คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1655

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกบางส่วน ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามกฎหมาย
การแสดงเจตนาที่จะเป็นพินัยกรรมได้ จะต้องมีลักษณะเป็นคำสั่ง. คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของบุคคลนั้น. และในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย.
เจ้ามรดกมีหนังสือถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตร. แจ้งให้ทราบว่าตนทำพินัยกรรมลับไว้ที่อำเภอในหนังสือระบุว่า. ห้ามมิให้จำเลยขายที่นา. และห้ามมิให้จำเลยออกเงินส่วนตัวทำศพเจ้ามรดก. มิให้นาตกเป็นของจำเลย. ให้แบ่งนาให้โจทก์คนละ 5 ไร่. เหลือจากแบ่งห้ามมิให้จำเลยขายเอาเงินทำศพเจ้ามรดก. และไม่ให้นาส่วนที่เหลือตกเป็นของจำเลย. เงินสด 10,000 บาท. ถ้าทำศพเจ้ามรดกแล้วมีเงินเหลือมอบให้โจทก์ไป. ให้โจทก์เป็นผู้เก็บค่าเช่านา.ตอนท้ายของหนังสือมีความต่อไปว่า. ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามจดหมายนี้. ก็ให้โจทก์ไปร้องเรียนนายอำเภอ. ขอให้นายอำเภอถอนพินัยกรรมลับด้วย. ดังนี้ เอกสารหนังสือของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรม. และเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657. เพราะเจ้ามรดกเขียนเองทั้งฉบับ. มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมลับของเจ้ามรดกซึ่งทำไว้ฉบับแรกบางส่วนตามมาตรา 1694.
คดีที่มีจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย. จำเลยจะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่. เพราะกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี. จำเลยมีสิทธิยกอายุความ 5 ปีนี้เท่านั้นขึ้นต่อสู้โจทก์.
จำเลยมิใช่บุคคลภายนอก. แต่เป็นผู้จัดการมรดก. ต้องถือว่าจำเลยยึดถือที่นามรดกไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท. จำเลยจะอ้างสิทธิว่าได้แย่งการครอบครองจากโจทก์มิได้. จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับแรกบางส่วน ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามกฎหมาย
การแสดงเจตนาที่จะเป็นพินัยกรรมได้ จะต้องมีลักษณะเป็นคำสั่ง คำสั่งนั้นเป็นคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของบุคคลนั้น และในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย
เจ้ามรดกมีหนังสือถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตร แจ้งให้ทราบว่าตนทำพินัยกรรมลับไว้ที่อำเภอในหนังสือระบุว่า ห้ามมิให้จำเลยขายที่นา และห้ามมิให้จำเลยออกเงินส่วนตัวทำศพเจ้ามรดก มิให้นาตกเป็นของจำเลย ให้แบ่งนาให้โจทก์คนละ 5 ไร่ เหลือจากแบ่งห้ามมิให้จำเลยขายเอาเงินทำศพเจ้ามรดก และไม่ให้นาส่วนที่เหลือตกเป็นของจำเลย เงินสด 10,000 บาท ถ้าทำศพเจ้ามรดกแล้วมีเงินเหลือมอบให้โจทก์ไป ให้โจทก์เป็นผู้เก็บค่าเช่านา ตอนท้ายของหนังสือมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามจดหมายนี้ ก็ให้โจทก์ไปร้องเรียนนายอำเภอ ขอให้นายอำเภอถอนพินัยกรรมลับด้วย ดังนี้ เอกสารหนังสือของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรม และเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 เพราะเจ้ามรดกเขียนเองทั้งฉบับ มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมลับของเจ้ามรดกซึ่งทำไว้ฉบับแรกบางส่วนตามมาตรา 1694
คดีที่มีจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจากจำเลย จำเลยจะยกอายุความมรดก 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรค 2 ซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยมีสิทธิยกอายุความ 5 ปีนี้เท่านั้นขึ้นต่อสู้โจทก์
จำเลยมิใช่บุคคลภายนอก แต่เป็นผู้จัดการมรดก ต้องถือว่าจำเลยยึดถือที่นามรดกไว้แทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท จำเลยจะอ้างสิทธิว่าได้แย่งการครอบครองจากโจทก์มิได้ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231-1232/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดก และสัญญาประนีประนอมต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
บุตรบุญธรรมที่มิได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231-1232/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมที่ไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีสิทธิรับมรดก การตกลงแบ่งมรดกต้องทำเป็นหนังสือจึงมีผล
บุตรบุญธรรมที่มิได้มีการจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
พูดยกที่พิพาทให้ โดยเป็นเรื่องที่สั่งเผื่อไว้เมื่อผู้พูดถึงแก่กรรมแล้ว มิได้ยกให้ในขณะนั้น ถือว่าเป็นพินัยกรรม ถ้าไม่ได้ทำเป็นพินัยกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายก็ไม่มีผลแต่อย่างใด
ตกลงยอมแบ่งที่พิพาทกัน แต่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญา ย่อมไม่มีผลที่บังคับกันได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์มรดกเฉพาะบุตรคนเดียว การกำหนดการเผื่อตายชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ตายทำพินัยกรรมแสดงเจตนายกทรัพย์ที่มีอยู่และทรัพย์ที่จะเกิดมีในภายหน้าให้บุตรผู้รับพินัยกรรมแต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายตายไปแล้วไม่ให้บุตรคนอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก คำสั่งนี้เป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตายแล้ว ทั้งผู้ตายได้ทำคำสั่งของตนลงไว้ในเอกสารซึ่งทำเป็นพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรมของผู้ตายโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนข้อกำหนดอย่างอื่นที่ให้ผู้รับพินัยกรรมทำเลี้ยงผู้ตายจนตลอดชีวิต หรือให้ใช้หนี้แทนแม้จะเป็นภาระให้กระทำก่อนตายไว้ด้วย เมื่อมีข้อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินไว้แล้ว ก็หาทำให้กลับกลายเป็นการยกให้ใน ระหว่างมีชีวิตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุตรผู้รับพินัยกรรมแต่ผู้เดียว ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีภาระก่อนตาย
ผู้ตายทำพินัยกรรมแสดงเจตนายกทรัพย์ที่มีอยู่และทรัพย์ที่จะเกิดมีในภายหน้าให้บุตรผู้รับพินัยกรรมแต่ผู้เดียว เมื่อผู้ตายตายไปแล้วไม่ให้บุตรคนอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก คำสั่งนี้เป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของผู้ตายแล้ว ทั้งผู้ตายได้ทำคำสั่งของตนลงไว้ในเอกสารซึ่งทำเป็นพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพินัยกรรมของผู้ตายโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนข้อกำหนดอย่างอื่นที่ให้ผู้รับพินัยกรรมทำเลี้ยงผู้ตายจนตลอดชีวิต หรือให้ใช้หนี้แทนแม้จะเป็นภาระให้กระทำก่อนตายไว้ด้วย เมื่อมีข้อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินไว้แล้ว ก็หาทำให้กลับกลายเป็นการยกให้ในระหว่างมีชีวิตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม 2 ฉบับ ข้อความเหมือนกัน ฉบับสมบูรณ์ใช้ได้ แม้ฉบับหนึ่งไม่สมบูรณ์
พินัยกรรมทำขึ้น 2 ฉบับ ข้อความเหมือนกัน ฉบับหนึ่งที่คู่ความนำส่งศาลนั้นทำครบถ้วนตามแบบพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งทำไม่ครบถ้วนถูกต้องและคู่ความอีกฝ่ายก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าฉบับที่ทำถูกต้องนั้นใช้ไม่ได้ ดังนี้ฉบับที่ทำไม่ถูกต้องไม่ทำให้ฉบับที่สมบูรณ์พลอยเสียไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรม 2 ฉบับใช้ได้ ฉบับที่ไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฉบับสมบูรณ์เสีย
พินัยกรรมทำขึ้น 2 ฉบับ ข้อความเหมือนกัน ฉบับหนึ่งที่คู่ความนำส่งศาลนั้นทำครบถ้วนตามแบบพินัยกรรม อีกฉบับหนึ่งทำไม่ครบถ้วนถูกต้องและคู่ความอีกฝ่ายก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าฉบับที่ทำถูกต้องนั้นใช้ไม่ได้ ดังนี้ฉบับที่ทำไม่ถูกต้องไม่ทำให้ฉบับที่สมบูรณ์พลอยเสียไปด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370-1371/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมเปิดเผยทำตามแบบธรรมดา มิใช่พินัยกรรมลับ แม้ฝากอำเภอเก็บรักษา
พินัยกรรมนั้นจะทำได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่ง (มาตรา1655)โดยลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน(มาตรา 1656)โดยทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้(มาตรา 1657) ฯลฯ
เมื่อปรากฏว่าพินัยกรรมนั้นทำขึ้นโดยเปิดเผยเป็นสามฉบับข้อความตรงกัน มอบให้ผู้รับพินัยกรรมไว้ 1 ฉบับ ผู้ทำเก็บไว้ 1 ฉบับ การทำมิได้มีการปิดบังอย่างใดเช่นนี้มิใช่เป็นพินัยกรรมทำตามแบบเอกสารลับแม้จะระบุไว้ว่าฉบับหนึ่งให้ฝากอำเภอเก็บเป็นเอกสารลับนั้น ก็เป็นการเข้าใจของผู้ทำว่าเอกสารที่ฝากอำเภอนั้น อำเภอย่อมเก็บลับเท่านั้นเอง ผู้ทำมิได้เจตนาทำเป็นแบบเอกสารลับและเพียงเท่านี้ยังมิทำให้พินัยกรรมนั้นกลายเป็นพินัยกรรมทำตามแบบเอกสารลับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370-1371/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมตามแบบธรรมดา มิใช่เอกสารลับ แม้จะฝากเก็บรักษาไว้กับอำเภอ
พินัยกรรมนั้นจะทำได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่ง (ม. 1655) โดยลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน (ม.1656) โดยทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ (ม.1657) ฯลฯ
เมื่อปรากฎว่าพินัยกรรมนั้นทำขึ้นโดยเปิดเผยเป็นสามฉบับข้อความตรงกัน มอบให้ผู้รับพินัยกรรมไว้ 1 ฉบับ ผู้ทำเก็บไว้ 1 ฉบับ การทำมิได้มีการปิดบังอย่างใด เช่นนี้มิใช่เป็นพินัยกรรมทำตามแบบเอกสารลับ แม้จะระบุไว้ว่าฉบับหนึ่งให้ฝากอำเภอเก็บเป็นเอกสารลับนั้นก็เป็นการเข้าใจของผู้ทำว่าเอกสารที่ฝากอำเภอนั้น อำเภอย่อมเก็บลับเท่านั้นเอง ผู้ทำมิได้เจตนาทำเป็นแบบเอกสารลับและเพียงเท่านี้ยังมิทำให้พินัยกรรมนั้นกลายเป็นพินัยกรรมทำตามแบบเอกสารลับไปไม่ +
of 5