คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 89

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ การล้อมรั้วโดยไม่ตรวจสอบแนวเขตไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา และโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีอาญาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันสร้างรั้วลวดหนามบุกรุกเข้าไปในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา เมื่อคดีนี้และคดีอาญาดังกล่าวเป็นมูลกรณีเดียวกัน คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และเหตุที่จำเลยยกปัญหาเรื่องให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากจำเลยไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง แม้คดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ฟังว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา ตั้งแต่ปี 2524เกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาคงรับฟังเป็นยุติได้แต่เพียงว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทจริงเท่านั้น แต่การครอบครองที่ดินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์จะต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาท ก็เพราะจำเลยซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกันและเป็นที่ดินแปลงใหญ่มาเพื่อขยายโรงงานและที่ดินดังกล่าวมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีก 12 คนภายหลังต่อมาจำเลยจึงได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในขณะที่จำเลยให้ลูกจ้างไปทำรั้วลวดหนามเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดินก็ไม่มีการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินก่อน โดยจำเลยเข้าใจตลอดมาว่าแนวรั้วลวดหนามตรงตามแนวเขตที่ดิน ไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ ทั้งสภาพที่ดินพิพาทก็เป็นที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรกปกคลุมแนวรั้ว ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์อย่างจริงจังแสดงว่าจำเลยไม่ได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของแม้จำเลยจะทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ติดต่อกันนานเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาลภายหลังสืบพยานจำเลยซึ่งนำสืบก่อนเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่สืบพยานก่อนชอบที่จะคัดค้านไว้ แล้วให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังคำพยานเช่นว่ามานั้นแต่คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้โต้แย้งข้อนำสืบของโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หรือจำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้ในสำนวนสำหรับคำแถลงคัดค้านของจำเลยก็เป็นการคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติม มิใช่เป็นคำแถลงโต้แย้งกรณีตามบทมาตรา 89 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องห้ามที่จะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่โจทก์นำสืบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ทำรั้วนานเกิน 10 ปี แต่ไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยสร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 21 ตารางวา และโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีอาญาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันสร้างรั้วลวดหนามบุกรุกเข้าไปในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่ 1 ไร่21 ตารางวา เมื่อคดีนี้และคดีอาญาดังกล่าวเป็นมูลกรณีเดียวกัน คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ซึ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และเหตุที่จำเลยยกปัญหาเรื่องให้ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์เนื่องจากจำเลยไม่สามารถยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง
แม้คดีนี้ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ฟังว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินโจทก์เป็นเนื้อที่1 ไร่ 21 ตารางวา ตั้งแต่ปี 2524 เกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาคงรับฟังเป็นยุติได้แต่เพียงว่า จำเลยได้สร้างรั้วลวดหนามรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทจริงเท่านั้น แต่การครอบครองที่ดินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์จะต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ พฤติการณ์ที่จำเลยเข้าไปล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินพิพาท ก็เพราะจำเลยซื้อที่ดินซึ่งอยู่ติดกันและเป็นที่ดินแปลงใหญ่มาเพื่อขยายโรงงาน และที่ดินดังกล่าวมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีก 12 คน ภายหลังต่อมาจำเลยจึงได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ในขณะที่จำเลยให้ลูกจ้างไปทำรั้วลวดหนามเพื่อแสดงอาณาเขตที่ดิน ก็ไม่มีการรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินก่อน โดยจำเลยเข้าใจตลอดมาว่าแนวรั้วลวดหนามตรงตามแนวเขตที่ดิน ไม่ได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ ทั้งสภาพที่ดินพิพาทก็เป็นที่ดินว่างเปล่ามีหญ้าขึ้นรกปกคลุมแนวรั้ว ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้าครอบครองทำประโยชน์อย่างจริงจัง แสดงว่าจำเลยลไม่ได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จำเลยจะทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ติดต่อกันนานเกินกว่า 10 ปี แล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
โจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาลภายหลังสืบพยานจำเลยซึ่งนำสืบก่อนเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89 วรรคสอง บัญญัติให้คู่ความฝ่ายที่สืบพยานก่อนชอบที่จะคัดค้านไว้ แล้วให้ศาลปฏิเสธไม่ยอมรับฟังคำพยานเช่นว่ามานั้น แต่คดีนี้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้โต้แย้งข้อนำสืบของโจทก์ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา หรือจำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้ในสำนวน สำหรับคำแถลงคัดค้านของจำเลยก็เป็นการคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติม มิใช่เป็นคำแถลงโต้แย้งกรณีตามบทมาตรา 89 วรรคสอง กรณีจึงไม่ต้องห้ามที่จะให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวที่โจทก์นำสืบนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานในคดีแรงงาน ศาลแรงงานมีอำนาจซักถามพยานเอง คู่ความต้องรอรับอนุญาตก่อนซักถาม
การสืบพยานในคดีแรงงานพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้ศาลแรงงาน เท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลยหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยไม่มีสิทธิซักถามพยานที่ตนอ้าง มาหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง เว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้ซักถามได้เท่านั้นหากศาลแรงงานไม่อนุญาตให้ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยซักถามพยานแล้ว การซักถามพยานโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยต่อพยานที่ตนอ้างมาหรือต่อพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งการถามพยานฝ่ายที่ตนอ้างหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างนั้น มาตรา 45 วรรคสองกำหนดให้เป็นการซักถามทั้งสิ้นการซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่ง อ้างจึงไม่เป็นการถามค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89และการสืบพยานดังกล่าวแตกต่างจากการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 117 กำหนดให้ฝ่ายที่อ้างพยานต้องซักถามพยานที่ตน อ้างก่อนเสมอ แล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยาน และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถาม และถามค้านตามลำดับได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เมื่อการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการซักถาม พยานขัดหรือแย้งกับการสืบพยานในคดีแรงงาน จึงไม่อาจ นำบทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณา สืบพยานในศาลแรงงานได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งคู่ความ ที่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานให้ซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างมาจึงไม่จำต้องซักถามหรือถามค้าน พยานดังกล่าวไว้ก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังดังจำเลยอ้างไม่ และศาลแรงงานย่อมรับฟังพยานโจทก์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5712/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการซักถามพยานในคดีแรงงาน: ศาลแรงงานมีอำนาจจำกัดสิทธิคู่ความในการซักถามพยาน
การสืบพยานในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้ศาลแรงงานเท่านั้นเป็นผู้ซักถามพยานของฝ่ายโจทก์หรือของฝ่ายจำเลยหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยไม่มีสิทธิซักถามพยานที่ตนอ้างมาหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างหรือพยานที่ศาลแรงงานเรียกมาเอง เว้นแต่ศาลแรงงานจะอนุญาตให้ซักถามได้เท่านั้น หากศาลแรงงานไม่อนุญาตให้ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยซักถามพยานแล้ว การซักถามพยานโดยฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยต่อพยานที่ตนอ้างมาหรือต่อพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งการถามพยานฝ่ายที่ตนอ้างหรือพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างนั้น มาตรา 45 วรรคสอง กำหนดให้เป็นการซักถามทั้งสิ้นการซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างจึงไม่เป็นการถามค้านตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89และการสืบพยานดังกล่าวแตกต่างจากการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปที่ ป.วิ.พ.มาตรา117 กำหนดให้ฝ่ายที่อ้างพยานต้องซักถามพยานที่ตนอ้างก่อนเสมอ แล้วจึงให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยาน และเป็นสิทธิของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะซักถามและถามค้านตามลำดับได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน เมื่อการสืบพยานในคดีแพ่งทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการซักถามพยานขัดหรือแย้งกับการสืบพยานในคดีแรงงาน จึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 มาอนุโลมใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานในศาลแรงงานได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งคู่ความที่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานให้ซักถามพยานที่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างมาจึงไม่จำต้องซักถามหรือถามค้านพยานดังกล่าวไว้ก่อนถึงข้อความที่ตนจะนำสืบภายหลังดังจำเลยอ้างไม่ และศาลแรงงานย่อมรับฟังพยานโจทก์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง, ลักษณะการเลิกจ้าง, การสืบพยานในคดีแรงงาน, และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างและเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและ ป.พ.พ. จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างแต่เป็นหุ้นส่วนทำกิจการร่วมกัน และโจทก์มีพฤติการณ์เสียหายด้านการเงินไม่นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้าไปชำระค่าบริการต่าง ๆ ให้สถานบริการเหล่านั้น จำเลยต้องรับภาระชำระหนี้สินที่โจทก์ก่อขึ้นดังกล่าว จำเลยให้โอกาสโจทก์ปรับปรุงตัวใหม่ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ยังคงหลอกลวงลูกค้าที่มาใช้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวนำเงินที่รับจากลูกค้าไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นเหตุให้ลูกค้าได้รับความเสียหายอยู่อีก เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ดังนี้ ข้อต่อสู้ของจำเลยในส่วนที่ว่าโจทก์มีพฤติการณ์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่จึงยังคงมีอยู่ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าจ้างค้างค่าครองชีพ เงินส่วนแบ่ง เงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องหรือไม่
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หาได้มีบทกฎหมายใดกำหนดหรือบังคับให้ต้องมีการบอกเลิกจ้างกันอย่างชัดแจ้งทุกกรณีเสมอไปไม่ การเลิกจ้างอาจเกิดขึ้นได้โดยพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่พอแสดงได้ว่าเป็นการเลิกจ้างก็ได้ ดังที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีการซักถามพยานไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการสืบพยาน คู่ความจะซักถามพยานได้ก็เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานแล้วเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 89, 116 (2) และมาตรา 117 มาใช้บังคับแก่การสืบพยานในคดีแรงงานในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้
โจทก์ยกเอาพยานเอกสารที่จำเลยนำสืบมาอุทธรณ์โต้แย้งเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงไปอีกทางหนึ่งอันจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาแรงงาน: การเลิกจ้าง การพิสูจน์พยานหลักฐาน และขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างและเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างแต่เป็นหุ้นส่วนทำกิจการร่วมกันและโจทก์มีพฤติการณ์เสียหายด้านการเงินไม่นำเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้าไปชำระค่าบริการต่าง ๆ ให้สถานบริการเหล่านั้นจำเลยต้องรับภาระชำระหนี้สินที่โจทก์ก่อขึ้นดังกล่าวจำเลยให้โอกาสโจทก์ปรับปรุงตัวใหม่ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น ยังคงหลอกลวงลูกค้าที่มาใช้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวนำเงินที่รับจากลูกค้าไปเป็นประโยชน์ส่วนตนเป็นเหตุให้ลูกค้าได้รับความเสียหายอยู่อีก เมื่อศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ดังนี้ข้อต่อสู้ของจำเลยในส่วนที่ว่าโจทก์มีพฤติการณ์เป็นการทุจริตต่อหน้าที่จึงยังคงมีอยู่ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าจ้าง ค้างค่าครองชีพ เงินส่วนแบ่งเงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายต่าง ๆ ตามฟ้องหรือไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง หาได้มีบทกฎหมายใดกำหนดหรือบังคับให้ต้องมีการบอกเลิกจ้างกันอย่างชัดแจ้งทุกกรณีเสมอไป การเลิกจ้างอาจเกิดขึ้นได้โดยพฤติการณ์ต่าง ๆที่พอแสดงได้ว่าเป็นการเลิกจ้างก็ได้ ดังที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง ได้บัญญัติถึงวิธีการซักถาม พยานไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการสืบพยาน คู่ความจะซักถามพยานได้ก็เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานแล้วเท่านั้น กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยการสืบพยานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89,116(2) และมาตรา 117 มาใช้บังคับแก่การสืบพยานในคดีแรงงานในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้ โจทก์ยกเอาพยานเอกสารที่จำเลยนำสืบมาอุทธรณ์โต้แย้งเพื่อให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงไปอีกทางหนึ่งอันจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยโมฆะจากเจตนาลวงและข้อตกลงพิเศษที่ขัดแย้งกับกรมธรรม์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ไม่ได้ค้างชำระเบี้ยประกัน เพราะโจทก์ตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัยจากจำเลยเพียงอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันทั้งหมดซึ่งผู้เอาประกันต้องจ่ายตามกรมธรรม์โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น ฉะนั้น จำเลยจึงนำสืบตามคำให้การ และศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวได้
คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำพยานมาสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ ดังนั้นการที่จำเลยนำสืบหักล้างพยานโจทก์โดยตรง ย่อมไม่ใช่เป็นจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์ ศาลรับฟังได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 89
ก่อนตกลงทำสัญญาประกันภัย โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันว่าโจทก์ยอมรับเบี้ยประกันอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันภัยทั้งหมดและให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเองนับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2536แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุให้จำเลยชำระเบี้ยประกันทั้งหมดและให้โจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตลอดอายุสัญญา การแสดงเจตนาในการทำสัญญาประกันภัยดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาลวง โดยโจทก์กับจำเลยสมรู้กันทำขึ้นเพื่อลวงบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัย และโจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัยจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคหนึ่งจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณียกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้ชำระเบี้ยประกันให้โจทก์ไปแล้วร้อยละ 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันที่เหลือจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานหลักฐานและผลกระทบต่อการรับฟังพยาน การแสดงเจตนาลวงในสัญญาประกันภัย
คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำพยานมาสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 นั้น ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งอันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ คดีนี้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4นำสืบหักล้างพยานโจทก์โดยตรง ไม่ใช่เป็นการจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์ จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ศาลรับฟังได้ ก่อนจะตกลงทำสัญญาประกันภัย โจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ได้ตกลงกันตามเอกสารหมาย ล.1 ซึ่งมีข้อความว่าโจทก์ยอมรับเบี้ยประกันอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันภัยทั้งหมดและให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเองนับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2536แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.10 และ จ.13 ระบุให้จำเลยทั้งสี่ชำระเบี้ยประกันทั้งหมดและให้โจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตลอดอายุสัญญาการแสดงเจตนาในการทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยโจทก์กับจำเลยทั้งสี่สมรู้กันทำขึ้นเพื่อลวงบุคคลอื่นว่าจำเลยทั้งสี่เป็นผู้เอาประกันภัยและโจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัยจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นคู่กรณียกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยทั้งสี่ได้ชำระเบี้ยประกันให้โจทก์ไปแล้วตามข้อตกลงเอกสารหมาย ล.1โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันจากจำเลยทั้งสี่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุและพยานเอกสารในคดีแพ่ง: การรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ภาพถ่ายบริเวณที่เกิดเหตุเป็นพยานวัตถุไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยอ้างส่งพยานหลักฐานเพื่อการนำสืบตามประเด็นข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุ (แถบบันทึกเสียง) ต้องนำสืบโดยให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามมีโอกาสตรวจสอบเพื่อรับรองหรือปฏิเสธ หากไม่ทำ ศาลไม่รับฟังเป็นหลักฐาน
แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุที่จำเลยทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว การที่จะให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามที่จำเลยนำสืบก็น่าจะได้นำเข้าถามค้านพยานโจทก์โดยเปิดเสียงเพื่อให้พยานโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าได้บันทึกเสียงไว้ รับรองหรือปฏิเสธเสียงหรือข้อความนั้น เมื่อพยานโจทก์นั้นไม่ได้ฟังข้อความในแถบบันทึกเสียงและไม่ได้ยอมรับคำถอดข้อความที่จำเลยอ้าง แม้แถบบันทึกเสียงจะมีข้อความดังคำถอดข้อความก็ตาม ก็ไม่พอฟังเป็นยุติตามนั้นได้
of 13