คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุบลรัตน์ ลุยวิกภัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13564/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดระยะเวลาปรับรายวันสำหรับก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65 วรรคสอง กำหนดให้ปรับเป็นรายวันตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง หมายความว่าจนกว่าจำเลยจะได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากพนักงานท้องถิ่น หรือจนกว่าจำเลยจะดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ เมื่อปรากฏว่า อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ครบกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 คดีนี้จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนและอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต่อมาคณะกรรมการมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลย โดยจำเลยได้รับผลการพิจารณาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นในวันที่ 27 พฤษภาคม 2550 ดังนั้น ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตย่อมสิ้นสุดลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยได้รับผลการพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หลังจากนั้นเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง การกระทำส่วนนี้ของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42, 66 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 21, 65 วรรคสอง อีกต่อไป ดังนั้น ค่าปรับรายวันในส่วนที่จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงนับแต่วันที่ 18 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2550 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7910/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายฉลากสินค้าขององค์การของรัฐที่ขัดต่อกฎหมายงบประมาณและส่อเจตนาทุจริต เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทองค์การของรัฐบาล โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ผู้ลงนามในสัญญา และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการจำเลยที่ 1 ผู้ลงนามขยายอายุสัญญา ทำสัญญาซื้อขายฉลากสินค้าประเภทนมเปรี้ยว ซึ่งกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องซื้อฉลากสินค้าจำนวน 57,600,000 ชิ้น ภายในกำหนดเวลา 7 ปี ปีละไม่น้อยกว่า 400,000 ชิ้น เป็นการทำสัญญาผูกพันซื้อสินค้าจากโจทก์ยาวนานต่อเนื่องถึง 7 ปี โดยไม่ใช้วิธีการพิเศษอันเป็นการไม่ดำเนินการตามข้อบังคับ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ทำให้เกิดความขัดแย้งผลประโยชน์ระหว่างเอกชนอื่นกับจำเลยที่ 1 และทำให้ไม่มีการเสนอราคาแข่งขัน ทั้งจำนวนฉลากที่สั่งซื้อก็มากกว่าจำนวนสินค้านมเปรี้ยวที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายได้อยู่มาก ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตประสงค์อามิสสินจ้างในการทำสัญญา ย่อมกระทบถึงผลประโยชน์ของรัฐ ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150