พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,100 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4302/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดขอบเขตการฟ้อง โจทก์ฟ้องครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอุทธรณ์ลงโทษสนับสนุนพยายามจำหน่าย เป็นการนอกเหนือฟ้อง ห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ช่วยเหลือติดต่อในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวและพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางแล้วลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวนั้น ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษฐานร่วมกันมีแมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอีก จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้บรรยายฟ้องไว้ว่า จำเลยร่วมกันจำหน่ายหรือพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่บุคคลใด แสดงว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงแห่งคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องครอบครองหรือมีอำนาจตัดสินใจสามารถจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางได้โดยตรง ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้สนับสนุนการพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลาง เป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องและถือว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 225
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้บรรยายฟ้องไว้ว่า จำเลยร่วมกันจำหน่ายหรือพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่บุคคลใด แสดงว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงแห่งคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องครอบครองหรือมีอำนาจตัดสินใจสามารถจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางได้โดยตรง ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้อง จะฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้สนับสนุนการพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลาง เป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องและถือว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3114/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินฟ้องในคดีอาญา กรณีทรัพย์ที่ถูกกล่าวหาผิดแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ได้ความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักเอาเม็ดพลาสติกที่โม่บดแล้วของผู้เสียหายไป แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ผู้เสียหายกับจำเลยประกอบธุรกิจร่วมกัน โดยจำเลยมีหน้าที่แต่เพียงผู้เดียวที่ไปประมูลเม็ดพลาสติกมือสองนำมาบดแล้วนำไปขายและเก็บเงินจากลูกค้า ส่วนโจทก์มีหน้าที่ออกเงินลงทุน แต่สาเหตุที่ผู้เสียหายดำเนินคดีนี้แก่จำเลย เนื่องจากจำเลยนำเม็ดพลาสติกที่บดแล้วไปขายให้แก่ลูกค้า เมื่อรับเงินมาแล้วไม่ยอมส่งมอบให้แก่ผู้เสียหายหาใช่จำเลยลักเม็ดพลาสติกไม่ ทรัพย์ที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดจึงแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณา เพราะเงินที่จำเลยไม่ยอมมอบแก่ผู้เสียหายไม่ใช่สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด จึงเป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ และศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่ได้จากทางพิจารณามาวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาฐานใดได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใช้ให้ซื้อยาเสพติด แม้ไม่ทันมอบยาให้ แต่ยังถือเป็นผู้สนับสนุนความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำให้การชั้นสอบสวนของ จ. และ ก. ที่ว่า จำเลยมอบเงินให้ไปซื้อเมทแอมเฟตามีน 1,000 เม็ด แม้เป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่มิได้เป็นการปัดความรับผิดของผู้ซัดทอดให้เป็นความผิดของจำเลยเพียงผู้เดียว ทั้งศาลได้มีคำพิพากษาลงโทษ จ. และ ก. แล้ว คำซัดทอดจึงเป็นการแจ้งเรื่องราวที่ตนได้ประสบมาจากการกระทำของตนยิ่งกว่าเป็นการปรักปรำจำเลย จ. และ ก. รู้จักจำเลยมาก่อน ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกัน ต่างเบิกความยืนยันการกระทำของจำเลยเช่นเดียวกับที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวน โดย จ. เบิกความถึงคำให้การในชั้นสอบสวนของตนว่าไม่ได้ถูกบังคับขู่เข็ญ ส่วน ก. อายุไม่เกิน 18 ปี ให้การต่อหน้าพนักงานอัยการ นักจิตวิทยา และทนายความ ฉะนั้น คำซัดทอดของ จ. และ ก. จึงเป็นพยานที่น่าเชื่อถือในการพิสูจน์ความจริง ประกอบกับจำเลยไปยืมรถจักรยานยนต์จาก ล. มาให้ จ. ขับไปซื้อเมทแอมเฟตามีน จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ จ. ไปซื้อเมทแอมเฟตามีน เมื่อ จ. และ ก. ไปซื้อเมทแอมเฟตามีน จำเลยจึงเป็นผู้ก่อให้ จ. และ ก. ครอบครองเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 84 แต่ระหว่างทางที่จะนำเมทแอมเฟตามีนมาให้จำเลย จ. และ ก. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน จำเลยยังมิได้ร่วมกับ จ. และ ก. ครอบครองเมทแอมเฟตามีน จึงมิใช่ตัวการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตาม ป.อ. มาตรา 83 ดังที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้ใช้ให้ จ. และ ก. กระทำความผิดไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. 192 วรรคสอง แต่การกระทำความผิดของจำเลยถือได้ว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 86 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11865/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์ vs. วิ่งราวทรัพย์: การกระชากทรัพย์สินด้วยกำลังและการข่มขู่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะพวกของจำเลยซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่กำลังขับตามผู้เสียหายไปถามผู้เสียหายว่า จะรีบไปไหน พวกของจำเลยดังกล่าวเพียงแต่มีมีดถืออยู่ในมือ และในขณะผู้เสียหายวิ่งหนี พวกของจำเลยได้วิ่งไล่ตามผู้เสียหายไปจนทัน แล้วกระชากสร้อยคอทองคำที่ผู้เสียหายสวมอยู่ขาดติดมือพวกของจำเลยไป โดยพวกของจำเลยไม่ได้ใช้มีดที่ถืออยู่จี้ขู่เข็ญ หรือแสดงท่าทีใดๆ ให้เห็นว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะใช้มีดที่ถืออยู่ฟันหรือแทงประทุษร้ายหากขัดขืนไม่ให้พวกของจำเลยกระชากเอาสร้อยคอทองคำไป พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกตามที่ได้ความดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อความสะดวกในการลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยกับพวกไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์แต่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาชิงทรัพย์ ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาไปซึ่งหน้าและมิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ คงลงโทษฐานลักทรัพย์ อันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาชิงทรัพย์ ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาไปซึ่งหน้าและมิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ไม่ได้ คงลงโทษฐานลักทรัพย์ อันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8867/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามกระทำความผิดฐานพาเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเพื่ออนาจาร แม้ไม่บรรลุผลก็มีโทษ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายให้ไปร่วมประเวณีกับ อ. แต่พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่ครบองค์ประกอบความผิด โจทก์อุทธรณ์ จำเลยกล่าวแก้อุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้พูดชักชวนผู้เสียหายให้ไปร่วมหลับนอนด้วย คดีจึงมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยว่าจำเลยพูดชักชวนผู้เสียหายหรือไม่
จำเลยเพียงแต่พูดชักชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีให้ไปร่วมหลับนอนกับ อ. แล้วจะให้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเงินเป็นการตอบแทน โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ส่อแสดงว่าจำเลยใช้อุบายและพูดไม่จริง หรือจะไม่ให้สิ่งของดังกล่าวตอบแทนเมื่อผู้เสียหายตกลง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวง เป็นการขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม ผู้เสียหายถูกจำเลยพูดชักชวน ผู้เสียหายทำทีพยักหน้าแต่ไม่ตกลงด้วย เท่ากับผู้เสียหายไม่ยินยอม การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสาม เมื่อผู้เสียหายไม่ไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว และถือว่าความผิดที่ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก ประกอบมาตรา 215 และ 225
จำเลยเพียงแต่พูดชักชวนผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีให้ไปร่วมหลับนอนกับ อ. แล้วจะให้โทรศัพท์เคลื่อนที่และเงินเป็นการตอบแทน โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ใด ๆ ที่ส่อแสดงว่าจำเลยใช้อุบายและพูดไม่จริง หรือจะไม่ให้สิ่งของดังกล่าวตอบแทนเมื่อผู้เสียหายตกลง จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวง เป็นการขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 วรรคสาม ผู้เสียหายถูกจำเลยพูดชักชวน ผู้เสียหายทำทีพยักหน้าแต่ไม่ตกลงด้วย เท่ากับผู้เสียหายไม่ยินยอม การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคสาม เมื่อผู้เสียหายไม่ไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพยายามกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าว และถือว่าความผิดที่ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8825/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก - ความผิดกรรมเดียว - การแก้ไขบทลงโทษ - อำนาจปกครอง
ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า ธ. นำผู้เสียหายมาฝากไว้กับ ส. ภริยาของจำเลยช่วยดูแลเพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาของผู้เสียหาย ดังนั้น อำนาจปกครองยังคงอยู่กับ ธ. ผู้เป็นบิดาของผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 285
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยหลายครั้งในระยะเวลาหลายวัน โดยมิได้บรรยายว่ากระทำผิดกี่กรรมและเมื่อใดบ้าง ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดเพียงกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปีซึ่งมิใช่ภริยาของจำเลยหลายครั้งในระยะเวลาหลายวัน โดยมิได้บรรยายว่ากระทำผิดกี่กรรมและเมื่อใดบ้าง ไม่ชัดเจนว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดเพียงกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8750/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากยักยอกทรัพย์เป็นลักทรัพย์ และอำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน แม้มีการถอนคำร้องทุกข์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 182 กระทง เป็นจำคุก 364 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 และมาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นการแก้ไขเฉพาะบทลงโทษเท่านั้น มิได้แก้ไขกำหนดโทษ ถือว่า เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์มีเพียงคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้นั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ประกอบมาตรา 83 แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่า ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับยักยอก มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกัน ลักทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 อันเป็นความผิด ยอมความได้ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมไม่ตัดอำนาจของพนักงานอัยการที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 ประกอบมาตรา 83 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ประกอบมาตรา 83 แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่า ข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กับยักยอก มิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกัน ลักทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความได้
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 352 อันเป็นความผิด ยอมความได้ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (7) ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงแก้ไข ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมไม่ตัดอำนาจของพนักงานอัยการที่จะฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 126 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7892/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในชั้นอุทธรณ์ และการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่เพื่อประโยชน์แก่จำเลย
แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์ขอให้ลดโทษและโจทก์อุทธรณ์เพียงข้อกฎหมายว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้สำหรับความผิดฐานนั้นสูงเกินไป ก็มีอำนาจกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี อันเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษแก่จำเลยตามความผิดของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกอุทธรณ์ซึ่งจะเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 แต่อย่างใด
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน สำหรับคดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 (เดิม) กำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะบังคับตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรพิจารณาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 75 และมาตรา 76 แห่ง ป.อ. และให้ใช้ข้อความใหม่แทน สำหรับคดีนี้ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 (เดิม) กำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ แต่ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะบังคับตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นสมควรพิจารณาลงโทษก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลย มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควร การลดมาตราส่วนโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาตามฟ้องเดิม ศาลไม่อาจลงโทษฐานความผิดอื่นนอกเหนือจากที่ระบุในฟ้อง แม้มีพยานหลักฐานสนับสนุน
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์ร่วมทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันตระเตรียมอาวุธมาทำร้ายผู้ตาย แต่เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองเข้ามาดำเนินคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ เมื่อคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคสอง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 290 วรรคสองได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6635/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย แม้ไม่รู้ผู้ลงมือ แต่มีเจตนาวิวาทร่วมกัน
ผู้ตายฝ่ายหนึ่งและจำเลยทั้งสามกับพวกอีกฝ่ายหนึ่งสมัครใจวิวาทต่อสู้กัน ดังนั้น แม้ฝ่ายจำเลยจะมีหลายคน แต่เมื่อสามารถรับรู้และแบ่งฝ่ายแบ่งพวกกันได้ การที่ผู้ตายถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตายจึงมิใช่เป็นการตายอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ แต่พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามถือได้ว่า ต่างมีเจตนาร่วมวิวาททำร้ายผู้ตายมาแต่แรก ดังนั้น แม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตายเพราะถูกฝ่ายจำเลยแย่งมีดไปฟันในเหตุการณ์ดังกล่าวโดยไม่รู้ว่าจำเลยคนใดเป็นผู้ฟันผู้ตายแต่จำเลยทั้งสามก็ยังต้องมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก ซึ่งศาล มีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานนี้ได้ เพราะความผิดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษมาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์ไม่ฎีกาในข้อนี้ขึ้นมา ศาลฎีกาจึงไม่อาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องอันเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสามได้