คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,131 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างถูกตัดชื่อออกจากบัญชีผู้ผ่านการทดสอบ กรณีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน ศาลรับฟ้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เมื่อ พ.ศ. 2523โจทก์ผ่านการทดสอบเพื่อเลื่อนตำแหน่งและรอการแต่งตั้งอยู่ระหว่างนั้นจำเลยมีคำสั่งที่ 30/2529 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายขึ้นใหม่ โดยจะตัดสิทธิไม่เลื่อนตำแหน่งพนักงานที่สอบได้หากไม่ได้รับการแต่งตั้งภายใน พ.ศ. 2530และต่อมาจำเลยมีหนังสือที่ สอ.912/2529 แจ้งว่าโจทก์ถูกคัดชื่อออกจากรายชื่อพนักงานที่ผ่านการทดสอบ ฯ เพราะในระยะเวลาสามปีที่ผ่านไปโจทก์ไม่อุทิศตนและเวลาในการปฏิบัติงานให้แก่จำเลยเท่าที่ควรและมีวันลามาก ซึ่งไม่เป็นความจริงขอให้เพิกถอนคำสั่งและหนังสือดังกล่าว ดังนี้ หนังสือที่สอ.912/2529 เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง หากข้ออ้างของจำเลยตามหนังสือดังกล่าวไม่เป็นความจริง โจทก์ชอบที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตามผลการทดสอบได้ภายใน พ.ศ. 2530ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะรับฟ้องส่วนนี้ไว้พิจารณาส่วนคำสั่งที่ 30/2529 นั้นจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือมิใช่ก็ตาม ก็ไม่กระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ประการใด เพราะคำสั่งดังกล่าวยังให้โอกาสแก่โจทก์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งได้จนถึง พ.ศ.2530 หากข้ออ้างของจำเลยในการตัดชื่อโจทก์ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ ฯ ตามหนังสือที่ สอ.912/2529ไม่เป็นความจริง โจทก์ก็ยังได้รับประโยชน์จากคำสั่งที่ 30/2530 อยู่ ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องส่วนนี้ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งสิทธิลูกจ้างจากหนังสือแจ้งผลการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง ศาลรับฟ้องได้หากมีผลต่อสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย เมื่อ พ.ศ. 2523 โจทก์ผ่านการทดสอบเพื่อเลื่อนตำแหน่งและรอการแต่งตั้งอยู่ระหว่างนั้นจำเลยมีคำสั่งที่ 30/2529 กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายขึ้นใหม่ โดยจะตัดสิทธิไม่เลื่อนตำแหน่งพนักงานที่สอบได้หากไม่ได้รับการแต่งตั้งภายใน พ.ศ. 2530 และต่อมาจำเลยมีหนังสือที่ สอ.912/2529 แจ้งว่าโจทก์ถูกคัดชื่อออกจากรายชื่อพนักงานที่ผ่านการทดสอบ ฯ เพราะในระยะเวลาสามปีที่ผ่านไปโจทก์ไม่อุทิศตนและเวลาในการปฏิบัติงานให้แก่จำเลยเท่าที่ควรและมีวันลามาก ซึ่งไม่เป็นความจริงขอให้เพิกถอนคำสั่งและหนังสือดังกล่าว ดังนี้ หนังสือที่ สอ.912/2529 เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน เป็นเรื่องที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง หากข้ออ้างของจำเลยตามหนังสือดังกล่าวไม่เป็นความจริง โจทก์ชอบที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตามผลการทดสอบได้ภายใน พ.ศ. 2530 ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะรับฟ้องส่วนนี้ไว้พิจารณาส่วนคำสั่งที่ 30/2529 นั้นจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือมิใช่ก็ตาม ก็ไม่กระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ประการใด เพราะคำสั่งดังกล่าวยังให้โอกาสแก่โจทก์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งได้จนถึง พ.ศ.2530 หากข้ออ้างของจำเลยในการตัดชื่อโจทก์ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบ ฯ ตามหนังสือที่ สอ.912/2529 ไม่เป็นความจริง โจทก์ก็ยังได้รับประโยชน์จากคำสั่งที่ 30/2530 อยู่ ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องส่วนนี้ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินรางวัลประจำปีไม่ใช่ค่าจ้าง มีอายุความ 10 ปี การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องเป็นไปตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์
เงินรางวัลประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะที่เป็นพนักงานประจำซึ่งตั้งใจมาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและสม่ำเสมอไม่ขาดลาสายหรือกลับก่อนเวลาเลิกงานตามที่ระเบียบกำหนดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของมาตรา165(9)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯข้อ2แต่เป็นเงินประเภทอื่นที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเรียกร้องไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164. การที่นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งที่มีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินรางวัลประจำปีซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้นั้นจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518กำหนดไว้เมื่อนายจ้างเพียงแต่แจกรายงานการประชุมคณะทำงานของบริษัทนายจ้างซึ่งมีความหมายทำนองยกเลิกเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างโดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคำสั่งเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินรางวัลประจำปีไม่ใช่ค่าจ้าง มีอายุความ 10 ปี การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เงินรางวัลประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเฉพาะที่เป็นพนักงานประจำซึ่งตั้งใจมาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและสม่ำเสมอไม่ขาด ลา สาย หรือกลับก่อนเวลาเลิกงาน ตามที่ระเบียบกำหนดไว้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ลูกจ้างประจำที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นพิเศษ จึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของมาตรา 165 (9) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และตามความหมายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2 แต่เป็นเงินประเภทอื่นที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเรียกร้องไว้จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164
การที่นายจ้างจะแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งที่มีระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินรางวัลประจำปีซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างได้นั้นจะต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กำหนดไว้ เมื่อนายจ้างเพียงแต่แจกรายงานการประชุมคณะทำงานของบริษัทนายจ้างซึ่งมีความหมายทำนองยกเลิกเงินรางวัลประจำปีแก่ลูกจ้างโดยมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ทั้งการแก้ไขก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคำสั่งเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานเท็จต้องเป็นข้อมูลปัจจุบันหรืออดีต การกำหนดเงื่อนไขชำระเงินในอนาคตไม่ถือเป็นรายงานเท็จ
การกระทำความผิดฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชานั้น จะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างรายงานเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตหรือในปัจจุบันไม่ตรงต่อความจริง โดยรู้ถึงเหตุการณ์ที่แท้จริงอยู่แล้ว การที่ลูกจ้างรายงานถึงเหตุการณ์ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น แม้ในเวลาต่อมาจะไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือมิได้เป็นไปดังรายงานก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
ลูกจ้างทำรายงานขออนุมัติซื้อแบตเตอรี่ของนายจ้างโดยกำหนดว่าจะชำระเงินภายใน 30 วันนับแต่วันรับของ เมื่อถึงกำหนดลูกจ้างมิได้ชำระเงินแก่นายจ้าง ดังนี้เป็นเพียงลูกจ้างผิดนัดชำระหนี้หรือผิดสัญญา เท่านั้น จะถือว่าเป็นรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่ แม้จะมีประกาศของนายจ้างกำหนดว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดและนายจ้างไม่สามารถหักรายได้ของลูกจ้างชำระค่าแบตเตอรี่ได้ในเวลากำหนดถือว่าเป็นรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาก็ไม่มีผลทำให้รายงานของลูกจ้างนั้นกลับกลายเป็นรายงานเท็จไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3073/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานเท็จต้องเป็นข้อมูลที่ทราบความจริงแล้ว การกำหนดเงื่อนไขชำระเงินในอนาคตไม่ถือเป็นรายงานเท็จ
การกระทำความผิดฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชานั้น จะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างรายงานเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นในอดีตหรือในปัจจุบันไม่ตรงต่อความจริง โดยรู้ถึงเหตุการณ์ที่แท้จริงอยู่แล้ว การที่ลูกจ้างรายงานถึงเหตุการณ์ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น แม้ในเวลาต่อมาจะไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือมิได้เป็นไปดังรายงานก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
ลูกจ้างทำรายงานขออนุมัติซื้อแบตเตอรี่ของนายจ้างโดยกำหนดว่าจะชำระเงินภายใน 30 วันนับแต่วันรับของ เมื่อถึงกำหนดลูกจ้างมิได้ชำระเงินแก่นายจ้าง ดังนี้เป็นเพียงลูกจ้างผิดนัดชำระหนี้หรือผิดสัญญา เท่านั้น จะถือว่าเป็นรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่แม้จะมีประกาศของนายจ้างกำหนดว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดและนายจ้างไม่สามารถหักรายได้ของลูกจ้างชำระค่าแบตเตอรี่ได้ในเวลากำหนดถือว่าเป็นรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาก็ไม่มีผลทำให้รายงานของลูกจ้างนั้นกลับกลายเป็นรายงานเท็จไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989-2991/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จโดยเอกสารที่นายจ้างจัดทำขึ้น ย่อมผูกพันลูกจ้าง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตอบแทนคุณความดีของลูกจ้างที่ได้ทำงานร่วมกับนายจ้างด้วยดีตลอดมาเงินประเภทนี้กฎหมายมิได้บังคับนายจ้างว่าจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะจ่ายให้หรือไม่ ด้วยหลักเกณฑ์อย่างไรแล้วแต่จะเห็นสมควรข้อพิพาทเกี่ยวด้วยเงินบำเหน็จจึงมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงให้ระงับสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จจากนายจ้างได้
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่างๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้น และไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989-2991/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จโดยเอกสารรับเงิน: การระงับสิทธิและขอบเขตการเรียกร้อง
เงินบำเหน็จเป็นเงินที่นายจ้างตอบแทนคุณความดีของลูกจ้างที่ได้ทำงานร่วมกับนายจ้างด้วยดีตลอดมาเงินประเภทนี้กฎหมายมิได้บังคับนายจ้างว่าจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างนายจ้างจะจ่ายให้หรือไม่ ด้วยหลักเกณฑ์อย่างไรแล้วแต่จะเห็นสมควรข้อพิพาทเกี่ยวด้วยเงินบำเหน็จจึงมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนายจ้างและลูกจ้างทำข้อตกลงให้ระงับสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จจากนายจ้างได้
แบบพิมพ์ดีดเอกสารซึ่งนายจ้างจัดทำขึ้นระบุรายการเกี่ยวกับเงินต่าง ๆ ตามสิทธิและตามกฎหมายที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้างและระบุว่าลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยและเงินบำเหน็จตามจำนวนที่ระบุไว้ เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความระบุไว้ด้วยว่าลูกจ้างไม่ติดใจเรียกร้องเงิน สิทธิ และประโยชน์อื่นใดจากนายจ้างอีกทั้งสิ้น ดังนี้ ลูกจ้างได้สละสิทธิเรียกร้องบำเหน็จนอกเหนือจากที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวแล้ว ลูกจ้างย่อมถูกผูกพันตามข้อความนั้นและไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและการสอบสวนทุจริต: การติดต่อผู้กล่าวหาเป็นเงื่อนไขสำคัญในการคุ้มครองสิทธิลูกจ้าง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า หากมีผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานจำเลย ให้จำเลยสืบสวน เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลความจริงหรือไม่ถ้ามีมูลให้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา และถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธก็ ต้องติดต่อให้ผู้กล่าวหามาให้การสอบสวนเพิ่มเติมหากมิได้ ดำเนินการดั่งกล่าวให้ยกประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา โจทก์ถูก กล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์คณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยติดต่อผู้กล่าวหาแล้ว โจทก์ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการค้าดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมิได้ดำเนินการให้ผู้กล่าวหามาให้การเลยส่วนการที่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอมมา ให้การนั้น คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน อื่นเท่าที่ปรากฏอยู่ต่อไปว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม ข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างในการสอบสวนข้อกล่าวหา
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า หากมีผู้ร้องเรียน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานจำเลย ให้จำเลยสืบสวน เบื้องต้นว่ากรณีมีมูลความจริงหรือไม่ถ้ามีมูลให้ตั้ง คณะกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา และถ้าผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธก็ ต้องติดต่อให้ผู้กล่าวหามาให้การสอบสวนเพิ่มเติม หากมิได้ ดำเนินการดั่งกล่าวให้ยกประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา โจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริตในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร จำเลยจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์คณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยติดต่อผู้กล่าวหาแล้ว โจทก์ ผู้ถูกกล่าวหาจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการค้าดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนมิได้ดำเนินการให้ผู้กล่าวหามาให้การเลยส่วนการที่ผู้กล่าวหาไม่ยินยอมมาให้การนั้น คณะกรรมการก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน อื่นเท่าที่ปรากฏอยู่ต่อไปว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้นหรือไม่ โจทก์จึงไม่ได้รับประโยชน์ตาม ข้อตกลงดังกล่าว
of 414