พบผลลัพธ์ทั้งหมด 398 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอทุเลาการบังคับคดีและการงดบังคับคดีระหว่างการพิจารณาคดีใหม่และอุทธรณ์
เมื่อจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นจะสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการบังคับคดีไว้ในระหว่างการไต่สวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ก็ได้ และเมื่อศาลชั้นต้นสั่งงดการบังคับคดีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ก็ต่อเมื่อศาลชั้นต้นได้ส่งคำสั่งให้ดำเนินคดีต่อไปให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 294 แล้ว
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลงดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ และ ป.วิ.พ. มาตรา 231 บัญญัติว่าการขอทุเลาการบังคับให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ที่จำเลยมีคำขอมาในอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มีคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้จำเลยเสียหายนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และมีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้ศาลงดการบังคับคดีและแจ้งคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ การยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับ และ ป.วิ.พ. มาตรา 231 บัญญัติว่าการขอทุเลาการบังคับให้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ที่จำเลยมีคำขอมาในอุทธรณ์จึงไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้มีคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปในราคาที่ต่ำเกินไป ทำให้จำเลยเสียหายนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในคดีบังคับคดี: ผู้รับโอนสิทธิยังไม่จดทะเบียน ไม่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้สั่งงดการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไว้ก่อนเพื่อบรรเทาความเสียหาย เป็นเรื่องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264กรณีไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้งดการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องอันเป็นคำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้จำเลยได้ทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะมาร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3752/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์การแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินในคดีบังคับคดี
ในชั้นบังคับคดีจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดเพื่อหารายได้ชำระหนี้โจทก์แทนการสั่งขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวโดยขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยไว้ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในกรณีเช่นนี้มีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยต่อไปได้ ซึ่งถ้าหากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยเสร็จแล้วหากศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วมีความเห็นว่าควรตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำร้อง กรณีก็จะไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3752/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์การบังคับคดี การงดการขายทอดตลาดเพื่อรอผลการพิจารณาอุทธรณ์
ในชั้นบังคับคดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดเพื่อหารายได้ชำระหนี้โจทก์แทนการสั่งขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น พร้อมกับยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ไม่ควรมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวโดยที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพราะการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวนั้นมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยต่อไปได้ ซึ่งถ้าหากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยได้เสร็จแล้ว หากศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วมีความเห็นว่าควรตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ตามคำร้อง กรณีก็จะไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3438/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำสั่งทุเลาการบังคับ: หลักประกันต้องครอบคลุมเฉพาะหนี้ของลูกหนี้แต่ละราย
จำเลยที่ 3 ฎีกาอ้างว่า ศาลล่างทั้งสองแปลคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง มิใช่ฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการสั่งเรื่องการขอทุเลาการบังคับซึ่งเป็นอำนาจแต่ละชั้นของศาล จึงเป็นเรื่องที่พิพาทกันเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในชั้นบังคับคดีว่าเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ซึ่งไม่มีบทกฎหมายห้ามมิให้ฎีกา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในต้นเงิน496,396.80 บาท จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในต้นเงินไม่เกิน100,000 บาท และดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับรวมเป็นฉบับเดียวกัน ศาลอุทธรณ์สั่งคำร้องว่า ถ้าจำเลยที่ 2 หรือที่ 3 คนใดคนหนึ่งหรือร่วมกันหาประกันสำหรับจำนวนเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยมีกำหนด 5 ปี มาให้จนเป็นที่พอใจและภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก็อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างอุทธรณ์มิฉะนั้นให้ยกคำร้อง การปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องขอทุเลาการบังคับสำหรับจำเลยที่ 3 จึงต้องพิจารณาจากจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 3 ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น การแปลคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยนำเอาจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ขอทุเลาไว้เป็นภาระตกแก่จำเลยที่ 3 ด้วยนั้น ทำให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดชอบเกินกว่าจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นการแปลที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี และขอบเขตการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขคำสั่งทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่ายคำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับ และไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2), 247
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: คำร้องขอใช้เงินฝากที่ถูกคุ้มครอง มิใช่การทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่าย คำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับและไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอใช้เงินที่ถูกคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี ไม่ใช่การขอทุเลาการบังคับ จึงมีสิทธิฎีกาได้
ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 264 โดยให้จำเลยนำเงินมาฝากธนาคารไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และไม่ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นการที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินนอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่าย ดังนี้เป็นคำขออันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา231 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับ และไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2)247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอใช้เงินฝากที่ศาลสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ใช่การทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่ายคำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับ และไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิมกรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์เป็นของศาลอุทธรณ์ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดห้ามฎีกา
อำนาจในการสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นอำนาจเฉพาะของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวรวมตลอดถึงเรื่องการพิจารณาหลักประกันด้วย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดคู่ความจะฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์มิได้.