พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานวัตถุ (แถบบันทึกเสียง) ต้องนำสืบโดยให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามมีโอกาสตรวจสอบเพื่อรับรองหรือปฏิเสธ หากไม่ทำ ศาลไม่รับฟังเป็นหลักฐาน
แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุที่จำเลยทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว การที่จะให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามที่จำเลยนำสืบก็น่าจะได้นำเข้าถามค้านพยานโจทก์โดยเปิดเสียงเพื่อให้พยานโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าได้บันทึกเสียงไว้ รับรองหรือปฏิเสธเสียงหรือข้อความนั้น เมื่อพยานโจทก์นั้นไม่ได้ฟังข้อความในแถบบันทึกเสียงและไม่ได้ยอมรับคำถอดข้อความที่จำเลยอ้าง แม้แถบบันทึกเสียงจะมีข้อความดังคำถอดข้อความก็ตาม ก็ไม่พอฟังเป็นยุติตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาซื้อขาย โจทก์มีหลักฐานยืนยันการผิดสัญญาของจำเลย และคำเบิกความของพยานจำเลยไม่มีน้ำหนัก
จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบพยานภายหลังมิได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ในเวลาที่พยานเบิกความเพื่อให้พยานอธิบายถึงข้ออ้างของจำเลยคำเบิกความของพยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะจากเจตนาลวงร่วมกัน และสิทธิในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้ซื้อเดิม
ที่ดินและบ้านพิพาทเดิมโจทก์เป็นผู้ซื้อจาก บ. และจำนองไว้กับธนาคาร แม้ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลยแต่โจทก์และครอบครัวยังคงอยู่อาศัยในที่พิพาท และเป็นผู้ชำระหนี้จำนองเป็นรายเดือนตลอดมา สาเหตุที่โจทก์ต้องทำนิติกรรมพิพาท เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ไปชำระหนี้อีกทั้งสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทมีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขพิเศษให้โจทก์มีสิทธิซื้อคืนได้ตลอดเวลาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่ซื้อโดยแท้จริง นิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยมิได้ซื้อขายกันจริง จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวงและเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้
ที่ดินและบ้านพิพาทเดิมโจทก์เป็นผู้ซื้อจาก บ. และจำนองไว้กับธนาคาร แม้ได้จดทะเบียนโอนขายให้แก่จำเลย แต่โจทก์และครอบครัวยังคงอยู่อาศัยในที่พิพาท และเป็นผู้ชำระหนี้จำนองเป็นรายเดือนตลอดมา สาเหตุที่โจทก์ต้องทำนิติกรรมพิพาท เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ไปชำระหนี้ อีกทั้งสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทมีข้อตกลงเป็นเงื่อนไขพิเศษให้โจทก์มีสิทธิซื้อคืนได้ตลอดเวลาแสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่ซื้อโดยแท้จริง นิติกรรมซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยมิได้ซื้อขายกันจริง จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย นิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะ
กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
กรณีที่ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยในราคาที่ดินและบ้านพิพาทตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้นำสืบพยานจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยไปได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง บ.กับ อ.ที่จำเลยนำมาสืบเป็นหลักฐานประกอบพยานจำเลย เอกสารฉบับนี้โจทก์มิได้เป็นผู้เก็บรักษาและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการซื้อที่พิพาทระหว่าง บ.กับ อ. กรณีเช่นนี้จำเลยจึงชอบที่จะนำสืบได้โดยไม่จำต้องถามค้านโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและสิทธิครอบครอง: หลักฐานฝ่ายใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง บ. กับ อ.ที่จำเลยนำมาสืบเป็นหลักฐานประกอบพยานจำเลย เอกสารฉบับนี้โจทก์มิได้เป็นผู้เก็บรักษาและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆกับการซื้อที่พิพาทระหว่าง บ. กับ อ. กรณีเช่นนี้จำเลยจึงชอบที่จะนำสืบได้โดยไม่จำต้องถามค้านโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา และการได้สิทธิครอบครองโดยอายุความในคดีแย่งการครอบครองที่ดิน
ตามฟ้องและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันละเมิดในที่ดินของโจทก์ ปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกันก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใดนั้นย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครองมิใช่นับรวมกัน เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 ยึดถือครอบครองปรากฏว่ามีเนื้อที่ไม่ถึงคนละ 50 ไร่คำนวณเป็นราคาไม่เกินคนละสองแสนบาท คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 แต่ละคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินคนละสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม.โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครองโจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการคำนวณทุนทรัพย์คดี: การพิจารณาแยกส่วนการครอบครองที่ดินของจำเลยแต่ละคน
ตามฟ้องและแผนที่พิพาทไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันละเมิดในที่ดินของโจทก์ ปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยทั้งแปดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งแปดเข้ามาเป็นคดีเดียวกันก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใดนั้นย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไปยึดถือครอบครอง มิใช่นับรวมกัน เมื่อที่ดินที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 ยึดถือครอบครองปรากฎว่ามีเนื้อที่ไม่ถึงคนละ 50 ไร่ คำนวณเป็นราคาไม่เกินคนละสองแสนบาท คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5ถึงที่ 8 แต่ละคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินคนละสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคแรก แห่ง ป.วิ.พ.
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม. โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ม. โดยโจทก์ที่ 3 ผู้จัดการมรดกของ ม. เป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาท แต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ได้ครอบครองและแสดงเจตนาครอบครองที่พิพาทเป็นของตนเองมาเกินกว่า 1 ปีแล้ว จำเลยทั้งเจ็ดจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท จำเลยทั้งเจ็ดเพิ่งแสดงเจตนายึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาจนถึงวันฟ้องไม่เกิน1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ที่ 1 และสามีเคยขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนนั้น แม้จะเป็นข้อกฎหมายแต่โจทก์มิได้ยกเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานจำเลย แม้ไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ - สัญญาจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าไม่เคยทำสัญญาจำนองกับโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธินำสืบว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์เพราะตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เดินทางไปต่างประเทศได้ไม่เป็นการนำสืบโดยกล่าวอ้างประเด็นขึ้นใหม่ ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบของจำเลยที่ 2 เมื่อให้การปฏิเสธสัญญาจำนอง ไม่ถือเป็นการยกประเด็นใหม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จำเลยที่ 2 ให้การว่า ไม่เคยทำสัญญาจำนองกับโจทก์ จำเลยที่ 2จึงมีสิทธินำสืบว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์เพราะตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เดินทางไปต่างประเทศได้ไม่เป็นการนำสืบโดยกล่าวอ้างประเด็นขึ้นใหม่ ทั้งจำเลยที่ 2ไม่จำเป็นต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน