คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 241

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8788/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: ความรับผิดในการจ่ายเงินสะสมให้ลูกจ้าง แม้มีหนี้สินกับนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ จำเลยที่ 2 และมีบริษัทหลักทรัพย์ บ. เป็นผู้บริหารกองทุน จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง โจทก์จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2540 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2546 เป็นจำนวนเงิน 33,858.84 บาท มีระเบียบของจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อออกจากงาน จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2546 เป็นผลให้โจทก์สิ้นสุดสมาชิกภาพ ตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 2 โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ที่จ่ายเข้ากองทุนทั้งหมดคืนเป็นจำนวน 33,858.84 บาท ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์สิ้นสมาชิกภาพ ดังนี้ การเรียกเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้ว ต้องฟ้องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วเป็นจำเลยให้จ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์ให้ ไม่ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือผู้จัดการกองทุนจะได้ส่งเงินและผลประโยชน์คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างไปแล้วหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์ จำนวน 33,858.84 บาท การที่จำเลยที่ 2 ชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยจ่ายเป็นเช็คธนาคาร ก. สาขาสีลม และส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อติดต่อให้โจทก์มารับไป แต่โจทก์มีภาระหนี้ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 979,820 บาท จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิยึดหน่วงเงินจำนวน 33,858.84 บาท โดยครอบครองเช็คที่จำเลยที่ 2 จ่ายให้โจทก์ไว้ไม่ส่งมอบแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่นำเช็คไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จำเลยที่ 2 จึงยังไม่หลุดพ้นจากหนี้ เพราะโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ เงินจำนวน 33,858.84 บาท เป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดสมาชิกภาพตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการงดแถลงการณ์ด้วยวาจา: ดุลพินิจตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์สั่งงดการแถลงการณ์ด้วยวาจานั้น เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 241 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์สั่งงดแถลงการณ์ด้วยวาจา: ดุลพินิจตามกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์สั่งงดการแถลงการณ์ด้วยวาจานั้น. เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 241 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์สั่งงดแถลงการณ์ด้วยวาจา: ดุลพินิจตามกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์สั่งงดการแถลงการณ์ด้วยวาจานั้นเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 241 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่สามารถมาแถลงการณ์ตามกำหนดนัด ไม่ถือเป็นกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วขอแถลงการณ์ด้วยวาจาด้วย ศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดแถลงการณ์ส่งให้โจทก์ แต่ปรากฏว่าทนายโจทก์เพิ่งได้รับหมายนัดแถลงการณ์นั้นเป็นเวลาภายหลังกำหนดนัดไป 2 ชั่วโมง เศษ จึงไม่สามารถมาแถลงการณ์ตามกำหนดเวลาของศาลได้แต่ก็มิได้จัดการแถลงให้ศาลทราบหรือร้องขอแถลงการณ์อีกแต่ประการใด จนล่วงเลยมาถึง 12 วัน ศาลอุทธรณ์จึงตัดสินคดีไป ดังนี้ ยังไม่มีเหตุที่จะถือว่า ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีไปโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ร้องขอแถลงการณ์เพิ่มเติมหลังได้รับหมายนัดช้า ไม่ถือเป็นกระบวนพิจารณาไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วขอแถลงการณ์ด้วยวาจาด้วย ศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดแถลงการณ์ส่งให้โจทก์ แต่ปรากฎว่าทนายโจทก์เพื่งได้รับหมายนัดแถลงการณ์นั้น เป็นเวลาภายหลังกำหนดนัดไป 2 ชั่วโมงเศษ จึงไม่สามารถมาแถลงการณ์ตามกำหนดเวลาของศาลได้แต่ก็มิได้จัดการแถลงให้ศาลทราบหรือร้องขอแถลงการณ์อีกแต่ประการใด จนล่วงเลยมาถึง 12 วัน ศาลอุทธรณ์จึงตัดสินคดีไป ดังนี้ ยังไม่มีเหตุที่จะถือว่า ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาคดีไป โดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268-269/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับมฤดกไม่กระทบสิทธิเจ้าหนี้กองมฤดก โจทก์ไม่มีมูลฟ้องหากจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโดยตรง
การที่มีผู้ไปประกาศขอรับมฤดกของเจ้ามฤดกนั้นไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของเจ้าหนี้กองมฤดกเพราะแม้จะไปรับ มฤดกได้ ก็ต้องเอามาใช้หนี้เจ้าหนี้กองมฤดกและเมื่อในฟ้องไม่ปรากฎว่า ผู้ที่อ้างว่าเป็นทายาทไปประกาศขอรับมฤดกนั้น ได้โดยแย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงยังไม่มีมูลมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหาย vs. เบี้ยปรับ: ศาลฎีกาชี้ขาดตามความมุ่งหมายของคู่สัญญา และมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินไป
ศาลอุทธรณ์จะไม่ฟังคำแถลงตามที่คู่ความร้องขอก็ได้
ค่าเสียหายกับเบี้ยปรับมีนัยเป็นคนละอย่างต่างกัน เรื่องเรียกค่าเสียหายเป็นสิทธิโดยบังคับของกฎหมายเกิดขึ้นเอง เรื่องเบี้ยปรับเกิดขึ้นได้แก่โดยตกลงกำหนดกันไว้ เรื่องเบี้ยปรับตามสัญญานั้นถ้อยคำในสัญญาจะเรียกชื่อว่าเป็นค่าอะไรไม่สำคัญข้อสำคัญอยู่ที่ความมุ่งหมายอันแท้จริงของคู่สัญญาซึ่งปรากฎในสัญญานั้น ข้อสัญญาที่ว่าจะใช้ค่าเสียหายให้วันละ 5 บาทนั้นพอถือได้ว่าเป็นข้อสัญญาให้เบี้ยปรับวันละ 5 บาท
เมื่อศาลล่างให้เบี้ยปรับมาแรงเกินไป ศาลฎีกามีอำนาจลดเบี้ยปรับลงอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดทรัพย์ - สัญญาขายฝาก - ศาลชี้ขาดได้โดยไม่ต้องเพิกถอน - ประเด็นกรรมสิทธิ์
โจทก์ยึดทรัพย์จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ร้อง ๆ ขัดทรัพย์ว่าจำเลยขายฝากให้ตนแล้วศาลมีอำนาจชี้ขาดว่านิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยกับผู้ร้องทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่โดยที่โจทก์มิต้องไปฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมก่อน,
อ้างฎีกาที่ 181/2481,ยื่นคำร้องว่ามีความประสงค์จะแต่งทนายกรุงเทพฯอีกคนหนึ่งเพื่อสะดวกในการแถลงคารมาที่ศาลอุทธรณ์ ดังนี้ไม่ถือว่าเป็นคำแถลงความประสงค์ในการที่จะมาว่าคดีทีศาลอุทธรณ์่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของกลางไม่จำเป็นต้องนำส่งศาล เพียงพยานบุคคลเพียงพอลงโทษได้
ของกลางที่เจ้าพนักงานจับได้จากจำเลย โจทย์ไม่จำต้องอ้างนำส่งศาล การพิจารณาคดีแม้โจทย์จะสืยเพียงพะยานบุคคลเท่านั้นหากเป็นการเพียงพอก็ลงโทษได้ ไม่จำต้องมีของกลางหรือวัตถุพะยาน อ้างฎีกาที่ 619/2479
of 2