คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 89

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค, การเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ, การนำสืบพยานภายหลัง, เช็คเงินสด
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทแลกเงินสดจาก จ. และยอมเสียดอกเบี้ยให้ จ. โดยไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืน เมื่อจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยตามสัญญา แม้เช็คพิพาทจะมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายไว้ ผู้ทรงก็มีสิทธิลงวันที่สั่งจ่ายได้ เมื่อนับจากวันที่ลงนั้นจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่พ้น 1 ปีฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1002
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ทรงคนเดิมมีสิทธิโอนต่อให้บุคคลอื่นได้ เมื่อมีผู้เอาเช็คพิพาทมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามมาตรา 904
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงจึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คหรือไม่ แม้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบภายหลังมิได้ถามค้านพยานจำเลยไว้ โจทก์ก็มีสิทธินำสืบได้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คมาจาก ช.เพราะเป็นการนำสืบตามประด็นที่โจทก์ฟ้องและจำเลยต่อสู้ไว้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค, ผู้ทรงเช็ค, การโอนเช็ค, การนำสืบพยานภายหลัง, เช็คเงินสด
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทแลกเงินสดจาก จ. และยอมเสียดอกเบี้ยให้ จ. โดยไม่มีกำหนดเวลาชำระตนเงินคืน เมื่อจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยตามสัญญา แม้เช็คพิพาทจะมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายไว้ ผู้ทรงก็มีสิทธิลงวันที่สั่งจ่ายให้ เมื่อนับจากวันที่ลงนั้นจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่พ้น 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขนาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ทรงคนเดิมมีสิทธิโอนต่อให้บุคคลได้ เมื่อมีผู้เอาเช็คพิพาทมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามมาตรา 904
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงจึงมีประเด็นว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คหรือไม่ แม้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบภายหลังมิได้ถามค้านพยานจำเลยไว้ โจทก์ก็มีสิทธินำสืบได้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คมาจาก ข. เพราะเป็นการนำสืบตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องและจำเลยต่อสู้ไว้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่ข้อความต่อสาธารณชนโดยสุจริตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ตนเองและสหกรณ์ ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เป็นสมาชิกสหกรณ์และเป็นประธานกรรมการจัดซื้อที่ดินเพื่อสหกรณ์ โดยมีสมาชิกเป็นกรรมการอีก 11 คน จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกสหกรณ์ และเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ จำเลยทั้งสองได้แจ้งข่าวและพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่า "ได้มีเจ้าของที่ดินแปลงใกล้เคียงเสนอขายสหกรณ์ในราคาถูกกว่านี้ แต่กรรมการไม่ยอมรับซื้อกลับไปซื้อที่ดินราคา 7 หมื่นบาท ซึ่งแพงกว่าแปลงอื่นๆ มาก การซื้อขายที่ดินแปลงนี้ เจ้าของที่ดินได้รับเงินจริงๆ ไปเพียง 4 หมื่นบาทเท่านั้น ส่วนอีก 3 หมื่นไม่รู้ว่าตกอยู่ในมือใคร ขณะนี้สมาชิกกำลังแยกย้ายกันหาหลักฐานการทุจริตครั้งนี้ เพื่อเตรียมดำเนินการตามกฎหมายต่อไป" ดังนี้เป็นข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่า กรรมการผู้จัดซื้อที่ดินให้สหกรณ์ทุกคนหรือคนใดคนหนึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด ทุจริตในการซื้อขายที่ดินนั้น แต่จำเลยทั้งสองให้ข่าวและพิมพ์โฆษณาข้อความดังกล่าวเพราะมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ส่อไปในทางทุจริต.ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) และไม่เป็นการละเมิด ที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ได้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากการซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ย่อมถือได้ว่าเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอีกด้วย
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข่าวข้อเท็จจริงที่สืบได้โดยสุจริตเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์ ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
โจทก์เป็นสมาชิกสหกรณ์และเป็นประธานกรรมการจัดซื้อที่ดินเพื่อสหกรณ์โดยมีสมาชิกเป็นกรรมการอีก 11 คน จำเลยที่ 1เป็นสมาชิกสหกรณ์ และเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ จำเลยทั้งสองได้แจ้งข่าวและพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่า "ได้มีเจ้าของที่ดินแปลงใกล้เคียงเสนอขายสหกรณ์ในราคาถูกกว่านี้ แต่กรรมการไม่ยอมรับซื้อกลับไปซื้อที่ดินราคา 7 หมื่นบาท ซึ่งแพงกว่าแปลงอื่น ๆ มากการซื้อขายที่ดินแปลงนี้ เจ้าของที่ดินได้รับเงินจริง ๆ ไปเพียง 4 หมื่นบาทเท่านั้น ส่วนอีก 3 หมื่นไม่รู้ว่าตกอยู่ในมือใครขณะนี้สมาชิกกำลังแยกย้ายกันหาหลักฐานการทุจริตครั้งนี้เพื่อเตรียมดำเนินการตามกฎหมายต่อไป" ดังนี้เป็นข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่า กรรมการผู้จัดซื้อที่ดินให้สหกรณ์ทุกคนหรือคนใดคนหนึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด ทุจริตในการซื้อขายที่ดินนั้น แต่จำเลยทั้งสองให้ข่าวและพิมพ์โฆษณาข้อความดังกล่าวเพราะมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ซื้อที่ดินแพงกว่าปกติส่อไปในทางทุจริตถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) และไม่เป็นการละเมิด ที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ได้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเนื่องจากการซื้อที่ดินแพงกว่าปกติ ย่อมถือได้ว่าเป็นการป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอีกด้วย
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลย โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริง ที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้ (อ้างฎีกาที่ 2823,2824/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823-2824/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการนำสืบพยานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และสถานที่เกิดเหตุความผิดฐานยักยอก
ในคดีอาญาจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะให้การอย่างใดหรือแม้จะไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพยานก่อนให้เห็นว่าจำเลยเป็นกระทำความผิด จำเลยไม่จำต้องยกประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็มีสิทธิที่จะนำสืบในประเด็นนั้น ๆ ได้และจำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ ในเรื่องที่จำเลยจะนำพยานเข้าสืบต่อไปไว้เลย
ในความผิดฐานยักยอกนั้น สถานที่ที่จำเลยยืมทรัพย์ที่ยักยอกย่อมถือเป็นสถานที่เกิดเหตุในการกระทำผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ แม้ครอบครองนาน
การครอบครองที่พิพาทต่างดอกเบี้ยเงินกู้เป็นการครอบครองแทนเจ้าของที่ดิน หาใช่ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของไม่ ถึงแม้จะครอบครองมาช้านานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
ข้อซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว ถึงแม้จำเลยจะมิได้ถามค้านพยานโจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนในข้อนี้ไว้ก็มีสิทธินำสืบข้อนี้ได้ กรณีไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ ไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อได้กรรมสิทธิ์ แม้ครอบครองนานเพียงใด
การครอบครองที่พิพาทต่างดอกเบี้ยเงินกู้เป็นการครอบครองแทนเจ้าของที่ดิน หาใช่ ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของไม่ ถึงแม้จะครอบครองมาช้านานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
ข้อซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว ถึงแม้จำเลยจะมิได้ถามค้านพยานโจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนในข้อนี้ไว้ก็มีสิทธินำสืบข้อนี้ได้ กรณีไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อิสระในการพิจารณาคดีอาญา และการใช้เอกสารเป็นพยานโดยไม่ต้องซักค้าน
ในคดีอาญา แม้จำเลยจะนำสืบถึงพยานเอกสารใดโดยมิได้นำพยานเอกสารนั้นไปซักค้านพยานโจทก์ให้อธิบายไว้เสียก่อนจำเลยก็ยังอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าการพิจารณาคดีอาญาที่กล่าวหากันด้วยข้อเท็จจริงที่ได้เคยมีการวินิจฉัยชี้ขาดไว้ในคดีเรื่องก่อนแล้ว ศาลที่พิจารณาคดีหลังจะต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อิสระในการพิจารณาคดีอาญา: ศาลไม่ผูกพันตามข้อเท็จจริงในคดีก่อน & การอ้างเอกสารพยาน
ในคดีอาญา แม้จำเลยจะนำสืบถึงพยานเอกสารใดโดยมิได้นำพยานเอกสารนั้นไปซักค้านพยานโจทก์ให้อธิบายไว้เสียก่อน จำเลยก็ยังอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
ไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าการพิจารณาคดีอาญาที่กล่าวหากันด้วยข้อเท็จจริงที่ได้เคยมีการวินิจฉัยชี้ขาดไว้ในคดีเรื่องก่อนแล้ว ศาลที่พิจารณาคดีหลังจะต้องถือข้อเท็จจริงที่ศาลได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกลูกหนี้ - ไม่ผูกพันด้วยวิธีพิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ไม่ใช้บังคับถึงวิธีการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกลูกหนี้ของผู้ล้มละลายให้ชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 มาตรา 119 ได้กำหนดวิธีการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กระทำเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายล้มละลายโดยเฉพาะเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในการสอบสวนหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการไปตามอำนาจและหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมิได้มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 89 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีหน้าที่อ้างเอกสารหมาย ร.ค.1 และ ร.ค.4 มาประกอบคำกล่าวอ้างของตน และซักค้านผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ของผู้ล้มละลายและถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้องให้ชำระหนี้
of 13