พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพ & พยานแวดล้อม: การพิสูจน์ความผิด & น้ำหนักหลักฐาน
บันทึกคำให้การและภาพถ่ายนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยมีพนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า ชั้นสอบสวน จำเลยที่ 3ให้การรับสารภาพเช่นเดียวกับจำเลยอื่น การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่าถูกบังคับให้ให้การรับสารภาพ นั้น เมื่อโจทก์นำพนักงานสอบสวนเข้าเบิกความ จำเลยที่ 3 หาได้ถามค้านถึงความข้อนี้ไม่ กลับอ้างตัวเองนำสืบภายหลังจึงไม่มีน้ำหนัก เชื่อว่าจำเลยที่ 3ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจจึงเป็นหลักฐานประกอบคำเบิกความของ น.และ ว. พยานแวดล้อมซึ่งล้วนแต่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับกรณีที่เกิดขึ้นพยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมเป็นคนร้ายกระทำผิดตามฟ้อง
สำหรับจำเลยที่ 4 โจทก์คงมีแต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า และจำเลยที่ 4 ก็ได้นำสืบปฏิเสธในชั้นพิจารณาเป็นทำนองว่า ที่ให้การรับสารภาพไปเพื่อไม่ให้จำเลยที่ 1 ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายกับมีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 3 และคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า และเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกัน พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมเป็นคนร้ายกระทำผิดด้วย
สำหรับจำเลยที่ 4 โจทก์คงมีแต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า และจำเลยที่ 4 ก็ได้นำสืบปฏิเสธในชั้นพิจารณาเป็นทำนองว่า ที่ให้การรับสารภาพไปเพื่อไม่ให้จำเลยที่ 1 ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายกับมีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 3 และคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า และเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกัน พยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมเป็นคนร้ายกระทำผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพ, พยานซัดทอด, ความสมัครใจในการให้การ, หลักฐานประกอบ, การพิพากษาแก้
บันทึกคำให้การและภาพถ่ายนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพชั้นสอบสวนโดยมีพนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพเช่นเดียวกับจำเลยอื่น การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่าถูกบังคับให้ให้การรับสารภาพ นั้น เมื่อโจทก์นำพนักงานสอบสวนเข้าเบิกความ จำเลยที่ 3 หาได้ถามด้านถึงความข้อนี้ไม่ กลับอ้างว่าตัวเองนำสืบภายหลังจึงไม่มีน้ำหนัก เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจจึงเป็นหลักฐานประกอบคำเบิกความของ น. และ ว. พยานแวดล้อมซึ่งล้วนแต่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดกับกรณีที่เกิดขึ้นพยานโจทก์จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 ร่วมเป็นคนร้ายกระทำผิดตามฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 4 โจทก์คงมีแต่คำให้การรับสารภาพของ จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า และจำเลยที่ 4 ก็ได้นำสืบปฏิเสธในชั้นพิจารณาเป็นทำนองว่า ที่ให้การรับสารภาพไปเพื่อไม่ให้จำเลยที่ 1 ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายกับมีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 3 และคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า และเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกันพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักมั่นคงพอให้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 4 ร่วมเป็นคนร้ายกระทำผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4881/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีล้มละลาย: ศาลมีอำนาจรับฟังได้หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แต่ต้องเป็นไปตามกระบวนการ
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเพื่อจะนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างคำพยานโจทก์และให้เห็นว่าตนมีทรัพย์สินซึ่งมีราคาพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือไม่ควรตกเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดี และพยานหลักฐานดังกล่าวก็เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว ก็มีอำนาจที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ซึ่งในชั้นนี้และในกรณีนี้หมายถึงมีอำนาจอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติม และทำการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้เอง ส่วนการสืบพยานที่จะกระทำต่อไปนั้น คู่ความยังคงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกระบวนพิจารณาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 หรือมาตรา 89 เป็นต้นแล้วแต่กรณี วิธีการนำสืบพยานหลักฐานในคดีล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่มาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483บัญญัติไว้ว่าในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้ ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 นั้น มิได้หมายความว่าศาลจำต้องรับฟังพยานหลักฐานที่นำสืบโดยวิธีที่มิชอบด้วยกฎหมาย เอกสารแสดงการตีราคาทรัพย์สินที่บริษัทเอกชนทำขึ้นซึ่งจำเลยนำมาเป็นพยานหลักฐานด้วยการถ่ายสำเนามาโดยไม่มีต้นฉบับมาแสดงและโจทก์จำเลยมิได้ตกลงกันว่าสำเนาเอกสารฉบับดังกล่าวถูกต้องแล้ว ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่ศาลอนุญาตให้นำสำเนามาสืบเนื่องจากต้นฉบับหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่นและมิใช่สำเนาเอกสารที่อยู่ในความอารักขาของทางราชการที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรับรองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 แต่อย่างใดยิ่งกว่านั้นการนำสืบเอกสารดังกล่าวของจำเลยเป็นการนำสืบเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์ที่นำสืบถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่กฎหมายสันนิษฐานว่า มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ในเวลาที่พยานโจทก์เบิกความ จำเลยหาได้นำเอกสารดังกล่าวมาถามค้านเพื่อให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายข้อความในเอกสารดังที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 กำหนดไว้ไม่ เอกสารดังกล่าวจึงเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยมิชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้คัดค้านแล้วดังนั้น เอกสารและคำพยานที่เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว จึงเป็นเอกสารและคำพยานที่ต้องห้าม จะรับฟังหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานจากคำรับสารภาพชั้นสอบสวน และการพิสูจน์ความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยอาศัยพยานผู้เสียหาย
ข้อที่จำเลยอ้างว่าคำให้การชั้นสอบสวนมิใช่ลายมือชื่อของจำเลยนั้น จำเลยคงปฏิเสธลอย ๆ เมื่อโจทก์นำพนักงานสอบสวนเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยที่โจทก์อ้าง จำเลยก็ไม่ได้ถามค้านให้เห็นว่าจำเลยไม่เคยให้การรับสารภาพ คำให้การชั้นสอบสวนที่โจทก์อ้างมิใช่ลายมือชื่อจำเลย การที่จำเลยนำสืบภายหลังว่าคำให้การชั้นสอบสวนนั้นไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยจึงเป็นการนำสืบเอาข้างเดียวไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบจากการขาดนัดพิจารณาคดี และการใช้ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่จำเลยขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์คือ ไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วหรือคัดค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาลเฉพาะในวันที่ขาดนัดไม่มาศาลเท่านั้น และหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีกเพราะหมดเวลาที่ตนจะนำพยานเข้าสืบแล้ว เมื่อปรากฏว่าในวันนัดแรกโจทก์มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนได้นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเพียงปากเดียว การสืบพยานยังไม่เสร็จบริบูรณ์ แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิถามค้านพยานปากตัวโจทก์เท่านั้น ส่วนในนัดต่อไปจำเลยมาศาล จำเลยชอบที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่เบิกความในนัดต่อมาได้และนำพยานจำเลยเข้าเบิกความได้เพราะยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยถามค้านพยานโจทก์ที่นำสืบในนัดต่อมา ทั้งนำพยานจำเลยเข้าเบิกความจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน แต่ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 คือไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามมาตรา 87(2) การที่จำเลยร่วมไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 3 วัน ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยร่วมว่าความด้วยตนเอง จึงใช้ดุลพินิจให้จำเลยร่วมนำพยานเข้าสืบได้ถึงแม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน: การรับเงินไม่ครบตามสัญญาไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ และการขาดนัดต่อสู้คดีทำให้ศาลเชื่อถือพยานหลักฐานของโจทก์
แม้สัญญากู้เงินจะระบุไว้ว่า ผู้กู้ได้รับเงินกู้จากผู้ให้กู้ถูกต้องครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญาก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิของผู้กู้ที่จะไม่รับเงินไปทั้งหมดในวันนั้นก็ได้ สัญญากู้เงินดังกล่าวก็ยังคงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน โจทก์นำสืบถึงจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระต่อโจทก์จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 5 ในฐานผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็มิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนี้ตามฟ้องของโจทก์ไม่ถูกต้องอย่างไรและจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์ไปแล้วเพียงใด และในชั้นพิจารณาคงมีแต่จำเลยที่ 2 เบิกความลอย ๆ ว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เท่าใด และไม่ทราบว่านางสาวพรรณีพยานโจทก์นำเงินที่เบิกตามเอกสารหมาย ป.ล.2 และ ป.ล.3 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์หรือยังโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ถามค้านนางสาวพรรณีพยานโจทก์ไว้แต่อย่างใดจึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์อันเป็นเหตุให้ยอดหนี้ลดลงไปหรือไม่จำนวนใด ต้องรับฟังตามข้อนำสืบของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองครอบคลุมดอกเบี้ยค้างชำระ โจทก์ไม่ชำระดอกเบี้ยจำเลยมีสิทธิปฏิเสธไถ่ถอน
ข้อตกลงในสัญญาจำนองมีว่า นอกจากโจทก์ต้องรับผิดในเงิน390,000 บาทแล้ว ยังต้องรับผิดสำหรับดอกเบี้ยซึ่งลูกหนี้ผิดนัดด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ขอไถ่ถอนจำนองในจำนวนเงิน390,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เสนอขอชำระดอกเบี้ยด้วยจำเลยย่อมปฏิเสธการรับชำระหนี้และไม่ยอมให้ไถ่ถอนจำนองได้ การนำสืบพยานเอกสารตามประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบพยานภายหลัง แม้ไม่ได้นำเอกสารดังกล่าวถามค้านพยานโจทก์ไว้จำเลยก็มีสิทธิอ้างส่งเอกสารดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ของลูกหนี้รายอื่น ผู้จำนองต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยค้างชำระ การนำสืบภายหลัง
โจทก์ทำสัญญาจำนองในวงเงิน 390,000 บาท เพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ท. ที่มีต่อธนาคารจำเลยผู้รับจำนอง โดยสัญญาจำนองระบุว่า ผู้จำนองได้จำนองเพื่อประกันเงินซึ่ง ท.ได้เบิกไปจากผู้รับจำนองหรือในเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลาทำสัญญาจำนองหรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้ากับค่าอุปกรณ์ คือ ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง ผู้จำนองยอมรับผิดชอบด้วยทั้งสิ้นและว่า ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับจำนองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินทั้งสิ้นซึ่งลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนอง ถ้าลูกหนี้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยที่กล่าวนี้ผู้จำนองยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบต้นในบัญชีของลูกหนี้ด้วย ดังนั้น ย่อมมีความหมายว่า นอกจากโจทก์ผู้จำนองจะต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเป็นเงิน 390,000 บาท แล้ว ยังต้องรับผิดสำหรับดอกเบี้ยเมื่อ ท. ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยแก่จำเลยด้วย จำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบภายหลังมีสิทธิอ้างส่งสัญญาค้ำประกันเพื่อการนำสืบตามประเด็นข้อต่อสู้ได้ แม้จะมิได้ถามค้านพยานโจทก์ในข้อนี้ไว้ก่อนก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องทรัพย์สิน
ผู้คัดค้านที่ 1 บรรยายคำคัดค้านไว้แล้วว่า ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับพินัยกรรมและมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงไม่จำต้องแนบพินัยกรรมมาท้ายคำคัดค้านด้วย การที่คำคัดค้านระบุว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านที่ 1เพียงผู้เดียว แต่ชั้นพิจารณาได้ความตามพินัยกรรมว่า ทรัพย์สินรายการที่ 1 เจ้ามรดกได้ทำสัญญาจะขายให้บุคคลภายนอก เงินที่ได้ยกให้กับผู้คัดค้านที่ 1 ส่วนหนึ่ง กับยกให้ ส. อีกส่วนหนึ่งส่วนทรัพย์รายการที่ 2 ตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด เช่นนี้เป็นเรื่องพยานหลักฐานที่นำสืบได้ความไม่เต็มบริบูรณ์ตามคำคัดค้านและก็ยังได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอยู่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ที่อ้างเทปบันทึกเสียงเป็นพยานจะต้องถอดข้อความในเทปออกมา หรือต้องนำเทปมาเปิดในขณะพิจารณาคดีของฝ่ายที่อ้างเองหรือฝ่ายตรงข้าม เพราะการนำสืบเสียงพูดเป็นการนำสืบวัตถุพยาน พินัยกรรมฉบับหลังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์มรดกรายเดียวกับที่ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับก่อนเท่านั้น มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1697 สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับก่อนจึงระงับ ส่วนข้อกำหนดในการตั้งผู้จัดการมรดกยังคงมีผลอยู่แต่ตามพินัยกรรมระบุให้ผู้ร้อง ด.และช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน ถ้าผู้ใดตาย ให้ผู้มีชีวิตอยู่ดำเนินการแทน ดังนั้นเมื่อด.ตายผู้ร้องต้องร่วมกับช. จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งเฉพาะผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงขัดต่อเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก และเมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกด้วยเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใด ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมและไม่มีส่วนได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกจึงเหมาะสม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแรงงาน: การรับฟังพยานหลักฐาน, อำนาจฟ้อง, และการเลิกจ้าง
ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์เพราะโจทก์และพยานไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงถือว่า โจทก์ไม่มีพยานมาสืบ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอสืบพยานโจทก์โดย อ้าง ว่าโจทก์ไม่จงใจขาดนัด ศาลแรงงานทำการไต่สวนตามคำร้องขอ ของโจทก์แล้ว ก็ได้ความว่าเหตุที่โจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าว เพราะทนายโจทก์เข้าใจผิดเกี่ยวกับวันนัด ซึ่งถือว่าเป็นความผิดพลาด ของโจทก์เอง เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานไม่สืบพยานโจทก์เพิ่มเติม ตาม คำขอของโจทก์และได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตามพยานหลักฐานที่ ปรากฏ ใน สำนวนจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบ หาขัดต่อ บทบัญญัติ ของพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ไม่ คำเบิกความของพยานที่ยังไม่ได้ตอบคำถามค้านของคู่ความอีกฝ่ายและพยานเอกสารที่คู่ความฝ่ายนั้นอ้างส่งศาลพร้อมกับคำเบิกความ ของพยานนั้น ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง การสืบพยานในคดีแรงงานนั้น ศาลเป็นผู้มีอำนาจซักถามพยานตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคสอง จึงไม่มี กระบวนพิจารณา เกี่ยวกับการถามค้านพยานในวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ดังนั้น หากจำเลยประสงค์จะซักถามพยานโจทก์ซึ่งเบิกความไปแล้ว บางส่วน ก็อาจจะขออนุญาตจากศาลได้ แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลแรงงาน มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบในวันนัดสืบพยานโจทก์ต่อมา จำเลยหา ได้แถลงขอซักถามพยานโจทก์ดังกล่าวต่อไปไม่ แสดงว่าจำเลย ไม่ติดใจซักถามพยานโจทก์ปากดังกล่าวอีกต่อไปคำเบิกความของพยาน โจทก์ปากดังกล่าวย่อมสมบูรณ์และ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ พยานโจทก์เบิกความยืนยันว่า โจทก์ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ก็เบิกความรับว่าโจทก์ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 แล้วแต่ศาลแรงงานรับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ยังไม่ได้เลิกจ้าง จำเลย ที่ 1 เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ชอบ ด้วย วิธีพิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิจารณา พิพากษาใหม่.