คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 90 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9000/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายที่ดิน และการโอนสิทธิในที่ดิน การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขออ้างพยานเอกสารเพิ่มเติม บัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาตและสั่งให้จำเลยที่ 2 สำเนาให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว เมื่อต้นฉบับเอกสารเป็นเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของสำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)
การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารไว้ก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่าเอกสารทั้งสามฉบับนี้เป็นเอกสารที่ตัวโจทก์ได้ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ไปขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวมายื่นแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์เท่านั้น ทั้งเรื่องการจำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการไถ่ถอนโอนขายให้แก่จำเลยที่ 1 ก็มีหลักฐานปรากฏอยู่ในสารบัญจดทะเบียนหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) แล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ไม่ถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อนถึงเอกสารดังกล่าว ก็สามารถรับฟังเอกสารทั้งสามฉบับดังกล่าวได้ว่ามีอยู่จริงที่สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำขอท้ายฟ้องและลำดับการบังคับชำระหนี้ในสัญญานายหน้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีที่ดินเนื้อที่ประมาณ 26 ไร่ ต้องการขายที่ดินดังกล่าวจำนวน 14 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยมีโครงการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินจัดสรรขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร เพราะจำเลยได้จำนองที่ดินจำนวน 26 ไร่ ไว้แก่ธนาคารและธนาคารบอกกล่าวบังคับจำนอง จำเลยจึงติดต่อโจทก์กับผู้มีชื่อให้เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยโดยสัญญาว่าจะยกที่ดินให้คนละ 1 ไร่เป็นค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้า ต่อมากลางปี 2530 โจทก์สามารถติดต่อขายที่ดินให้จำเลยได้สำเร็จ แต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา จึงมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดิน 120,000 บาท หากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง แล้ว จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ส่วนโจทก์จะติดต่อให้ผู้ใดมาซื้อที่ดินกับจำเลยในราคาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญานายหน้าทำขึ้น 2 ฉบับ เมื่อเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของจำเลย 1 ฉบับ กรณีย่อมเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน
แม้คำพิพากษาของศาลล่างจะมิได้บังคับให้จำเลยชำระเงิน120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ก่อน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ขอบังคับจำเลยมาก็ตาม แต่เมื่อลำดับการขอบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้เป็นไปตามขั้นตอนของการบังคับชำระหนี้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้บังคับไปตามขั้นตอนของสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ที่ถูกต้องได้โดยพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อน หากโอนไม่ได้จึงจะให้ชำระเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย คำพิพากษาของศาลล่างมิได้เกินคำขอแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญานายหน้าและการบังคับชำระหนี้: ศาลพิพากษาได้ตามขั้นตอนของสิทธิเรียกร้อง แม้ลำดับไม่ตรงตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีที่ดินเนื้อที่ประมาณ 26 ไร่ต้องการขายที่ดินดังกล่าวจำนวน 14 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยมีโครงการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินจัดสรรขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร เพราะจำเลยได้จำนองที่ดินจำนวน 26 ไร่ ไว้แก่ธนาคารและธนาคารบอกกล่าวบังคับจำนอง จำเลยจึงติดต่อโจทก์กับผู้มีชื่อให้เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยโดยสัญญาว่าจะยกที่ดินให้คนละ 1 ไร่ เป็นค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้า ต่อมากลางปี 2530โจทก์สามารถติดต่อขายที่ดินให้จำเลยได้สำเร็จ แต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา จึงมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดิน 120,000 บาท หากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ส่วนโจทก์จะติดต่อให้ผู้ใดมาซื้อที่ดินกับจำเลยในราคาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม สัญญานายหน้าทำขึ้น 2 ฉบับ เมื่อเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของจำเลย 1 ฉบับ กรณีย่อมเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน แม้คำพิพากษาของศาลล่างจะมิได้บังคับให้จำเลยชำระเงิน120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ก่อน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ขอบังคับจำเลยมาก็ตาม แต่เมื่อลำดับการขอบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้เป็นไปตามขั้นตอนของการบังคับชำระหนี้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้บังคับไปตามขั้นตอนของสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ที่ถูกต้องได้โดยพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อน หากโอนไม่ได้จึงจะให้ชำระเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยคำพิพากษาของศาลล่าง มิได้เกินคำขอแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย และการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่าผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้นโดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงและการฟ้องเคลือบคลุม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิวรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว
ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่า ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่า-เสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้น โดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาเอกสารพยาน, การเบิกความของกรรมการผู้จัดการ, และการพิสูจน์หนี้ตามสัญญาซื้อขาย
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยาน ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับแต่เห็นว่าจำเลยมีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยาน จึงอนุญาตให้ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยเข้าเบิกความเป็นพยาน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลรับฟังคำเบิกความของ ส. มาพิจารณาด้วยได้ เมื่อเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารที่โจทก์ได้ส่งอ้างต่อศาลไว้แล้วในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกที่จำเลยสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และแท้จริงแห่งเอกสาร โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารนี้ให้แก่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผู้รับประกันภัยในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ ไม่ต้องบรรยายกรมธรรม์และส่งเอกสาร
ผู้รับประกันภัยรถคันที่ถูกชนเป็นโจทก์ฟ้องในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิบังคับให้จำเลยรับผิดด้วยในมูลละเมิด มิได้ฟ้องขอให้บังคับตาม กรมธรรม์ประกันภัยโดยตรง โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยมากับฟ้อง ทั้งจำเลยก็ให้การได้ถูกว่าโจทก์ไม่ได้รับช่วงสิทธิฟ้องคดีนี้ คำฟ้องของโจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ไม่ใช่คู่สัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 และมิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัย จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาล
กรมธรรม์ประกันภัยโจทก์หาไม่พบ และต้นฉบับอยู่ที่สำนักงานประกันภัยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2) ศาลย่อมรับฟังเอกสารได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเอกสารเพื่อใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่ง: ความครอบครองของบุคคลภายนอกและการรับฟังหลักฐานการชำระหนี้
เอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกนั้นหมายถึงอยู่ในความครอบครองของบุคคลซึ่งมิใช่คู่ความในคดี แม้บุคคลนั้นจะเป็นหลานและอยู่ในครอบครัวเดียวกับจำเลยก็จะถือว่าเอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ได้จำเลยจึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้แก่โจทก์ก่อนวันนัดสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเอกสารโดยบุคคลภายนอก และการรับฟังพยานหลักฐานการชำระหนี้
เอกสารอยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกนั้นหมายถึงอยู่ในความครอบครองของบุคคลซึ่งมิใช่คู่ความในคดี แม้บุคคลนั้นจะเป็นหลานและอยู่ในครอบครัวเดียวกับจำเลย ก็จะถือว่าเอกสารนั้นอยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้แก่โจทก์ก่อนวันนัดสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบสำเนาเอกสารราชการที่ได้รับการรับรองถูกต้อง ย่อมทำได้แม้เพิ่งขอให้ศาลเรียกหลังสืบพยาน
สำเนาเอกสารทางราชการได้รับรองแล้วและได้อ้างระบุไว้ก่อนวันสืบพยานหลายเดือน แต่เพิ่งขอให้ศาลเรียกมาเมื่อสืบพยานโจทก์แล้วเช่นนี้ ย่อมกระทำได้ไม่ผิดวิธีพิจารณา สำเนาเอกสารมหาชนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับรองว่าเป็นการถูกต้องแล้วกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง
of 2