พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7220/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดเว้นเงินเพิ่มภาษีเนื่องจากความเข้าใจผิดและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (9) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 6) เรื่อง กำหนดระเบียบการยกเว้นเงินได้พึงประเมิน ประเภทการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2521 ได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้แสดงรายการเกี่ยวกับการขายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้ไว้ในแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามที่อธิบดีกำหนดด้วย แต่ปรากฏว่าจำเลยมิได้ปฎิบัติตามข้อกำหนดยกเว้นดังกล่าว ซึ่งเห็นได้แจ้งชัดว่าเป็นเรื่องที่จำเลยไม่รู้ถึงประกาศข้างต้น หาใช่จำเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ยอมชำระค่าภาษีไม่ เพราะหากจำเลยเพียงแต่ปฎิบัติตามประกาศดังกล่าวแล้ว จำเลยก็ได้รับยกเว้นภาษีในเรื่องนี้อยู่แล้ว การไม่ปฎิบัติของจำเลยส่อแสดงเด่นชัดว่า จำเลยมิได้จงใจหลีกเลี่ยงภาษีอากรแต่อย่างใดกรณีจึงสมควรงดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ส่วนรายได้จากค่าเช่าอาคารเป็นเงินจำนวน 14,140 บาทนั้น แม้จำเลยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับปี 2523 แล้วจำเลยละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติก็ดี แต่เมื่อปรากฎว่าในชั้นตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี จำเลยได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งภาษีเงินได้จากค่าเช่าอาคารมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กรณีเห็นควรให้งดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า ให้งดเงินเพิ่มตามมาตรา 26 แห่ง ป.รัษฎากร จำนวน 1,645,967.40 บาท จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินภาษีอากรและเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เท่านั้น และตามมาตรา 27กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อเงินภาษีอากรที่จำเลยต้องรับผิดมีจำนวน 822,983.70 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 คิดเป็นเงินจำนวน 164,596.74 บาท รวมเป็นเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระทั้งหมดจำนวน 987,580.44 บาท แต่โจทก์ได้รับชำระเงินภาษีอากรไปแล้วจำนวน 400,000 บาท ดังนั้น จึงคงเหลือเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเป็นเงินจำนวน 587,580.44 บาท ที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยชำระเงินภาษีอากรจำนวน 916,773.92บาท แก่โจทก์ จึงไม่ถูกต้อง แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
ส่วนรายได้จากค่าเช่าอาคารเป็นเงินจำนวน 14,140 บาทนั้น แม้จำเลยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับปี 2523 แล้วจำเลยละเลยไม่ปฎิบัติหน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติก็ดี แต่เมื่อปรากฎว่าในชั้นตรวจสอบภาษีอากรรายนี้ของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี จำเลยได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งภาษีเงินได้จากค่าเช่าอาคารมีจำนวนเพียงเล็กน้อย กรณีเห็นควรให้งดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 26
ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยไว้แล้วว่า ให้งดเงินเพิ่มตามมาตรา 26 แห่ง ป.รัษฎากร จำนวน 1,645,967.40 บาท จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินภาษีอากรและเงินเพิ่มตามมาตรา 27 เท่านั้น และตามมาตรา 27กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่ง เมื่อเงินภาษีอากรที่จำเลยต้องรับผิดมีจำนวน 822,983.70 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 20 คิดเป็นเงินจำนวน 164,596.74 บาท รวมเป็นเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระทั้งหมดจำนวน 987,580.44 บาท แต่โจทก์ได้รับชำระเงินภาษีอากรไปแล้วจำนวน 400,000 บาท ดังนั้น จึงคงเหลือเงินภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเป็นเงินจำนวน 587,580.44 บาท ที่ศาลภาษีอากรพิพากษาให้จำเลยชำระเงินภาษีอากรจำนวน 916,773.92บาท แก่โจทก์ จึงไม่ถูกต้อง แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการมีอำนาจในการฟ้องคดีของผู้นำเสียภาษี
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2524 และชำระภาษีเงินได้บางส่วนแล้วก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโจทก์ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีก 2 เท่าตามมาตรา 26 จึงเป็นการไม่ชอบ และการที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เต็มจำนวนโดยมิได้หักภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระไว้แล้วออกเสียก่อน ทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ซ้ำซ้อน โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน
โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2523 คงยื่นแต่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2524 แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ไปแล้วก็ตามภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม หรือทำการประเมินใหม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20และ 21 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีและอื่น ๆ สำหรับปี 2523,2524 ไปส่งให้เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ประจำปี 2523 และ 2524 ของโจทก์ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ตามมาตรา 25 และมาตรา 21 ตามลำดับซึ่งทั้งสองกรณีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่าใด.
โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2523 คงยื่นแต่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2524 แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ไปแล้วก็ตามภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม หรือทำการประเมินใหม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20และ 21 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีและอื่น ๆ สำหรับปี 2523,2524 ไปส่งให้เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ประจำปี 2523 และ 2524 ของโจทก์ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ตามมาตรา 25 และมาตรา 21 ตามลำดับซึ่งทั้งสองกรณีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่าใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำซ้อนและการมีอำนาจฟ้องคดีภาษี เมื่อการประเมินถูกต้องตามกฎหมายและไม่อุทธรณ์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2524และชำระภาษีเงินได้บางส่วนแล้วก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมิน โจทก์ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีก 2 เท่าตามมาตรา 26 จึงเป็นการไม่ชอบ และการที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เต็มจำนวนโดยมิได้หักภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระเงินไว้แล้วออกเสียก่อน ทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ซ้ำซ้อนโจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2523 คงยื่นแต่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2524 แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ไปแล้วก็ตาม ภายใน5 ปีนับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม หรือทำการประเมินใหม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,20 และ 21 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีและอื่น ๆ สำหรับปี 2523,2524 ไปส่งให้เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ประจำปี 2523และ 2524 ของโจทก์ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ตามมาตรา 25 และมาตรา 21 ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองกรณีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำซ้อนและสิทธิในการฟ้องคดีของผู้นำเสียภาษี โดยไม่ต้องรอการอุทธรณ์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2524 และชำระภาษีเงินได้บางส่วนแล้วก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโจทก์ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 2 ประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีก 2 เท่าตามมาตรา 26 จึงเป็นการไม่ชอบ และการที่จำเลยประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้เต็มจำนวนโดยมิได้หักภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระไว้แล้วออกเสียก่อน ทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ซ้ำซ้อน โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน
โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2523 คงยื่นแต่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2524 แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ไปแล้วก็ตามภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม หรือทำการประเมินใหม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20และ 21 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีและอื่น ๆ สำหรับปี 2523, 2524 ไปส่งให้เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ประจำปี 2523 และ 2524 ของโจทก์ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ตามมาตรา 25 และมาตรา 21 ตามลำดับซึ่งทั้งสองกรณีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่าใด
โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2523 คงยื่นแต่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2524 แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้ทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ไปแล้วก็ตามภายใน 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม หรือทำการประเมินใหม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 20และ 21 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีพร้อมหลักฐานเอกสารประกอบการลงบัญชีและอื่น ๆ สำหรับปี 2523, 2524 ไปส่งให้เจ้าพนักงานประเมินเพื่อตรวจสอบ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตาม เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ประจำปี 2523 และ 2524 ของโจทก์ตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ตามมาตรา 25 และมาตรา 21 ตามลำดับซึ่งทั้งสองกรณีโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงหมดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นจำนวนเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4107/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า เจ้าหน้าที่ประเมินโดยอาศัยพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ปรากฏได้ แม้ผู้เสียภาษีมิได้ยื่นรายการ
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีรายรับจากการสร้างตึกแถวและทาวน์เฮ้าส์ จำหน่าย โจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชี 2522-2524เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินราคาขายตามที่คำนวณจากผู้ซื้อที่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งใกล้เคียงกับราคาที่คำนวณตามหลักเกณฑ์การก่อสร้างของกรมโยธาธิการ เจ้าพนักงานประเมินจึงนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณรายรับสำหรับการขายของโจทก์รายที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ การคำนวณรายรับดังกล่าวจึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามกฎหมายและเหตุผลแล้ว หาเป็นการประเมินโดยไม่ได้อาศัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานดัง ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 และ 24 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่ โจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นตามกำหนดที่บัญญัติไว้ในมาตรา 68 แห่ง ป.รัษฎากร มูลหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลย่อมเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่นั้น ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่าของจำนวนเงินภาษีอากร ตามมาตรา 26 ก่อนมีการแก้ไข (พ.ศ. 2525) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะมูลหนี้ภาษีเกิดจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษที่ไม่ใช่รายจ่ายทางภาษี และการไม่มีเจตนาสุจริตในการเสียภาษี ทำให้ไม่ได้รับลดเงินเพิ่ม
แม้เงินบำเหน็จพิเศษที่ธนาคารโจทก์จ่ายให้พนักงานจะไม่มีลักษณะเป็นเงินกองทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) เพราะมิได้มีการจัดตั้งกองทุน ทั้งไม่มีลักษณะเป็นการจ่ายสมทบเนื่องจากมิได้มีการหักเงินเดือนจากพนักงานมาสมทบก็ตาม แต่เงินบำเหน็จพิเศษนี้ก็เป็นเงินที่โจทก์ยังมิได้จ่ายให้แก่พนักงาน เพราะมีระเบียบห้ามมิให้พนักงานถอน เงินจำนวนนี้ในระหว่างที่เป็นพนักงานอยู่การบันทึกโอนเงินจากบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษเมื่อครบ6 เดือนมาเข้าบัญชีเงินประกันตัวพนักงาน และบันทึกโอนต่อเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงาน จึงมีผลเท่ากับเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริงเงินบำเหน็จพิเศษจึงมีลักษณะเป็นเงินสำรองต่าง ๆ ตามมาตรา65 ตรี (1) ซึ่งไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ โจทก์จึงนำเงินบำเหน็จพิเศษมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มไว้แล้วถึงแม้จะมิได้นำมา กล่าว ในคำขอท้ายฟ้อง ก็ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลงดหรือลดเงินเพิ่มด้วยแล้ว การที่โจทก์ออกระเบียบว่าด้วยบำเหน็จและระเบียบว่าด้วยหลักประกันตัวพนักงาน ด้วยวิธีกำหนดให้เงินบำเหน็จพิเศษและเงินประจำตัวมีจำนวนเท่ากัน เพื่อประโยชน์ที่จะอาศัยวิธีการทางบัญชีนำเงินบำเหน็จพิเศษซึ่งมิได้มีการจ่ายมาเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิเป็นผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยกว่าความเป็นจริงนั้น เรียกไม่ได้ว่าโจทก์และเจ้าพนักงานประเมินมีความเห็นในการตีความกฎหมายต่างกันโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขเงินเพิ่มภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26 โดยคำนึงถึงเจตนาผู้เสียภาษี
ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับการเสียเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 26 ได้(อ้างฎีกาที่ 989-993/2498) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มขึ้น 2 เท่า ของจำนวนเงินภาษีอากร ดังนี้ เมื่อได้ความว่าโจทก์มีเจตนาจะเสียภาษีเงินได้ของตนให้น้อยลงกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายโดยผลักภาระการเสียภาษีเงินได้ของตนให้บริษัทที่ตนตั้งขึ้นเป็นผู้ชำระแทนมิได้ตั้งใจจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษีเงินได้เสียทีเดียว ศาลย่อมมีอำนาจให้โจทก์เสียเงินเพิ่มเพียง 1 เท่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้: อายุความ, การประเมิน, การยึดทรัพย์, และเงินเพิ่ม กรณีมิได้ยื่นรายการ
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องแล้วว่ามีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นรวมอยู่ในเงินได้สุทธิที่เจ้าพนักงานประเมิน ของจำเลยประเมินเรียกเก็บจากโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 47 แต่ละข้อมีจำนวนเท่าใด ก็ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะหนังสือแจ้งการประเมินของจำเลยก็มิได้แยกประเภทเงินได้ให้โจทก์ทราบ โจทก์จึงไม่สามารถจะบรรยายฟ้องได้ถูกต้อง
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์ขึ้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณภาษีเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องคำนึงถึงว่าเงินได้สุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ, 43, 44, 45, 46 และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42 (4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่น พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจาคค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษี พ.ศ.2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้
โจทก์ไม่เคยยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เป็นเวลา 10 ปี ซึ่งตลอดเวลาดังกล่าวโจทก์มีเงินได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ย่อมเป็นการยากที่เจ้าพนักงานประเมินจะแยกประเภทเงินได้พึงประเมินของโจทก์ว่าอยู่ประเภทใด และโจทก์เองก็ไม่อาจชี้แจงได้ทั้งหมด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินย่อมใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 กำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์ขึ้น โดยถือเอาเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของโจทก์มาเป็นหลักในการประเมินได้ แต่การประเมินตามมาตรา 49 นี้ จะใช้จำนวนเงินได้สุทธิที่กำหนดขึ้นดังกล่าวมาคิดคำนวณภาษีเอากับโจทก์เสียทีเดียวหาได้ไม่ จะต้องคำนึงถึงว่าเงินได้สุทธินั้นอยู่ในประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หรือไม่มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 หรือไม่ ทั้งยังต้องหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ, 43, 44, 45, 46 และ 47 เสียก่อน
เงินค่าขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้น ตามมาตรา 42 (4) ส่วนเงินที่บริษัท ด. ให้โจทก์เพื่อที่จะได้รับทำการวางท่อน้ำประปา เนื่องจากโจทก์เป็นแม่ยายของผู้มีอิทธิพลในวงการเมืองและวงราชการ ถือว่าเป็นเงินได้จากการอื่น พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 สำหรับเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการใช้หนี้เงินยืม ไม่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยใช้วิธีประเมินตามมาตรา 49 และถือหลักการพิจารณาจากเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในความครอบครองของโจทก์ ดังนั้น ยอดเงินบริจาคค่าการกุศลอันเป็นเงินที่โจทก์จ่ายออกไปแล้ว จึงเอามากำหนดเป็นเงินได้สุทธิไม่ได้
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินสำหรับปีภาษี พ.ศ.2497 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นภายในกำหนดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่จะเรียกเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ ย่อมบังคับได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2498 จำเลยจะต้องเรียกร้องภาษีเอากับโจทก์ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2508 แต่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งและเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้สำหรับปีภาษี 2497 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2508 เกิน 10 ปีแล้ว สิทธิเรียกร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 167
เมื่อโจทก์ไม่เคยยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 23 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ 1 เท่าของจำนวนภาษี จึงชอบด้วยมาตรา 26 แล้ว มิใช่ว่าจะต้องรอให้หาเงินได้สุทธิที่แท้จริงเสียก่อนจึงจะพิจารณาปรับเพิ่มภาษีเอาแก่โจทก์ได้ เพราะการเสียเงินเพิ่ม 1 เท่าดังกล่าว คิดจากจำนวนเงินภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องประเมินใหม่เท่านั้น สำหรับเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 นั้น ก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่นำเงินภาษีไปชำระภายใน 30 วัน ตามหนังสือแจ้งการประเมิน จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ได้ และเงินภาษีที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 ซึ่งจำเลยที่ 6 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989-993/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานประเมินภาษีและการลดหย่อนเงินเพิ่มตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี
คำว่า "อาจต้องรับผิดเสียเงินอีก ฯลฯ" ตามความใน มาตรา 23,26 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น เป็นเรื่องที่กฎหมาย กำหนดให้ใช้ดุลพินิจหนักเบาตามควรแก่กรณีเป็นเรื่องๆไม่ว่าควรเรียกภาษีเพิ่มถึงเต็มพิกัดหรือลดหย่อนลงเพียงใด เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเป็นจำนวนเกินสมควรแก่พฤติการณ์ที่ผู้เสียควรต้องรับผิดแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดลดให้ตามที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989-993/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ดุลยพินิจในการประเมินภาษีเพิ่มเติม กรณีผู้เสียภาษีแสดงรายการไม่ถูกต้องหรือไม่ยื่นรายการ
คำว่า "อาจต้องรับผิดเสียเงินอีก ฯลฯ " ตามความใน ม.23 ,26 แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเป็นเรื่องที่ ก.ม.กำหนดให้ใช้ดุลยพินิจหนักเบาตามควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไม่ว่าควรเรียกภาษีเพิ่มถึงเต็มพิกัดหรือลดหย่อนลงเพียงใดเมื่อปรากฎว่าเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเป็นจำนวนเกินสมควรแก่พฤติการณ์ที่ผู้เสียควรต้องรับผิดแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดลงให้ตามที่เห็นสมควรได้