พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641-642/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษและการพิจารณาโทษใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาโทษและรอการลงโทษได้
ความผิดแต่ละกระทงศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกเพียง 6 เดือนศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 177 ศาลล่างนำมาตรา 181 ซึ่งมีโทษหนักกว่ามาปรับบทลงโทษด้วย เมื่อศาลฎีกาตัดมาตราดังกล่าวออกแล้วย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงโทษว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่และให้รอการลงโทษได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 177 ศาลล่างนำมาตรา 181 ซึ่งมีโทษหนักกว่ามาปรับบทลงโทษด้วย เมื่อศาลฎีกาตัดมาตราดังกล่าวออกแล้วย่อมมีอำนาจพิจารณาถึงโทษว่าเหมาะสมแล้วหรือไม่และให้รอการลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาแผ่นดินแม้โจทก์มรณะ ศาลยังดำเนินคดีได้ การแก้น้อยในชั้นฎีกา
ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะ 3 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้โจทก์มรณะก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องร้องแทนแผ่นดิน ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 180 (ซึ่งมาตรานี้ศาลชั้นต้นเคยยกฟ้องไปแล้วชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) 181 ให้ลงโทษตามมาตรา 181 (2) อันเป็นบทหนัก จำคุก 8 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 181 (2) จำคุก4ปีลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี ดังนี้ เป็นการแก้น้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 180 (ซึ่งมาตรานี้ศาลชั้นต้นเคยยกฟ้องไปแล้วชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) 181 ให้ลงโทษตามมาตรา 181 (2) อันเป็นบทหนัก จำคุก 8 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 181 (2) จำคุก4ปีลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี ดังนี้ เป็นการแก้น้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาแผ่นดินแม้โจทก์มรณะ ศาลยังดำเนินคดีได้ การแก้น้อยต้องห้ามฎีกา
ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะ 3 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้โจทก์มรณะก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องร้องแทนแผ่นดิน ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,180(ซึ่งมาตรานี้ศาลชั้นต้นเคยยกฟ้องไปแล้วชั้นไต่สวนมูลฟ้อง),181 ให้ลงโทษตามมาตรา 181(2) อันเป็นบทหนัก จำคุก 8 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,181(2) จำคุก 4 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี ดังนี้ เป็นการแก้น้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,180(ซึ่งมาตรานี้ศาลชั้นต้นเคยยกฟ้องไปแล้วชั้นไต่สวนมูลฟ้อง),181 ให้ลงโทษตามมาตรา 181(2) อันเป็นบทหนัก จำคุก 8 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,181(2) จำคุก 4 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี ดังนี้ เป็นการแก้น้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาฐานแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ ต้องระบุความจริงและเท็จชัดเจน มิฉะนั้นฟ้องไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องได้ความแต่เพียงว่า จำเลยแจ้งแก่พนักงานสอบสวนอย่างหนึ่ง แล้วมาเบิกความต่อศาลอีกอย่างหนึ่ง เป็นการแตกต่างและขัดกันขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จหรือเบิกความเท็จ ดังนี้ เมื่อฟ้องมิได้ยืนยันข้อเท็จจริงว่าข้อความใดเป็นความเท็จ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) (ประชุมใหญ่ครั้งที่21/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จต้องระบุข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเพื่อพิสูจน์ความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องได้ความแต่เพียงว่า จำเลยแจ้งแก่พนักงานสอบสวนอย่างหนึ่ง แล้วมาเบิกความต่อศาลอีกอย่างหนึ่ง เป็นการแตกต่างและขัดกัน ขอให้ลงโทษฐานแจ้งความเท็จหรือเบิกความเท็จ ดังนี้ เมื่อฟ้องมิได้ยืนยันข้อเท็จจริงว่าข้อความใดเป็นความเท็จ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2519)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องที่ไม่ชัดเจน ทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา ฟ้องจึงไม่พอรับ
เมื่อข้อความในฟ้องของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาในคดีนี้ว่าเป็นฟ้องเท็จ มีข้อความยืดยาว มิได้เป็นเท็จไปทั้งหมดและโจทก์ก็ไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าข้อความที่จำเลยฟ้องกล่าวหาโจทก์กระทำผิดนั้น เป็นเท็จอย่างไร ฟ้องของโจทก์ย่อมไม่พอจะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเท็จต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากฟ้องไม่ชัดเจน ศาลยกฟ้องได้
เมื่อข้อความในฟ้องของจำเลยที่โจทก์กล่าวหาในคดีนี้ว่าเป็นฟ้องเท็จ มีข้อความยืดยาว มิได้เป็นเท็จไปทั้งหมดและโจทก์ก็ไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าข้อความที่จำเลยฟ้องกล่าวหาโจทก์กระทำผิดนั้น เป็นเท็จอย่างไร ฟ้องของโจทก์ย่อมไม่พอจะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาของผู้เสียหายที่ได้รับกระทบจากคำเบิกความเท็จ ซึ่งเชื่อมโยงกับคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกความเท็จในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ป.ในข้อหาฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายว่า ป. ขับรถยนต์มาด้วยความเร็วปกติและได้ลดความเร็วลงเมื่อถึงทางโค้ง พอรถแฉลบผู้ตายสะดุ้งตื่นร้องโวยวาย และคว้ามือ ป. เป็นเหตุให้รถแฉลบจากถนนพลิกคว่ำ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมอ้างว่าเป็นบุตรผู้ตาย ได้ยื่นฟ้องป. เป็นคดีแพ่ง เรียกค่าเสียหายเนื่องจาก ป. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้มารดาผู้ร้องถึงแก่ความตาย และได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่ ป.เป็นจำเลยดังกล่าวเช่นนี้ ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในคดีนี้โดยตรงและมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ เพราะผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว และคำเบิกความเท็จในข้อสำคัญของจำเลยนี้ในคดีอาญาดังกล่าว ย่อมกระทบกระเทือนถึงผลของคดีแพ่งที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องป. โดยศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาดังกล่าวนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์ ทำให้ฎีกาไม่รับพิจารณา
ศาลชั้นต้นสั่งว่าโจทก์ขาดนัดแล้วพิพากษายกฟ้องเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 แต่กลับยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ โจทก์จะฎีกาอ้างว่าที่ศาลพิพากษาว่าโจทก์ขาดนัดนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 หาได้ไม่ เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์ขาดนัดชอบหรือไม่เป็นอันยุติแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641-644/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จและสมคบกันทำผิดอาญา ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
จำเลยหลายคนสมคบกันใช้ให้จำเลยคนหนึ่งไปแจ้งข้อความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ผู้เสียหายได้ใช้กำลังประทุษร้ายกระทำอนาจารแก่จำเลยผู้แจ้ง เพื่อแกล้งให้ผู้เสียหายต้องรับโทษทางอาญา ดังนี้ จำเลยทั้งหมดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 และมาตรา 174 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนัก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้บทลงโทษให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้ และถือว่าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้บทลงโทษให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้ และถือว่าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย