พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8804/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์การประเมินภาษี, สิทธิขอคืนภาษี, ดอกเบี้ยคืนภาษี, และผลของการไม่ยื่นรายการภาษีตามกำหนด
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์มิได้ใช้ที่ดินและโกดังสินค้าในการประกอบกิจการใด การขายที่ดินและโกดังสินค้าดังกล่าวจึงไม่ใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ ซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่ศาลภาษีอากรกลางหยิบยกข้อความตามสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. และข้อที่โจทก์ยอมรับการประเมินค่ารายปีและเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนมาประกอบดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มีอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไว้ในการประกอบกิจการจึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็น แม้เหตุผลตามคำพิพากษาจะแตกต่างจากเหตุผลของเจ้าพนักงานประเมินหรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ตาม
โจทก์อ้างว่าอสังหาริมทรัพย์จำนวน 4 แปลง โจทก์ได้มาตั้งแต่ปี 2525 และขายไปในปี 2535 โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จำเลยให้การว่า โจทก์ซื้อที่ดิน 4 แปลงมาในราคา 4,000,000 บาท แล้วขายไปในราคา 30,254,882 บาท และตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่าขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นโกดังก่ออิฐถือปูน ซื้อเพื่อใช้เป็นที่สร้างคลังเก็บสินค้า แสดงว่าโจทก์ผู้ซื้อมีเจตนาใช้ประกอบกิจการเป็นโกดังเก็บสินค้ามิได้มีเจตนาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังยื่นแบบแสดงรายการกำหนดค่ารายปีและชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (5) คือ อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ โจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและต้องนำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ของโจทก์ เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินทั้ง 4 แปลงมาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไรให้เห็นโดยชัดแจ้ง คำให้การของจำเลยมุ่งแสดงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าโจทก์ขายที่ดินไปในทางค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอันเป็นภาษีคนละประเภทกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำให้การของจำเลยจึงมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ดังนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมุ่งในทางค้าหรือหากำไรนั้น ถือว่าจำเลยได้รับแล้ว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2535 สำหรับเงินได้จากการขายที่ดินตามวิธีการที่กำหนดในมาตรา 48 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 บัญญัติว่า "การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น..." ซึ่ง ป.รัษฎากร มาตรา 32 ได้กำหนดขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้วโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงมีอำนาจดำเนินการไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อาจนำระยะเวลาที่กำหนดให้วินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ดังกล่าวมาใช้ได้
มาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรที่ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด ขอคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันยื่นรายการก็สืบเนื่องมาจากแม้ผู้ยื่นจะยื่นเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อผู้ยื่นไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจึงต้องคืนให้ ส่วนเรื่องดอกเบี้ย มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 2 กำหนดไว้ว่า การคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนภาษีอากรนั้น จะคิดให้ต่อเมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการหรือคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือภายในเวลาที่ได้รับการขยายหรือเลื่อนให้ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับภาษีอากรที่ชำระไปแล้วคืนตามมาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ย
โจทก์อ้างว่าอสังหาริมทรัพย์จำนวน 4 แปลง โจทก์ได้มาตั้งแต่ปี 2525 และขายไปในปี 2535 โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จำเลยให้การว่า โจทก์ซื้อที่ดิน 4 แปลงมาในราคา 4,000,000 บาท แล้วขายไปในราคา 30,254,882 บาท และตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่าขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นโกดังก่ออิฐถือปูน ซื้อเพื่อใช้เป็นที่สร้างคลังเก็บสินค้า แสดงว่าโจทก์ผู้ซื้อมีเจตนาใช้ประกอบกิจการเป็นโกดังเก็บสินค้ามิได้มีเจตนาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งยังยื่นแบบแสดงรายการกำหนดค่ารายปีและชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (5) คือ อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ โจทก์มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะและต้องนำเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นๆ ของโจทก์ เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินทั้ง 4 แปลงมาโดยมิได้มุ่งในทางค้าหรือหากำไรให้เห็นโดยชัดแจ้ง คำให้การของจำเลยมุ่งแสดงข้อเท็จจริงให้เห็นว่าโจทก์ขายที่ดินไปในทางค้าหรือหากำไรซึ่งจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอันเป็นภาษีคนละประเภทกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำให้การของจำเลยจึงมิได้ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ดังนั้น ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมุ่งในทางค้าหรือหากำไรนั้น ถือว่าจำเลยได้รับแล้ว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำฟ้องว่าโจทก์ได้ที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2535 สำหรับเงินได้จากการขายที่ดินตามวิธีการที่กำหนดในมาตรา 48 (4) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 บัญญัติว่า "การใดที่กฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นคณะกรรมการ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น..." ซึ่ง ป.รัษฎากร มาตรา 32 ได้กำหนดขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้วโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงมีอำนาจดำเนินการไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อาจนำระยะเวลาที่กำหนดให้วินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ดังกล่าวมาใช้ได้
มาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีอากรที่ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด ขอคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันยื่นรายการก็สืบเนื่องมาจากแม้ผู้ยื่นจะยื่นเกินกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่เมื่อผู้ยื่นไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจึงต้องคืนให้ ส่วนเรื่องดอกเบี้ย มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 2 กำหนดไว้ว่า การคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้รับคืนภาษีอากรนั้น จะคิดให้ต่อเมื่อได้มีการยื่นแบบแสดงรายการหรือคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือภายในเวลาที่ได้รับการขยายหรือเลื่อนให้ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับภาษีอากรที่ชำระไปแล้วคืนตามมาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์มรดก: การจำแนกประเภททรัพย์สินและระยะเวลาการถือครอง
เงินได้จากการขายที่ดินทั้งห้าแปลงตามฟ้อง เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ของกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในชื่อกองมรดกของผู้ตายตามมาตรา 57 ทวิ วรรคสอง เมื่อกองมรดกมีเงินได้ตามมาตรา 40(8) จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ผู้จ่ายเงินได้จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5)(ก) โดยคำนวณตามมาตรา 48(4)(ก) สำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา หรือหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(5)(ข) โดยคำนวณตามมาตรา 48(4)(ข) สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นแล้วแต่กรณี แล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
สำหรับที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนรับโอนมาจาก อ. ตามคำพิพากษา โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 แล้วจดทะเบียนโอนขายให้แก่ บริษัท ค. ในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มาดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินมิใช่เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข) ส่วนจำนวนปีที่ถือครองตามมาตรา 48(4) วรรคท้าย ระบุว่าหมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ การที่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวตามมาตรา 50(5)(ข) ประกอบมาตรา 48(4)(ข) และนับจำนวนปีที่ถือครองเพียง 1 ปี จึงถูกต้องแล้ว
ส่วนที่ดินที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีอยู่แล้วก่อนตาย เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) ประกอบมาตรา 48(4)(ก) ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยนำเงินได้จากการขายที่ดินมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48(4)(ก) และคิดจำนวนปีที่ถือครองนับตั้งแต่ปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการคำนวณตรงตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่เกี่ยวกับภาษีในส่วนนี้จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจดทะเบียนรับโอนมาจาก อ. ตามคำพิพากษา โดยประเภทของการจดทะเบียนระบุว่าเป็นการขายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 แล้วจดทะเบียนโอนขายให้แก่ บริษัท ค. ในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทได้มาหลังการตายของเจ้ามรดก เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินที่กองมรดกได้มาดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินมิใช่เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกตามที่ระบุในมาตรา 48(4)(ก) ซึ่งต้องเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้มีเงินได้อันเป็นมรดกหรือได้รับการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่กองมรดกได้มาโดยทางอื่นตามมาตรา 48(4)(ข) ส่วนจำนวนปีที่ถือครองตามมาตรา 48(4) วรรคท้าย ระบุว่าหมายถึงจำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 จึงต้องนับจำนวนปีที่ถือครองตั้งแต่ปี 2539 หาใช่นับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ การที่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวตามมาตรา 50(5)(ข) ประกอบมาตรา 48(4)(ข) และนับจำนวนปีที่ถือครองเพียง 1 ปี จึงถูกต้องแล้ว
ส่วนที่ดินที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีอยู่แล้วก่อนตาย เมื่อผู้จัดการมรดกขายที่ดินดังกล่าวไป เงินได้จากการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกซึ่งต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5)(ก) ประกอบมาตรา 48(4)(ก) ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยนำเงินได้จากการขายที่ดินมาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48(4)(ก) และคิดจำนวนปีที่ถือครองนับตั้งแต่ปีที่ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการคำนวณตรงตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว โจทก์จึงมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิที่เกี่ยวกับภาษีในส่วนนี้จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) หรือไม่นั้นมุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่าเหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วยและเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางมัดจำผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้นที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติหาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตามแต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว และลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48(4)(ข) ไม่ได้เช่นกัน อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 46 ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8(42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 29 เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วยย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความเพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5677/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อจัดสรรเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
เงินได้จากการขายที่ดินโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) หรือไม่นั้น มุ่งหมายถึงเจตนาในการได้มาเป็นข้อสำคัญ และพิจารณาถึงพฤติการณ์ในระหว่างที่ผู้นั้นถือครองอยู่ก่อนที่จะขายและขณะที่ขายเป็นส่วนประกอบด้วย ที่ดินที่โจทก์ได้มาทั้งสามแปลงนั้นเป็นที่ดินแปลงใหญ่หลังจากนั้นก็ได้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็นแปลงย่อยมากกว่า 70 แปลง โดยที่ดินทุกแปลงต่างมีถนนตัดผ่าน ลักษณะที่โจทก์กระทำเช่นนั้นย่อมมิใช่จุดประสงค์ที่จะนำที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยเพื่อไปทำนา โจทก์ยอมรับว่า เหตุที่กระทำไปก็เพื่อจะนำที่ดินไปขายง่ายขึ้น อีกทั้งโจทก์ยังได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีกหลายแปลงเพื่อนำไปจัดสรรขายและให้ผู้อื่นเช่าทำนา แสดงให้เห็นว่าโจทก์หาได้มีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวไม่ แต่ได้ประกอบอาชีพเป็นผู้จัดสรรที่ดินไว้เพื่อขายด้วย และเมื่อตรวจดูสัญญาซื้อขายที่ดินก็มีข้อสัญญาชี้ชัดให้เห็นได้ว่าการขายที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นเชิงธุรกิจโดยมีการวางเงินมัดจำ ผ่อนชำระเป็นงวด และต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนของค่าที่ดินที่ค้างชำระจนกว่าจะชำระหมด และแม้ว่าปัจจุบันนี้โจทก์ยังถือครองที่ดินอยู่หลายแปลงก็ตาม เมื่อโจทก์มีที่ดินจำนวนมาก ก็เป็นการยากที่จะขายให้หมดในชั่วระยะเวลาอันสั้น ที่ดินแปลงใดอยู่ในที่ทำเลดีกว่าก็ย่อมขายได้ก่อน ที่ดินเปล่าที่อยู่ห่างไกลออกไปย่อมขายได้ช้ากว่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติ หาได้บ่งชี้ให้เห็นว่าโจทก์เก็บที่ดินดังกล่าวไว้เพื่อทำนา โจทก์เลิกทำนามานานร่วม 20 ปีแล้ว ประกอบกับในระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินในปีภาษีที่ถูกประเมินนั้น โจทก์ยังประกอบการค้าโดยจดทะเบียนการค้าประเภทอสังหาริมทรัพย์อยู่ ดังนั้น แม้โจทก์จะเป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานนับสิบปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงการได้มาที่ดินทั้งสามแปลงของโจทก์ กับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวและลักษณะในการขายที่ดินเข้าด้วยกันแล้ว เงินได้ที่โจทก์ได้มาจากการขายที่ดินจึงเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในการค้าหรือกำไรในการคำนวณภาษีเงินได้ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เพราะเงินได้ของโจทก์ที่ได้รับมามิใช่เป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 48 (4) และกรณีเช่นนี้โจทก์จะหักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ 165)พ.ศ.2529 ตามมาตรา 48 (4) (ข) ไม่ได้เช่นกัน
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ป.รัษฏากร มาตรา 46 ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความ เพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 61 ตาม ป.รัษฏากร มาตรา 46 ประกอบกับ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (42) นั้น ปัญหาข้อนี้โจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายในลักษณะจัดสรรจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าหรือกำไร ทั้งโจทก์ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ย่อมเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11
โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไว้แล้ว แต่เนื่องจากปัญหาของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายซึ่งยุ่งยากต่อการตีความ เพราะแม้แต่ความเห็นของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีและเจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมของจำเลยยังขัดกันอยู่ โจทก์ในฐานะราษฎรธรรมดาผู้ไม่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จึงยากต่อการเข้าใจข้อกฎหมายดังกล่าวได้จึงเป็นเหตุให้โจทก์ยื่นเสียภาษีไว้ผิดพลาดไปโดยไม่มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง อีกทั้งโจทก์ก็ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมาตั้งแต่ต้น กรณีจึงมีเหตุสมควรให้งดเบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าให้แก่โจทก์