พบผลลัพธ์ทั้งหมด 398 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับ: คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นที่สุดและไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
การทุเลาการบังคับ กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้นๆ ไป การทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับแล้วจำเลยที่ 2 จะฎีกาคำสั่งต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8876/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาอุทธรณ์-คำร้องคุ้มครองประโยชน์: ศาลฎีกาวินิจฉัยเหตุสมควรขยายเวลาอุทธรณ์ แต่ไม่อาจสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดยื่นอุทธรณ์แล้ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่มีโอกาสยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดได้อันเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง ประกอบกับผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นครั้งแรก จึงมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้อง
คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 การพิจารณาว่าศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้องพิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใดเมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ประกอบกับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาหรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ผู้ร้องยื่นระหว่างฎีกาขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เป็นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่คำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 การพิจารณาว่าศาลใดมีอำนาจสั่งคำร้องจะต้องพิจารณาว่าประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใดเมื่อประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีคือทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 หรือผู้ร้อง แต่ประเด็นที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคือมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องหรือไม่ ซึ่งเมื่อศาลฎีกาพิพากษากลับให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ คดีก็เสร็จไปจากการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจมีคำสั่งตามคำร้องของผู้ร้องได้ประกอบกับการยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ คู่ความจะต้องยื่นต่อศาลในขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาหรือมิฉะนั้นต้องยื่นในชั้นบังคับคดีเมื่อมีเหตุที่จะขอคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความเพื่อบังคับตามคำพิพากษา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แต่ยังมิได้สั่งรับอุทธรณ์ กรณีจึงมิใช่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาและมิใช่เป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เพื่อบังคับตามคำพิพากษาเพราะผู้ร้องยังไม่ถูกบังคับคดี การยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการบังคับและการขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เกี่ยวกับเรื่องการขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายตามเงื่อนไขที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นเรื่องต่อเนื่องกับการทุเลาการบังคับ ซึ่งเป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 นั้นต่อมา และถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชั้นขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายดังกล่าวเป็นที่สุดแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ และไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ฎีกาชั้นนี้ว่า การออกคำบังคับของศาลชั้นต้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหาย และกำหนดระยะเวลาให้จำเลยนำเงินประกันความเสียหายตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 มาวางต่อศาลชั้นต้นใหม่ เพราะไม่ว่าศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยอย่างไรก็ไม่อาจกระทบถึงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งเป็นที่สุดแล้วดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: การพิจารณา 'คำสั่งปฏิเสธไม่ส่ง' และผลของการรับทราบคำสั่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ การอุทธรณ์คำสั่งในกรณีเช่นนี้แม้จะเป็นการอุทธรณ์ก่อนศาลมีคำพิพากษาก็ต้องอุทธรณ์ภายใน 15วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084-7289/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถือหุ้นไม่มีส่วนได้เสียในคดีแรงงานระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง จึงไม่อาจเป็นจำเลยร่วม หรือขอทุเลา/ระงับการบังคับคดีได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับบริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุด เป็นกรณีลูกจ้างฟ้องให้นายจ้างชำระเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 124 วรรคสาม และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลย ไม่ใช่ผู้ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ไม่ใช่ผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยให้ทำการแทน จึงไม่ใช่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 และไม่ใช่ผู้ตกลงจะให้สินจ้าง จึงไม่ใช่นายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวแก่โจทก์ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ที่จะเข้าเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (2) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ที่อนุโลมให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีแรงงานนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อผู้ร้องไม่ใช่นายจ้างผู้ต้องรับผิดชำระค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ไม่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ที่ต้องถูกศาลแรงงานกลางมีคำบังคับตามมาตรา 272 ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะขอให้ทุเลาการบังคับ และศาลจะงดการบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษามีเหตุฟังได้และถ้างดการบังคับคดีไว้ไม่น่าจะเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 293 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจึงขอระงับหรืองดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5810/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักประกันการบังคับคดี: สมุดเงินฝากเป็นเพียงหลักประกันการชำระหนี้ ไม่ใช่การชำระหนี้โดยตรง สิทธิบังคับคดีอาจสูญเสียหากไม่ดำเนินการภายใน 10 ปี
ในวันที่ยื่นฎีกาโจทก์ได้ยื่นคำร้องลักษณะเดียวกันต่อศาลชั้นต้นด้วย แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าวชอบแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้นก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 โจทก์จะใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ได้เพราะเป็นการปฏิบัติผิดขั้นตอนของลำดับชั้นศาลไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ
การที่จำเลยที่ 2 นำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์พร้อมกับทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าเมื่อโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เงินในสมุดเงินฝากดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์โดยปริยายหาได้ไม่ แม้สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำต่อศาลชั้นต้นจะยังมีผลบังคับอยู่ แต่สัญญาดังกล่าวก็ระบุว่าถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีการบังคับคดีเสียก่อนศาลจึงจะมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ก็ย่อมสิ้นสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันหรือเพื่อบังคับคดีอีกต่อไป
การที่จำเลยที่ 2 นำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์พร้อมกับทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นว่า ถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาลนั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าเมื่อโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์เงินในสมุดเงินฝากดังกล่าวจึงตกเป็นของโจทก์โดยปริยายหาได้ไม่ แม้สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำต่อศาลชั้นต้นจะยังมีผลบังคับอยู่ แต่สัญญาดังกล่าวก็ระบุว่าถ้าจำเลยทั้งสองแพ้คดีและไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์คือสมุดเงินฝากที่นำมาวางศาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีการบังคับคดีเสียก่อนศาลจึงจะมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นแก่โจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ก็ย่อมสิ้นสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยึดสมุดเงินฝากดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันหรือเพื่อบังคับคดีอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาขยายระยะเวลาวางหลักประกันการทุเลาการบังคับ และสิทธิในการฎีกา
คดีสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาทกับให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์และขอทุเลาการบังคับ ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยให้จำเลยที่ 1 วางเงินประกันค่าเสียหายภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาวางเงิน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ คดีที่จำเลยที่ 1 ขอทุเลาการบังคับอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอขยายระยะเวลาวางหลักประกันเป็นเรื่องต่อเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งเกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นเรื่องต่อเนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่เกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท กับให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์และขอทุเลาการบังคับ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้ทุเลาการบังคับ โดยให้จำเลยที่ 1 วางเงินประกันค่าเสียหายภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลาวางเงิน ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ดังนี้ คดีที่จำเลยที่ 1 ขอทุเลาการบังคับอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอขยายระยะเวลาวางหลักประกันเป็นเรื่องต่อเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่สั่งเกี่ยวกับการขอทุเลาการบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5181/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งปวงของผู้ค้ำและลูกหนี้ร่วม การบังคับตามหนังสือประกันทำได้แม้ลูกหนี้คนหนึ่งพ้นความรับผิด
จำเลยอุทธรณ์และได้รับอนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ โดยจำเลยทั้งสองนำหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ก. ที่ออกให้เพื่อค้ำประกันเฉพาะจำเลยที่ 1 มาวางเป็นหลักประกันพร้อมทำหนังสือประกันต่อศาลชั้นต้น กรณีดังกล่าวถือว่านอกจากจำเลยที่ 1 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีฐานะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสองตามหนังสือประกันที่ทำต่อศาล เมื่อปรากฏว่าต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 และศาลฎีกาพิพากษายืน ก็เพียงแต่เป็นผลให้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นระงับสิ้นไป แต่ความรับผิดตามหนังสือประกันหาได้ระงับไปด้วยไม่ เพราะไม่มีข้อความใดระบุว่าหนังสือประกันดังกล่าวให้มีผลบังคับเฉพาะในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่เป็นการทำหนังสือประกันเพื่อได้รับการทุเลาการบังคับเฉพาะจำเลยคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองยอมรับผิดร่วมกันในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้แทนจำเลยทั้งสองหรือจำเลยคนใดคนหนึ่งหากไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยังมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา แต่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระ โจทก์ก็มีสิทธิบังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองนำมาวางเป็นหลักประกันตามสัญญาค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3730/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอทุเลาการบังคับต้องอุทธรณ์คำพิพากษาชี้ขาดประเด็นคดีก่อน คำสั่งเกี่ยวกับระยะเวลาอุทธรณ์ไม่ใช่คำพิพากษา
การยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 หมายถึง การยื่นอุทธรณ์ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการยื่นอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวอันจะยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวได้เช่นกัน