พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าหนี้ทราบถึงหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้
ปัญหาที่ว่า หนี้ที่ขอรับชำระเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้น เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ดีถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(2) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิใช่เป็นประเด็นที่ได้เคยยกขึ้นว่ากันมาแต่แรก เจ้าหนี้ผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เกิดจากการให้กู้ยืมหลังจากรู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
การที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารเจ้าหนี้ 691,591.43 บาทจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้จนธนาคารเจ้าหนี้ต้องหักเงินในบัญชีเงินฝากประจำซึ่งเป็นหลักประกันตามข้อตกลงทั้งหมดจำนวน 400,118.98 บาท ชำระหนี้แล้วยังขาดอยู่อีกถึง 291,472.54 บาท หลังจากนั้นอีก 7 วัน ธนาคารเจ้าหนี้ให้จำเลยที่ 2 กู้เงินอีกเป็นจำนวนถึง 403,000 บาท โดยเพียงแต่ให้จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งหมดคืนภายใน 2 วันนับแต่วันกู้โดยไม่มีหลักประกันอย่างอื่น นอกจากตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนี้ ถือว่าเป็นหนี้ที่ธนาคารเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่เกิดจากการให้กู้ยืมหลังจากลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
การที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารเจ้าหนี้ 691,591.43 บาท จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้จนธนาคารเจ้าหนี้ต้องหักเงินในบัญชีเงินฝากประจำซึ่งเป็นหลักประกันตามข้อตกลง ทั้งหมดจำนวน 400,118.98 บาท ชำระหนี้แล้วก็ยังขาดอยู่อีกถึง 291,472.54 บาท หลังจากนั้นอีก 7 วัน ธนาคารเจ้าหนี้ให้จำเลยที่ 2 กู้เงินอีกเป็นจำนวนถึง 403,000 บาท โดยเพียงแต่ให้จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งหมดคืนภายใน 2 วันนับแต่วันกู้โดยไม่มีหลักประกันอย่างอื่นนอกจากตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนี้ ถือว่าเป็นหนี้ที่ธนาคารเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 94(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ให้กู้ยืมเงินลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว สิทธิในการรับชำระหนี้เป็นโมฆะตามกฎหมายล้มละลาย
คดีได้ความว่า เมื่อลูกหนี้กู้ครั้งแรก จำนวนเงิน 21,000 บาท นั้นลูกหนี้ได้ออกเช็คฉบับหนึ่งให้ไว้อีกด้วยต่อมาเช็คฉบับนั้นขึ้นเงินไม่ได้ เจ้าหนี้จึงคืนเช็คนั้นให้แก่ลูกหนี้ไปโดยมิได้รับชำระหนี้เลยต่อมาอีกประมาณ 1 ปีเศษ ลูกหนี้ที่ 2 ได้ขอกู้เงินเพิ่มอีก 19,000 บาท เจ้าหนี้ก็ให้กู้ไป ต่อมากู้อีก15,000 บาท เจ้าหนี้ให้กู้ไปอีก ซึ่งลูกหนี้ก็ออกเช็คให้ไว้ทั้งสองคราวโดยไม่ลงวันที่ จะออกเช็คเมื่อไรและกู้กันเมื่อไร เจ้าหนี้ก็จำวันไม่ได้ ทั้งๆ ที่เงินกู้ครั้งแรกยังไม่ได้รับชำระนอกจากนี้ยังมีเจ้าหนี้อื่นอีกมากมายซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จนถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายพฤติการณ์แสดงว่าที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงิน 2 คราวหลังนี้ เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนเงิน 34,000 บาทนี้ได้ ตามมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 295/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินแก่ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องหนี้
คดีได้ความว่า เมื่อลูกหนี้กู้ครั้งแรก จำนวนเงิน 21,000 บาทนั้น ลูกหนี้ได้ออกเช็คฉบับหนึ่งให้ไว้อีกด้วย ต่อมาเช็คฉบับนั้นขึ้นเงินไม่ได้เจ้าหน้าที่จึงคืนเช็คนั้นให้แก่ลูกหนี้ไปโดยมิได้รับชำระหนี้เลย ต่อมาอีกประมาณ 1 ปีเศษ ลูกหนี้ที่ 2 ได้ขอกู้เงินเพิ่มอีก 19,000 บาท เจ้าหนี้ก็ให้กู้ไป ต่อมากู้อีก 15,000 บาท เจ้าหนี้ให้กู้ไปอีกซึ่งลูกหนี้ก็ออกเช็คให้ไว้ทั้งสองคราวโดยไม่ลงวันที่ จะออกเช็คเมื่อไรและกู้กันเมื่อไร เจ้าหนี้ก็จำวันไม่ได้ทั้ง ๆ ที่เงินกู้ครั้งแรกยังไม่ได้รับชำระ นอกจากนี้ยังมีเจ้าหนี้อื่นอีกมากมายซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้จนถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย พฤติการณ์แสดงว่าเจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงิน 2 คราวหลังนี้เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนวนเงิน 34,000 บาทนี้ได้ ตามมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282-1288/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต มาตรา 94(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย: การยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้เมื่อทราบภาวะล้มละลาย และการโอนหนี้
ความหมายของ มาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น ไม่จำเป็นจะต้องปรากฏว่ามีการสมยอมกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในการกระทำหนี้ขึ้น เพียงแต่ว่าในเวลาที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำหนี้ขึ้น เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ขอรับชำระหนี้นั้นไม่ได้
ถ้าหนี้เดิมยังเป็นของผู้โอน ผู้โอนก็ย่อมขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อมีการโอนหนี้ดังกล่าวนี้แล้ว ผู้รับโอนย่อมขอรับชำระหนี้นั้นได้ เพราะเป็นเพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ขอรับชำระหนี้ กรณีเช่นนี้ ไม่เข้าตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(2) เพราะเป็นหนี้เดิมที่โอนมา ไม่ใช่เป็นหนี้อันเจ้าหนี้ได้ยอมให้ลูกหนี้(ผู้ล้มละลาย) กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่19/2502)
ถ้าหนี้เดิมยังเป็นของผู้โอน ผู้โอนก็ย่อมขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อมีการโอนหนี้ดังกล่าวนี้แล้ว ผู้รับโอนย่อมขอรับชำระหนี้นั้นได้ เพราะเป็นเพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ขอรับชำระหนี้ กรณีเช่นนี้ ไม่เข้าตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(2) เพราะเป็นหนี้เดิมที่โอนมา ไม่ใช่เป็นหนี้อันเจ้าหนี้ได้ยอมให้ลูกหนี้(ผู้ล้มละลาย) กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่19/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282-1288/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตมาตรา 94(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย: การรับชำระหนี้เมื่อเจ้าหนี้รู้ถึงสถานะหนี้สินล้นพ้นตัว และการโอนหนี้
ความหมายของมาตรา 94 (2) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น ไม่จำเป็นจะต้องปรากฏว่ามีการสมยอมกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ในการกระทำหนี้ขึ้น เพียงแต่ว่าในเวลาที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำหนี้ขึ้น เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ขอรับชำระหนี้นั้นไม่ได้
ถ้าหนี้เดิมยังเป็นของผู้โอน ผู้โอนก็ย่อมขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อมีการโอนหนี้ดังกล่าวนี้แล้ว ผู้รับโอนย่อมขอรับชระหนี้นั้นได้ เพราะเป็นเพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ขอชำระหนี้ กรณีเช่นนี้ ไม่เข้าตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (2) เพราะเป็นหนี้เดิมที่โอนมา ไม่ใช่เป็นหนี้อันเจ้าหนี้ได้ยอมให้ลูกหนี้ (ผู้ล้มละลาย) กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2502)
ถ้าหนี้เดิมยังเป็นของผู้โอน ผู้โอนก็ย่อมขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อมีการโอนหนี้ดังกล่าวนี้แล้ว ผู้รับโอนย่อมขอรับชระหนี้นั้นได้ เพราะเป็นเพียงแต่เปลี่ยนตัวผู้ขอชำระหนี้ กรณีเช่นนี้ ไม่เข้าตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (2) เพราะเป็นหนี้เดิมที่โอนมา ไม่ใช่เป็นหนี้อันเจ้าหนี้ได้ยอมให้ลูกหนี้ (ผู้ล้มละลาย) กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2502)