พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาเอกสารพยานหลักฐาน และการรับฟังเอกสารที่ไม่ได้ส่งให้คู่ความก่อนสืบพยาน
การที่จะส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ เป็นสิทธิของคู่ความไม่ใช่หน้าที่ของศาล แต่การตรวจพิจารณาเปรียบเทียบลายมือชื่อในเอกสารที่คู่ความส่งต่อศาลเป็นการพิจารณาอย่างหนึ่ง ศาลย่อมมีอำนาจทำได้
จำเลยไม่ได้คัดค้านในการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทราบก่อนวันสืบพยาน เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
จำเลยไม่ได้คัดค้านในการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทราบก่อนวันสืบพยาน เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิการตรวจพิสูจน์หลักฐานและการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น ศาลไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องการตรวจพิสูจน์
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งเอกสารสัญญากู้ไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ คงมีคำสั่งในคำร้องของจำเลยฉบับเดียวกันนี้เพียงว่า ให้นำสำนวนคดีที่จำเลยอ้างมาผูกรวมไว้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยจนจำเลยแถลงหมดพยานไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา โดยไม่มีฝ่ายใดหยิบยกเรื่องการตรวจพิสูจน์เอกสารขึ้นเพื่อการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกเลยดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้สละแล้วซึ่งการขอให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารและการนำสืบโดยผู้ชำนาญการพิเศษ ทั้งถือได้ว่าการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้เสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยยกเอาข้อที่ตนได้สละ และมิได้เป็นข้อที่ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นมาเป็นข้ออุทธรณ์เพื่อขอให้มีการสืบพยานจำเลยในข้อนี้ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ที่แก้ไขใหม่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิขอตรวจพิสูจน์หลักฐาน และดุลพินิจศาลในการตรวจพิสูจน์เอกสาร
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งเอกสารสัญญากู้ไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ คงมีคำสั่งในคำร้องของจำเลยฉบับเดียวกันนี้เพียงว่า ให้นำสำนวนคดีที่จำเลยอ้างมาผูกรวมไว้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยจนจำเลยแถลงหมดพยานไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา โดยไม่มีฝ่ายใดหยิบยกเรื่องการตรวจพิสูจน์เอกสารขึ้นเพื่อการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกเลยดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้สละแล้วซึ่งการขอให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารและการนำสืบโดยผู้ชำนาญการพิเศษ ทั้งถือได้ว่าการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้เสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยยกเอาข้อที่ตนได้สละ และมิได้เป็นข้อที่ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นมาเป็นข้ออุทธรณ์เพื่อขอให้มีการสืบพยานจำเลยในข้อนี้ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ที่แก้ไขใหม่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น้ำหนักพยานหลักฐาน: พยานวัตถุ (ลายมือชื่อ) มีน้ำหนักมากกว่าพยานบุคคลในการพิสูจน์ความถูกต้องของพินัยกรรม
พยานผู้เชี่ยวชาญนั้นให้ความเห็นตามหลักวิชาของตน ใช่ว่าศาลจะรับฟังตามความเห็นทุกกรณีไป ศาลย่อมใคร่ครวญความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประกอบเอกสารที่คู่ความอ้างว่ามีเหตุผลควรเชื่อได้เพียงใด ใช่ว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไรศาลรับฟังตามนั้นทุกกรณีไปไม่ เช่นเดียวกับประจักษ์พยานของโจทก์ เมื่ออ้างเป็นพยานรู้เห็นอย่างนั้นอย่างนี้ใช่ว่าศาลจะรับฟังตามนั้นเสมอไป โดยเฉพาะพยานบุคคลกับพยานวัตถุ ลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมนั้น ความถูกต้องของพยานวัตถุถ้าสามารถพิสูจน์และอธิบายได้ ย่อมมีน้ำหนักยิ่งกว่าพยานบุคคล โดยปกติคำของพยานบุคคลขึ้นอยู่กับจิตใจและความทรงจำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย แต่พยานวัตถุเป็นสิ่งไม่มีชีวิต กรณีจึงหาใช่ว่าศาลชอบจะฟังประจักษ์พยานของโจทก์ยิ่งกว่าพยานวัตถุของฝ่ายจำเลยเสมอไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าตรวจลายมือชื่อเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันสัญญา การยอมแพ้ตามคำท้าเมื่อความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นไปตามที่ตกลง
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับลายเซ็นซึ่งจำเลยเซ็นต่อหน้าศาลและในใบแต่งทนายไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยโจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าเชื่อว่าลายมือชื่อในเอกสารเหล่านั้นเป็นของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการสมตามคำท้าของโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2518)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับผลการตรวจลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญตามคำท้าของคู่ความ ถือเป็นการผูกพันตามข้อตกลง
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับลายเซ็นซึ่งจำเลยเซ็นต่อหน้าศาลและในใบแต่งทนายไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยโจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าเชื่อว่าลายมือชื่อในเอกสารเหล่านั้นเป็นของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการสมตามคำท้าของโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดข้อพิพาทที่ดินและการไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วนให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดที่พิพาท: ไม่เป็นประนีประนอม & ผูกพันตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วน ให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ลายมือชื่อและการใช้รายงานผลโดยไม่ต้องเบิกความ
คู่ความตกลงท้ากันให้ส่งเอกสารไปยังกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อโดยมิได้ระบุตัวผู้เชี่ยวชาญไว้ ศาลย่อมส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญของกองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ คนใดคนหนึ่งตรวจพิสูจน์ก็ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 เมื่อผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นเป็นหนังสือ และไม่มีความจำเป็น ศาลก็ไม่ต้องเรียกให้มาเบิกความรับรองหรืออธิบายด้วยวาจาอีก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 เมื่อผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นเป็นหนังสือ และไม่มีความจำเป็น ศาลก็ไม่ต้องเรียกให้มาเบิกความรับรองหรืออธิบายด้วยวาจาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292-1293/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจลายมือเอกสาร, การแก้ไขฟ้อง, บัญชีทรัพย์มรดก, และการรับฟังรายงานผู้เชี่ยวชาญ
การส่งเอกสารไปให้ผู้เชียวชาญกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจพิสูจน์ลายมือนั้น เมื่อผู้เชียวชาญคนใดของกองพิสูจน์หลักฐานทำการตรวจพิสูจน์ได้ผลประการใดและทำรายงานความเห็นส่งมายังศาลแล้ว ก็เป็นการเพียงพอสำหรับปัญหาที่โต้เถียงกัน ไม่จำต้องส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ใหม่ เพราะเป็นการเพียงพอสำหรับปัญหาที่โต้เถียงกัน ไม่จำต้องส่งไปให้ตรวจพิสูจน์ใหม่ เพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำและไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม
ผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปหลายคราว แต่ทำสัญญากู้รวมกันให้โจทก์ไว้ฉบับเดียวตามที่โจทก์นำมาฟ้อง ดังนี้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปกี่คราว คราวละเท่าใด ทำหนังสือกู้ลงวันเดือนปี เพียงแต่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องก็พอ
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คัดค้าน ต้องยื่นคำแถลงคัดค้านไว้
บัญชีทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรค 1 ซึ่งนำมารใช้กับการจัดการมรดกตามมาตรา 1730 ย่อมหมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้น โดยผู้จัดการมรดก ภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หาได้หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกที่ทำยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่
เมื่อคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารและศาลมีคำสั่งตั้งตามขอแล้ว ผู้เชี่ยวชาญนั้นจึงเป็นผู้เชียวชาญที่ศาลตั้ง ศาลย่อมรับฟังรายงานความเห็นของผู้เชียวชาญนั้นได้ โดยไม่ต้องเรียกให้มาสาบานหรือปฏิญาณรับรองรายงานนั้นอีก
ผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปหลายคราว แต่ทำสัญญากู้รวมกันให้โจทก์ไว้ฉบับเดียวตามที่โจทก์นำมาฟ้อง ดังนี้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าผู้ตายกู้เงินโจทก์ไปกี่คราว คราวละเท่าใด ทำหนังสือกู้ลงวันเดือนปี เพียงแต่บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญากู้ฉบับที่นำมาฟ้องก็พอ
เมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้อง ย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากจำเลยจะอุทธรณ์คัดค้าน ต้องยื่นคำแถลงคัดค้านไว้
บัญชีทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรค 1 ซึ่งนำมารใช้กับการจัดการมรดกตามมาตรา 1730 ย่อมหมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งได้จัดทำขึ้น โดยผู้จัดการมรดก ภายหลังที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หาได้หมายถึงบัญชีทรัพย์มรดกที่ทำยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่
เมื่อคู่ความฝ่ายใดร้องขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเอกสารและศาลมีคำสั่งตั้งตามขอแล้ว ผู้เชี่ยวชาญนั้นจึงเป็นผู้เชียวชาญที่ศาลตั้ง ศาลย่อมรับฟังรายงานความเห็นของผู้เชียวชาญนั้นได้ โดยไม่ต้องเรียกให้มาสาบานหรือปฏิญาณรับรองรายงานนั้นอีก