พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีกรณีแจ้งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ และการขยายระยะเวลาฟ้องคดีเนื่องจากคำพิพากษาเดิม
จำเลยส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ฉบับเดียวกันไปยังโจทก์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับโดยชอบ 2 ครั้ง ครั้งแรกส่งไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของโจทก์ มีผู้รับไว้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ครั้งที่สองส่งไปยังสถานประกอบการของนายจ้างตามที่โจทก์แจ้งไว้ในคำอุทธรณ์ว่าเป็นสถานที่ติดต่อได้สะดวก มีผู้รับไว้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 การนับเวลานำคดีไปสู่ศาลต้องตีความเป็นคุณแก่โจทก์ผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จึงให้เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ครั้งที่สอง
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยพอแปลได้ว่า เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั่นเอง
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ซึ่งอยู่ในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ (ครั้งที่สอง) ศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่มีสภาพนิติบุคคลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ให้ระยะเวลาโจทก์มาฟ้องคดีใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 อันเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นสมควรขยายระยะเวลาการฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เพื่อให้โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยพอแปลได้ว่า เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั่นเอง
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ซึ่งอยู่ในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ (ครั้งที่สอง) ศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่มีสภาพนิติบุคคลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ให้ระยะเวลาโจทก์มาฟ้องคดีใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 อันเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นสมควรขยายระยะเวลาการฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เพื่อให้โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีต่อศาลแรงงานและการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน โดยการขึ้นทะเบียนสำนักจัดหางาน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กำหนดเวลาสามสิบวันดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กำหนดให้ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเพื่อโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งเป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 ที่ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภาค 3 โดยฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคของจำเลยตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พ.ศ.2545 เป็นจำเลยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย จึงเป็นการใช้สิทธิในการโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์และได้ดำเนินการนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันตามกฎหมายแล้ว ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงแถลงต่อศาลแรงงานภาค 3 ขอถอนฟ้องเพื่อจะได้ฟ้องจำเลยคดีนี้ให้ถูกต้องต่อไป และศาลแรงงานภาค 3อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเพื่อฟ้องเป็นคดีนี้ใหม่ และโจทก์ก็ได้นำคดีกลับมาฟ้องจำเลยใหม่ภายในสิบวันนับแต่วันที่ถอนฟ้องคดีเดิมโดยศาลแรงงานภาค 3 ได้รับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อมา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ถอนฟ้องแล้วโจทก์จะต้องฟ้องจำเลยคดีนี้ภายในอายุความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ไม่
ตามบทบัญญัติของพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 79 และข้อกำหนดในกฎกระทรวงที่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานเพราะเหตุลาออกจากงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันให้ได้รับครั้งละไม่เกินกว่าเก้าสิบวัน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้น หากได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย แต่หากลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับแต่วันที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักงานจัดหางานของรัฐเท่านั้น เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนที่สำนักจัดหางานจังหวัดในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขึ้นทะเบียนตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 1 (2) และข้อ 2
ตามบทบัญญัติของพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 79 และข้อกำหนดในกฎกระทรวงที่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานเพราะเหตุลาออกจากงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันให้ได้รับครั้งละไม่เกินกว่าเก้าสิบวัน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้น หากได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย แต่หากลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับแต่วันที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักงานจัดหางานของรัฐเท่านั้น เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนที่สำนักจัดหางานจังหวัดในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขึ้นทะเบียนตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 1 (2) และข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องกรณีว่างงาน: การขยายเวลาฟ้องเนื่องจากเหตุจำเป็นและการนับสิทธิประโยชน์ทดแทน
โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แล้วไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภาค 3 โดยฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครราชสีมาเป็นจำเลยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย จึงเป็นการใช้สิทธิในการโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์และได้ดำเนินการนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวัน ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 87 วรรคสาม แล้ว ดังนี้ ในวันพิจารณาคดีดังกล่าวเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทย์จึงแถลงต่อศาลแรงงานภาค 3 ขอถอนฟ้องเพื่อจะได้ฟ้องจำเลยคดีนี้ให้ถูกต้องต่อไปและศาลแรงงานภาค 3 อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเพื่อฟ้องเป็นคดีใหม่นั้น ถือได้ว่าศาลแรงงานภาค 3 อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาฟ้องจำเลยคดีนี้ได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วข้างต้นและโจทก์ก็ได้นำคดีกลับมาฟ้องจำเลยใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ถอนฟ้องคดีโดยศาลแรงงานภาค 3 ได้รับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 87 วรรคสาม แล้ว
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 79 บัญญัติว่า "ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง" ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ พ.ศ.2547 ข้อ 1 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้างโดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (2) ร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงาน เพราะเหตุลาออกจากงานหรือเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น โดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินกว่าเก้าสิบวัน" ข้อ 2 กำหนดว่า "ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามข้อ 1 ตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้ใดไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่ว่างงาน นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ" ตามบทบัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวเพียงแต่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุออกจากงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันให้ได้รับครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้นหากได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่การงดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานมีเพียง 3 กรณี คือกรณีเมื่อผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกลับเข้าทำงานเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 33 หรือเป็นกรณีที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนได้ปฏิเสธการทำงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือเป็นกรณีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่ไปรายงานตัวที่สำนักจัดหางานของรัฐบาลโดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ทั้ง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ จึงมิได้เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิหรือกำหนดให้งดการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงาน เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2547 ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ ข้อ 1 (2) และข้อ 2
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 79 บัญญัติว่า "ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง" ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ พ.ศ.2547 ข้อ 1 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้างโดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (2) ร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงาน เพราะเหตุลาออกจากงานหรือเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น โดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินกว่าเก้าสิบวัน" ข้อ 2 กำหนดว่า "ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามข้อ 1 ตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้ใดไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่ว่างงาน นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ" ตามบทบัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวเพียงแต่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุออกจากงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันให้ได้รับครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้นหากได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่การงดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานมีเพียง 3 กรณี คือกรณีเมื่อผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกลับเข้าทำงานเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 33 หรือเป็นกรณีที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนได้ปฏิเสธการทำงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือเป็นกรณีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่ไปรายงานตัวที่สำนักจัดหางานของรัฐบาลโดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ทั้ง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ จึงมิได้เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิหรือกำหนดให้งดการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงาน เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2547 ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ ข้อ 1 (2) และข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีประกันสังคมเกินกำหนด 30 วัน ทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์มีผลเป็นที่สุด
สำนักงานประกันสังคมส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของโจทก์ ค. หลานของโจทก์ลงลายมือชื่อในใบตอบรับเอกสารแทนโจทก์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2547 ต้องถือว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันนั้น
โจทก์ฟ้องคดีขอเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง เกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นผลให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องคดีขอเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง เกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นผลให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8787/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีประกันสังคมเกินกำหนด ทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์มีผลเป็นที่สุด
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 87 วรรคสาม กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย มิฉะนั้นคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด เมื่อ ค. หลานของโจทก์ลงลายมือชื่อในใบตอบรับเอกสารแทนโจทก์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2547 โจทก์จึงต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2547 จึงเป็นการเกินกำหนดเวลา ย่อมเป็นผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เป็นที่สุด ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจึงไม่ถูกต้อง