คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ม. 30

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จัดหางานผิดกฎหมายหลอกลวงผู้เสียหาย ให้จำคุกและปรับ ลดโทษและรอการลงโทษ
ส. ได้พูดชักชวนว่าจะส่งผู้เสียหายทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นโดยผู้เสียหายทั้งสองต้องเสียค่าใช้จ่ายคนละ180,000บาทแล้วส. พาว. สามีของจำเลยไปรับเงินค่าใช้จ่ายจากผู้เสียหาย22,000บาทกับพาผู้เสียหายเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครระหว่างพักอยู่ในกรุงเทพมหานครว.ได้รับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองอีกหลายครั้งการรับเงินจากผู้เสียหายดังกล่าวจำเลยอยู่ร่วมรู้เห็นด้วยในบางครั้งและจำเลยเป็นคนพาผู้เสียหายไปติดต่อทำหนังสือเดินทางและในระหว่างที่ผู้เสียหายทั้งสองพักอยู่ที่โรงแรมในกรุงเทพหานครและที่บ้านของจำเลยในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีจำเลยเป็นคนช่วยดูแลและออกค่าใช้จ่ายต่างๆให้แก่ผู้เสียหายดังนี้แม้จำเลยมิได้ร่วมไปชักชวนผู้เสียหายตั้งแต่ขณะแรกแต่พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกโดยแบ่งหน้าที่กันจัดหางานให้แก่คนงานเพื่อไปทางานที่ประเทศญี่ปุ่นโดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหางานเพื่อส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศและจำเลยกับพวกได้ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยกับพวกสามารถส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้อันเป็นความเท็จเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินแก่จำเลยกับพวกไปจริงจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341,83และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528มาตรา4,30,82 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284-285/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ศาลฎีกายืนโทษฐานจัดหางานผิดกฎหมาย แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีฉ้อโกง
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดแยกกันมาฐานฉ้อโกงตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ข้อก.เมื่อจะมีข้อความว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่สามารถจัดให้ผู้เสียหายทั้งสี่ได้ทำงานในต่างประเทศตามที่จำเลยทั้งสองกับพวกกล่าวอ้างแต่ก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานตามที่บรรยายไว้ในข้อข.การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง หลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาเนื่องจากคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจำเลยที่2อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาคดีข้อหาร่วมกันฉ้อโกงอยู่ในระหว่างอุทธรณ์คำสั่งต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสี่จึงขอถอนคำร้องทุกข์ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341เป็นความผิดอันยอมความได้เมื่อผู้เสียหายทั้งสี่ถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6118/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและเรียกเก็บค่าบริการ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
จำเลยได้ชักชวนผู้เสียหายกับพวกไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์โดยเรียกเงินค่าใช้จ่ายเป็นเงินในการดำเนินการจากพวกผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทนแล้วจำเลยได้พาพวกผู้เสียหายเดินทางไปทำงานเป็นกรรมการก่อสร้างที่ประเทศสิงคโปร์ โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานไปทำงานต่างประเทศ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอันเป็นการจัดหางานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 แล้ว เพราะจำเลยรู้อยู่แล้วว่า จำเลยไม่มีใบอนุญาตให้จัดหางาน แต่จำเลยก็ดำเนินการต่าง ๆ เป็นการหางานให้พวกผู้เสียหายโดยมุ่งจะเอาค่าตอบแทนจากพวกผู้เสียหายเป็นรายบุคคล จึงมีความผิดข้อหานี้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนหรือ พ.ร.บ.จัดหางาน
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยทั้งสามไม่สามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ เพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง โดยการหลอกลวงของจำเลยทั้งสามดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามไป การบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ได้ความเพียงว่า จำเลยทั้งสามเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งหลายเพื่อหวังจะได้รับเงินค่าบริการตอบแทนจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีเจตนาที่จะส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงไปทำงานในต่างประเทศดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างแต่ประการใด การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ตามฟ้อง
โจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนทราบข่าวจากเพื่อนคนงานคนอื่น ๆ ว่า จำเลยที่ 1 จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายจึงไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อสมัครงาน ได้พบจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าสามารถจัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสได้ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายต่างหลงเชื่อจึงได้มอบเงินค่าทำวีซ่าและค่าตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปต่อหน้าจำเลยที่ 3 เป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละรายเป็นรายบุคคล หาใช่เป็นการประกาศโฆษณาเชิญชวนต่อประชาชนไม่ แม้ที่หน้าสำนักงานของจำเลยที่ 1 จะมีป้ายชื่อของจำเลยที่ 1ปิดไว้ก็ตาม แต่ป้ายดังกล่าวก็เป็นเพียงป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีข้อความแสดงถึงการประกาศโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครงานกับจำเลยแต่อย่างใดจำเลยทั้งสามจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ.มาตรา 343

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-จัดหางาน: การหลอกลวงเป็นรายบุคคล ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนหรือการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยทั้งสามไม่สามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ เพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง โดยการหลอกลวงของ จำเลยทั้งสามดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามไป การบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ได้ความเพียงว่าจำเลยทั้งสามเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งหลายเพื่อหวังจะได้รับเงินค่าบริการตอบแทนจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีเจตนาที่จะส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงไปทำงานในต่างประเทศดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างแต่ประการใด การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ตามฟ้อง โจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนทราบข่าวจากเพื่อนคนงาน คนอื่น ๆ ว่า จำเลยที่ 1 จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายจึงไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อสมัครงาน ได้พบจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าสามารถจัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสได้ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายต่างหลงเชื่อจึงได้มอบเงินค่าทำวีซ่าและค่าตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปต่อหน้าจำเลยที่ 3 เป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละรายเป็นรายบุคคล หาใช่เป็นการประกาศโฆษณาเชิญชวนต่อประชาชนไม่ แม้ที่หน้าสำนักงานของจำเลยที่ 1 จะมีป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 ปิดไว้ก็ตามแต่ป้ายดังกล่าวก็เป็นเพียงป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้นไม่มีข้อความแสดงถึงการประกาศโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครงานกับจำเลยแต่อย่างใดจำเลยทั้งสามจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้เสียหายเชื่อคำหลอกลวง
จำเลยที่ 1 และที่ 4 มาหาที่บ้านแล้วชักชวนให้ ส.และ ธ. ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นโดยได้ค่าจ้างประมาณเดือนละ 35,000 บาท ถึง 40,000 บาท แต่การไปต้องมีค่าใช้จ่ายคนละ 68,000 บาท ถึง 78,000 บาท และให้บุคคลทั้งสองพาจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไปบ้าน ว. และ น. และพูดชักชวน ว. และ น. ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นโดยยืนยันว่ามีงานให้ทำจริง ๆ นอกจากนั้น ว. ยังไม่ได้แจ้งให้ ล., ท.และพ. ทราบ แล้วพากันเดินทางมากรุงเทพฯ โดยมีจำเลยที่ 1 และที่ 5 ไปรอรับที่สถานีขนส่งระหว่างอยู่ในกรุงเทพฯ จำเลยทั้งห้ากับพวกมารับเงินจากผู้เสียหายทั้งเจ็ดไป อ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการทำวีซ่าค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าทำงาน พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลย ทั้งห้ามิใช่เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ควรบอกให้แจ้งต่อประชาชน การแสดงข้อความอันเป็นเท็จของ จำเลยทั้งห้าเป็นการเฉพาะเจาะจงต่อผู้เสียหายทั้งเจ็ดคน เท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จำเลยทั้งห้าไม่ได้ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนงานข้อความเท็จที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันแสดงออกต่อผู้เสียหายทั้งเจ็ด ยืนยันข้อเท็จจริงว่ามีงานให้ทำในประเทศญี่ปุ่นมีค่าจ้างเดือนละ 35,000 บาท ถึง 40,000 บาท และชักชวนผู้เสียหายทั้งเจ็ดให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข้อความเท็จนั้น เป็นข้อความที่จำเลยทั้งห้าใช้หลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดเพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้เสียหายทั้งเจ็ดเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งห้าประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางาน ตามความหมายของพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 จำเลยทั้งห้าจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานโดยมิได้รับอนุญาต ผู้เสียหายทั้งเจ็ดมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า เพราะเชื่อในข้อความเท็จที่จำเลยทั้งห้าแจ้งให้ทราบและที่จำเลยทั้งห้า หลอกลวงผู้เสียหายทั้งเจ็ดว่าสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งเจ็ด ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้จริงผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า การรู้หรือไม่รู้ว่าการเข้าไปทำงาน ในประเทศญี่ปุ่นต้องลักลอบเข้าไป ไม่ใช่สาระสำคัญที่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า เมื่อ ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งห้า เพราะเชื่อ ในคำหลอกลวงของจำเลยทั้งห้า ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงเป็น ผู้เสียหายโดยนิตินัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การร้องทุกข์เกิน 3 เดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดทำให้คดีขาดอายุความ
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแล้ว หาได้มีบทบัญญัติเรื่องเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถทำให้อายุความสะดุดหยุดลง อันเป็นเหตุให้อายุความยังไม่ครบบริบูรณ์ดังที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 187 ไม่ จึงจะนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ในคดีอาญาไม่ได้ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยเกินกว่า3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนต้องหลอกลวงบุคคลทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง การจัดหางานต้องมีเจตนาจัดหางานจริง
คำว่า "ประชาชน" ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน หมายถึง บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดตัวว่าเป็นบุคคลใด และไม่ถือจำนวน มากน้อยเป็นสำคัญจำเลยหลอกลวง ว. แล้ว ว.พาจำเลยไปหาช.จำเลยจึงหลอกลวงช. แม้เหตุการณ์ในบ้านของจำเลยจะมีคนอื่นอยู่ด้วยอีกสองคน ก็ไม่ใช่บุคคลทั่วไป ตามความหมายของกฎหมายบทนี้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงประชาชนด้วยการโฆษณา แสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ. เป็นผู้ดำเนินงานจัดหางานให้คนงานไปทำงานยังต่างประเทศ ความจริงจำเลยไม่มีเจตนาที่จะส่งคนไปทำงานต่างประเทศ และไม่สามารถจัดหางานแก่คนหางานไปทำงานที่ต่างประเทศได้ และข้อเท็จจริงคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการ จัดหางานให้คนหางานได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ แสดงว่าจำเลย มิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย เพียงแต่อ้าง ข้อความเท็จเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำ ของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำที่เป็นธุรกิจจัดหางาน
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบธุรกิจจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตโจทก์ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำการอันเป็นการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหางาน เช่น หนังสือติดต่อกับผู้ว่าจ้างในต่างประเทศหรือตัวแทน หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบก็ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงไม่ใช่การจัดหางานผิดกฎหมาย ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีคู่ความอ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหาคนไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นความเท็จเพราะความจริงจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่คนงานในต่างประเทศได้ แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะจัดหางานให้ผู้เสียหาย จำเลยเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
of 5