พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9044/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำเลยต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานจึงจะมีความผิด
ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง และบทนิยามตามมาตรา 4 ผู้ที่จะมีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ ส. ผู้เสียหายคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง และมิได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหางานเพื่อส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศ ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถหางานให้ผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศได้ จำเลยกับพวกจึงมิได้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือประกอบธุรกิจจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง การกระทำของจำเลยกับพวกจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และมาตรา 82 แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานสำคัญกว่าการหลอกลวง หากไม่มีเจตนาจัดหางานจริง แม้มีการรับเงินก็ไม่ผิด พ.ร.บ. จัดหางาน
การจะเป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาจัดหางานตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
ตามคำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานรับจ้างทำถนนที่ไต้หวัน โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาต แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่า จำเลยกับพวกสามารถหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวัน และสามารถจัดให้ผู้เสียหายทำงานรับจ้างทำถนนในไต้หวันได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย และจะได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวันโดยถูกต้องตามกฎหมายและในอัตราค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้จำเลยฟัง ป. ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ โดยโจทก์รับว่าเป็นผู้เสียหายจริง ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้วย่อมทำให้คำขอในส่วนคดีแพ่งที่ให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ อีกทั้งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย จึงต้องยกคำขอในส่วนคดีแพ่งของโจทก์เสียด้วยปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 225
ตามคำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานรับจ้างทำถนนที่ไต้หวัน โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับใบอนุญาต แต่คำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่า จำเลยกับพวกสามารถหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวัน และสามารถจัดให้ผู้เสียหายทำงานรับจ้างทำถนนในไต้หวันได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย และจะได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท อันเป็นความเท็จทั้งสิ้น ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดหางานรับจ้างทำถนนในไต้หวันโดยถูกต้องตามกฎหมายและในอัตราค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ และเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้จำเลยฟัง ป. ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยอีกต่อไป และขอถอนคำร้องทุกข์ โดยโจทก์รับว่าเป็นผู้เสียหายจริง ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์โดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้วย่อมทำให้คำขอในส่วนคดีแพ่งที่ให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการที่ยื่นฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ อีกทั้งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย จึงต้องยกคำขอในส่วนคดีแพ่งของโจทก์เสียด้วยปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน: การแยกพิจารณาความผิดอันยอมความได้และไม่ยอมความได้
ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าผู้เสียหายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 นั้น ไม่ทำให้การกระทำความผิดตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 กลายเป็นไม่มีความผิดไปด้วยเพราะความผิดตามมาตรา 91 ตรี มิใช่ความผิดอันยอมความได้ ทั้งได้บัญญัติถึงการกระทำความผิดเกี่ยวกับการที่ไปหลอกลวงคนหางานโดยทุจริตว่ามีงานให้ทำในต่างประเทศซึ่งเป็นเท็จจนเป็นเหตุให้ได้เงินและทรัพย์สินจากคนหางาน จึงเป็นความผิดอีกลักษณะหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7897-7898/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจัดหางานกับการฉ้อโกง: การแยกแยะความผิดและการพิสูจน์เจตนา
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกความผิดฐานจัดหางานให้คนงานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ กับความผิดฐานฉ้อโกงไว้คนละข้อก็ตาม แต่ถ้าอ่านคำฟ้องโจทก์โดยตลอดแล้วย่อมเข้าใจได้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดในคราวเดียวกัน
เมื่อฟ้องโจทก์ยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานที่สมาพันธรัฐสวิส เท่ากับโจทก์ยืนยันว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานในต่างประเทศ ให้แก่ผู้เสียหาย การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
เมื่อฟ้องโจทก์ยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานที่สมาพันธรัฐสวิส เท่ากับโจทก์ยืนยันว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานในต่างประเทศ ให้แก่ผู้เสียหาย การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง vs. จัดหางานผิดกฎหมาย: การยอมความเฉพาะความผิดส่วนตัว
ความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้วย่อมทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ด้วย อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว และความผิดฐานดังกล่าวซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความกันก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ ระงับไป คงระงับไปเฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและการคืนเงินค่าบริการ ศาลฎีกายกประเด็นความผิดฐานจัดหางานและแก้ไขจำนวนเงินที่ต้องคืน
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ในความผิดร่วมกันจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต เพียงใช้คำว่า 'จัดหางาน' ตามนิยามกฎหมาย ถือว่าฟ้องสมบูรณ์
ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า"ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน" เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันจัดหางานโดยใช้คำที่กฎหมายให้ความหมายไว้โดยเฉพาะ ก็เท่ากับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ประกอบธุรกิจจัดหางาน อันถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาจัดหางาน ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แล้ว โดยมิต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพโดยทำธุรกิจด้วยการจัดหางานโดยตรงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานจัดหางาน: เพียงใช้คำตามกฎหมายก็ถือว่ามีเจตนา
ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า "ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน..." เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันจัดหางานโดยใช้คำที่กฎหมายให้ความหมายไว้โดยเฉพาะ ก็เท่ากับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ประกอบธุรกิจจัดหางาน อันถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาจัดหางาน ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30วรรคหนึ่ง, 82 แล้ว โดยมิต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพโดยทำธุรกิจด้วยการจัดหางานโดยตรงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4439/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานจัดหางาน การใช้คำนิยามตามกฎหมายถือว่าครบองค์ประกอบความผิด
ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 4 ได้นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า "ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน" เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันจัดหางาน โดยใช้คำที่กฎหมายให้ความหมายไว้โดยเฉพาะก็เท่ากับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกได้ประกอบธุรกิจจัดหางานอันถือได้ว่าจำเลยกับพวกมีเจตนาจัดหางาน ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 แล้ว โดยมิต้องบรรยายว่าจำเลยเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพโดยทำธุรกิจด้วยการจัดหางานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานผิดกฎหมายและการเรียกทรัพย์สินชดใช้ – ขอบเขตอำนาจอัยการ
จำเลยมีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง 82 เท่านั้น แต่จำเลยมิได้มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องด้วย พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ก็มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการโจทก์ที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้