาเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอก เมื่อจำเลยรับซื้อไว้ในราคาเพียง 800 บาท ต่ำกว่าราคาแท้จริง 7,000 บาท มาก โดยไม่ประสงค์ตรวจสอบเสียก่อนว่าคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมีชื่อ ก. กับ จ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ ย่อมเป็นการผิดวิสัยของบุคคลโดยทั่วไป เชื่อว่าจำเลยรับซื้อไว้โดยรู้อยู่แล้วว่ารถจักรยานยนต์ที่ ก. กับ จ. นำมาขายได้มาจากการกระทำความผิดอาญาฐานยักยอก ดังนั้น ไม่ว่าการที่ ก. กับ จ. ได้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอก การกระทำของจำเลยถือว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก แล้ว
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายเพียงว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมิได้บรรยายถึงความผิดฐานยักยอกด้วย แต่ข้อเท็จจริงได้ความจากทางพิจารณาว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานยักยอกแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสามได้
แม้ฟ้องโจทก์จะบรรยายเพียงว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมิได้บรรยายถึงความผิดฐานยักยอกด้วย แต่ข้อเท็จจริงได้ความจากทางพิจารณาว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานยักยอกแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดเกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชน และการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุก
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งความอันเป็นเท็จว่า พ. เป็นคนมีสัญชาติไทยและไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเหตุให้พนักงานเจ้าหน้าที่หลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม การกระทำของจำเลยคงมีความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 (1) ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 ที่มีระวางโทษเบากว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในแบบคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านบุคคลประเภท 5 ทั้งที่ พ. มีเชื้อชาติและสัญชาติเขมรและร่วมกันแสดงหลักฐานดังกล่าวเพื่อเพิ่มชื่อ พ. ในทะเบียนบ้านและสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นคนสัญชาติไทยจนเจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในแบบคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านบุคคลประเภท 5 ทั้งที่ พ. มีเชื้อชาติและสัญชาติเขมรและร่วมกันแสดงหลักฐานดังกล่าวเพื่อเพิ่มชื่อ พ. ในทะเบียนบ้านและสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นคนสัญชาติไทยจนเจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีอื่น แม้หมายเลขคดีไม่ตรงกัน แต่จำเลยเป็นคนเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษาให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้นับโทษต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำที่ 307/2546 ของศาลชั้นต้น จำเลยให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ แต่ปรากฏว่าคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อคือคดีอาญาหมายเลขดำที่ 307/2547 ดังนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 307/2547 คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 261/2547 ให้ตรงตามความจริงได้ ส่วนที่โจทก์ระบุ พ.ศ. ของคดีหมายเลขดำในคำฟ้องเป็น พ.ศ. 2546 เป็นรายละเอียด คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้นับโทษต่อจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาต้องเป็นไปตามฟ้อง หากมีข้อเท็จจริงนอกฟ้อง แม้ได้ความในชั้นพิจารณา ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยบรรยายฟ้องในข้อหานี้เพียงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบุคมตัวเป็นผู้ต้องหา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง สิทธิเสรีภาพของโจทก์กับพวก เท่านั้น โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกแต่อย่างใด ดังนั้นแม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวกก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะเห็นว่าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 มีมูลและสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)