คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 231

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 398 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษา ทำให้คำพิพากษาถึงที่สุด และปัญหาการขอทุเลาการบังคับ
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นและอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่งดการอ่านคำพิพากษาเพื่อรอฟังผลอีกคดีหนึ่งพร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเฉพาะอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาย่อมมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นอันถึงที่สุด เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งโดยพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น กรณีจึงไม่มีคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ปัญหาเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ตามฎีกาของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทุเลาการบังคับ: ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์ การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจทำได้
การขอทุเลาการบังคับ กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไป การขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับแล้ว จำเลยจะฎีกาคำสั่งต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการควบคุมการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์: คำสั่งต่อเนื่องและไม่อาจฎีกา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์โดยให้ศาลชั้นต้นตีราคาทรัพย์สินที่จำนอง ถ้าไม่พอชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนับจนถึงวันทราบคำสั่งและต่อไปอีก 1 ปี ก็ให้จำเลยหาประกันมาให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีในชั้นพิจารณาหลักประกัน โดยถือว่าจำเลยไม่ดำเนินการวางหลักประกันภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้นเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกับคำสั่งทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจาก พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชนชนฯ มาตรา 10 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดตามมาตรา 4 หรือ 5 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นบุคคลล้มละลายได้ เป็นการให้อำนาจฟ้องได้ในขณะที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดเท่านั้น ไม่ต้องรอให้ฟ้องคดีอาญาเป็นจำเลยต่อศาลก่อนและไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาถึงที่สุดก่อนว่าผู้กู้ยืมกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ได้ เพราะความผิดตามกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ รัฐต้องการให้กฎหมายมีสภาพบังคับโดยเร็ว เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนที่ร้ายแรงมากขึ้นจากความเนิ่นช้าในการบังคับใช้กฎหมายรัฐจึงเลือกใช้ช่องทางให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าว เพราะกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นจะต้องดำเนินการเป็นการด่วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 13 และในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติต่อไปว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่งให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด มิใช่ต้องได้ความจริงว่าลูกหนี้กระทำผิดตามคำพิพากษาถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบต่อมาตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จนศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบล้มละลายและเข้าสู่ขั้นตอนการจำหน่ายทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มีเจตนารมณ์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายจนสิ้นสุด ไม่อาจขอทุเลาการบังคับอย่างคดีแพ่งธรรมดาและไม่อาจขอให้งดหรือระงับการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและอายัดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097-1098/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคืนเงินประกันทุเลาการบังคับคดี: เริ่มนับเมื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่นับจากวันที่คดีถึงที่สุด
โจทก์วางเงินประกัน 15,887.50 บาท เพื่อขอทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์โดยทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2534 ว่า หากโจทก์แพ้คดีและไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ยินยอมให้บังคับเอากับเงินที่นำมาเป็นหลักประกันได้แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์แพ้คดี และคดีถึงที่สุดแล้วแต่ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็ยังไม่มีสิทธิขอรับเงินที่วางไว้คืน โจทก์จะมีสิทธิร้องขอคืนได้ต่อเมื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนั้น เมื่อโจทก์นำเงินจำนวนใหม่มาวางชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องขอรับเงินที่วางเป็นหลักประกันคืนตั้งแต่วันดังกล่าวหาใช่นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ โจทก์ขอรับเงินคืนเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2544ยังไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่มีสิทธิเรียกร้อง เงินนั้นจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 323 โจทก์มีสิทธิขอรับเงินคืนไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์: การพิจารณาประเภทคำร้องระหว่างทุเลาการบังคับกับคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ.
แม้โจทก์จะใช้ถ้อยคำว่าขอทุเลาการบังคับมาในคำร้องที่โจทก์ยื่นพร้อมกับอุทธรณ์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง แต่ก็มีใจความว่าหากศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการติดตามเอาทรัพย์พิพาทของโจทก์คืนมาจากจำเลย จึงพอแปลได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลในการงดการบังคับคดี: เฉพาะคดีที่ยังมิได้บังคับสำเร็จ
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้มีคำสั่งทุเลาการบังคับไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับคำร้องขอทุเลาการบังคับของจำเลย แปลได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้เป็นการชั่วคราว ซึ่งศาลชั้นต้นอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีได้ตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) แต่การบังคับคดีนั้นงดได้เฉพาะการบังคับคดีที่ยังไม่ได้กระทำหรือที่จะต้องกระทำต่อไป จะงดการบังคับคดีที่ได้ปฏิบัติมาแล้วไม่ได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการยึดทรัพย์บางส่วนมอบให้โจทก์ถือว่าการบังคับคดีในส่วนนี้เสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีในส่วนนี้ ส่วนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้ยึด ศาลชั้นต้นมีอำนาจให้งดการบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ตามมาตรา 231 ว.แพ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามที่โจทก์ร้องขอต่อศาลชั้นต้น เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติหรือดำเนินการก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ส่วนการทุเลาการบังคับจะต้องเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว คู่ความได้ขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ยังไม่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นไว้ก่อน คำว่า "คำสั่งของศาลชั้นต้น"ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 231 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น ย่อมหมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีมิได้หมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา กับ การทุเลาการบังคับ: ศาลชี้ว่าแยกกันชัดเจน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามที่โจทก์ร้องขอเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติหรือดำเนินการก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ส่วนการทุเลาการบังคับจะต้องเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว คู่ความได้ขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ยังไม่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นไว้ก่อน คำว่า "คำสั่งของศาลชั้นต้น" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 231 แห่ง ป.วิ.พ. ย่อมหมายถึง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี หาได้หมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ ดังนี้ จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติหรือดำเนินการตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยถือว่าเป็นการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต่อศาล: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ และการบังคับคดีที่ถูกต้อง
ผู้ร้องยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นฎีกาแต่เมื่ออ่านฎีกาทั้งฉบับ รวมทั้งผู้ลงชื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทั้งทนายจำเลยที่ 1 และทนายผู้ร้องในขณะเดียวกัน ก็พออนุโลมได้ว่าเป็นฎีกาของผู้ร้อง
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "? ข้าพเจ้า นายอมร เนติพิพัฒน์ ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้?" ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินแก่โจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แม้จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน เช่นนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องในฐานะของผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับนี้จะสิ้นไป ก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่
สิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 และผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วบางส่วน ดังนั้น การออกคำบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อศาล ซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐ เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาของศาล มิใช่ทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ในเรื่องค้ำประกัน ที่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงบังคับเอาแก่ผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันในภายหลังมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้อง โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
of 40