พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความผิดฐานแจ้งความเท็จและการเบิกความอันเป็นเท็จ ศาลพิจารณาพฤติการณ์และเจตนาของผู้เบิกความ
แม้ในคดีก่อนจำเลยเบิกความโดยเชื่อและสงสัยว่าโจทก์เป็นผู้ลักเอาทรัพย์ไป เนื่องจากขณะเกิดเหตุมีโจทก์และจำเลยอยู่ในบ้านพักจำเลยเพียง 2 คน แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยหลงลืมสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองที่อ้างว่าได้หายไปไว้ที่บ้าน ร. โดยในวันรุ่งขึ้นจำเลยทราบทางโทรศัพท์จาก บ. และจำเลยไปรับทรัพย์ของจำเลยที่อ้างว่าได้หายไปคืนจาก บ. จากนั้นจำเลยก็ไปแจ้งให้พนักงานสอบสวนบันทึกเรื่องการได้รับทรัพย์คืนไว้เป็นหลักฐานในวันเดียวกัน ทั้งจำเลยยังไปขอโทษโจทก์และเป็นผู้ประกันตัวโจทก์ในระหว่างสอบสวน ต่อมาจำเลยก็พยายามบรรเทาผลร้ายดังกล่าวด้วยการเสนอชดใช้ค่าทำขวัญเป็นเงิน 30,000 บาท ให้แก่โจทก์ แต่โจทก์เรียกร้องเป็นเงินถึง 600,000 บาท จึงตกลงกันไม่ได้ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยเท่ากับเป็นการยอมรับว่าจำเลยเข้าใจโจทก์คลาดเคลื่อนไปจากความจริง จึงมิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นคนร้ายลักทรัพย์ของจำเลยไป แม้หลังจากจำเลยรู้ความจริงแล้ว จำเลยมิได้ถอนคำร้องทุกข์ดังที่โจทก์ฎีกา ก็น่าจะเป็นเพราะจำเลยรู้ว่าคดีนั้นเป็นความผิดต่อแผ่นดินไม่อาจถอนคำร้องทุกข์ได้จึงไม่เป็นข้อพิรุธ ทั้งในคดีก่อนศาลชั้นต้นก็มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยปั้นแต่งเรื่องขึ้นเพื่อกลั่นแกล้งปรักปรำกล่าวหาโจทก์และคำเบิกความของจำเลยไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนเป็นข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จต้องมีเจตนาทุจริตและข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ หากไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนการกล่าวหา ก็ถือว่าไม่มีความผิด
จำเลยทั้งสองเคยให้การและเบิกความว่าโจทก์ทั้งสองกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญา แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบไม่มีเหตุผลที่จะชี้ให้เห็นเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองว่านำเอาความเท็จซึ่งควรรู้อยู่แล้วมาแกล้งกล่าวหาโจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองเห็นว่าโจทก์เป็นคนร้ายหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติระหว่างคู่ความในคดีปล้นทรัพย์เท่านั้น จะนำมาฟังในคดีนี้ว่าการให้การชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นศาลเป็นการแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ โดยโจทก์ไม่มีพยานมาสืบว่าความจริงเป็นดังฟ้องอย่างใดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษทางอาญา: เหตุบรรเทาโทษ, การปรับบทลงโทษ, และอัตราโทษขั้นต่ำ
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าคดีมีเหตุบรรเทาโทษและเห็นสมควรลดโทษให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งมิได้พิพากษาให้ลดโทษแก่จำเลยที่ 2 ข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าควรจะมีข้อความว่ามีเหตุอันควรปรานี มีเหตุบรรเทาโทษ และลดโทษให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการอ้างข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ใช่การแก้ไขถ้อยคำที่พิมพ์ผิดพลาด แต่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งอ่านแล้ว ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 190
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) คำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป" นั้น หมายความว่ากรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดจะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำจำคุกสามปีเป็นอย่างน้อยที่สุด แต่การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์กับพวกโดยมีข้อหาว่าโจทก์กระทำความผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามมาตรา 365(2)(3) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ตามมาตรา 358 ซึ่งมีระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี และมาตรา 335(7) ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี อัตราโทษขั้นต่ำแต่ละฐานความผิดดังกล่าวไม่ถึงสามปี การเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 181(1)
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) คำว่า "เป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป" นั้น หมายความว่ากรณีแห่งข้อหาว่าผู้ใดกระทำความผิดจะต้องมีอัตราโทษขั้นต่ำจำคุกสามปีเป็นอย่างน้อยที่สุด แต่การที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์กับพวกโดยมีข้อหาว่าโจทก์กระทำความผิดฐานบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามมาตรา 365(2)(3) ประกอบด้วยมาตรา 362 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ตามมาตรา 358 ซึ่งมีระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี และมาตรา 335(7) ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 335 วรรคหนึ่ง จำคุกตั้งแต่หนึ่งถึงห้าปี อัตราโทษขั้นต่ำแต่ละฐานความผิดดังกล่าวไม่ถึงสามปี การเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 181(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้ประเด็นต่างกัน สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาหมิ่นประมาทโดยจำเลยทั้งสองกับพวกทำหนังสือใส่ความโจทก์ซึ่งเป็นกำนันร้องเรียนต่อนายอำเภอ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะนำการกระทำอันเดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาแจ้งความเท็จกล่าวหาโจทก์ต่อนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้แม้ประเด็นในคดีทั้งสองนี้จะต่างกันก็ตาม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ประเด็นต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาหมิ่นประมาทโดยจำเลย ทั้งสองกับพวกทำหนังสือใส่ความโจทก์ซึ่งเป็นกำนันร้องเรียนต่อ นายอำเภอ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะนำการกระทำอันเดียวกันมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาแจ้งความเท็จกล่าวหาโจทก์ต่อนายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้แม้ประเด็นในคดีทั้งสองนี้จะต่างกันก็ตาม สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์
ความผิดอันมิใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนตามกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2913-2915/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับเหตุยึดรถ และความผิดฐานแจ้งความเท็จเพื่อสนับสนุนการกล่าวหาเจ้าพนักงาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 จำคุก 3 เดือนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172,174 วรรคสอง และ 83 ให้จำคุก 3 เดือนเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78 ให้อำนาจการยึดรถแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ 2 กรณี คือ ผู้ขับขี่หลบหนี หรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่กรณี ดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่หาจำต้องติดตามยึดรถในทันทีที่เกิดเหตุไม่ดังนั้นเมื่อมีการหลบหนีหรือหาตัวไม่พบพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจติดตามยึดรถในเวลาต่อมาได้ จำเลยที่ 1 แจ้งความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 มีความเห็นว่าการกระทำของร้อยตำรวจเอก ก.กับพวกรวม 3 คน เป็นการร่วมกันเอารถยนต์ของตนไปโดยเจตนาทุจริตและใช้กำลังบังคับว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้ดูแลรถอันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์และลักทรัพย์แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าการกระทำของร้อยตำรวจเอกก.กับพวกเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ หาใช่เป็นเพียงความเห็นหรือความเข้าใจไม่การกระทำของจำเลยที่ 1จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,174 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 181(1) ซึ่งจะต้องได้รับโทษหนักขึ้นแม้ปัญหาดังกล่าวจะไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ให้การอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าร้อยตำรวจเอกก.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำการยึดรถยนต์ไปโดยไม่มีอำนาจและไม่ทราบสาเหตุทั้งกระทำเกินความจำเป็นเพื่อสนับสนุนคำแจ้งความของจำเลยที่1 ให้กลายเป็นความจริงซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ร้อยตำรวจเอก ก. กับพวกจึงเป็นการแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 492/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ: จำเลยต้องเห็นเหตุการณ์จริง หากให้การเท็จว่าเห็น ย่อมมีความผิด แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะกระทำผิดจริง
ความสำคัญของคดีแจ้งความเท็จอยู่ที่ว่า จำเลยเห็นเหตุการณ์การกระทำผิดของผู้อื่นตามที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ว่าผู้อื่นกระทำผิดหรือไม่ เพราะแม้ผู้อื่นกระทำผิดจริง แต่ถ้าจำเลยไม่เห็นการกระทำผิดแล้วบังอาจให้การว่าเห็น ก็มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
การที่จำเลยให้การเท็จว่าเห็นเหตุการณ์แล้วขอถอนคำให้การอ้างว่าที่ให้การไว้เพราะได้รับการเสื้ยมสอน จำเลยก็ยังมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา172, 174
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา181(2) ข้อความที่ว่าเป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหา ว่าผู้อื่นกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปนั้น หมายถึง อัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้
การที่จำเลยให้การเท็จว่าเห็นเหตุการณ์แล้วขอถอนคำให้การอ้างว่าที่ให้การไว้เพราะได้รับการเสื้ยมสอน จำเลยก็ยังมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา172, 174
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา181(2) ข้อความที่ว่าเป็นการกระทำในกรณีแห่งข้อหา ว่าผู้อื่นกระทำความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไปนั้น หมายถึง อัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเบิกความเท็จ: ผู้เสียหายต้องเป็นคู่ความในคดีที่ถูกเบิกความเท็จ
ความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,181 เป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ลักษณะ 3 หมวด 1 ว่าด้วยความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมซึ่งกฎหมายมุ่งคุ้มครองเจ้าพนักงานในการยุติธรรมและคู่ความให้ได้รับผลในทางความยุติธรรมเป็นสำคัญ ไม่เกี่ยวกับบุคคลนอกคดีนอกจากนี้ยังต้องพิจารณาอีกด้วยว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยหรือไม่
โจทก์ในคดีนี้ (เป็นทนายความจำเลย) ไม่ได้ถูกฟ้องคดีอาญาเรื่องบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และเสื่อมเสียเสรีภาพนั้นด้วย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเบิกความในคดีนั้นว่าอย่างไรก็ไม่มีทางที่โจทก์จะได้รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลยได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากคำเบิกความของจำเลย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28
โจทก์ในคดีนี้ (เป็นทนายความจำเลย) ไม่ได้ถูกฟ้องคดีอาญาเรื่องบุกรุกทำให้เสียทรัพย์และเสื่อมเสียเสรีภาพนั้นด้วย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเบิกความในคดีนั้นว่าอย่างไรก็ไม่มีทางที่โจทก์จะได้รับความเสียหายจากคำเบิกความของจำเลยได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากคำเบิกความของจำเลย ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานเบิกความเท็จได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ – พยานให้การไม่ตรงกับข้อเท็จจริงยุติในคดีก่อน โจทก์ไม่มีพยานยืนยันความเท็จ
ในคดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องสิบตำรวจตรี ส.ในความผิดฐานฆ่านาย บ. ตายโดยเจตนา ศาลพิพากษาลงโทษสิบตำรวจตรี ส. คดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว โดยในคดีก่อนศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ขณะที่ผู้ตายถูกยิงล้มลงไป ไม่มีมีดอยู่ในมือผู้ตายการที่สิบตำรวจตรี ส. ยิงผู้ตายมิใช่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัว ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีก่อนเท่านั้น จะนำมาฟังในคดีนี้ว่า การที่จำเลยให้การในชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จหาได้ไม่เมื่อโจทก์ไม่มีพยานนำสืบว่าความจริงเป็นดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง