คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 181

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีอาญา: ข้อสำคัญในคดีคือการกระทำผิดของผู้ต้องหา ไม่ใช่คำพูดของบุคคลอื่น
ในคดีอาญาฐานวางเพลิงที่โจทก์ถูกฟ้องข้อสำคัญในคดีก็คือโจทก์วางเพลิงหรือไม่ จำเลยเบิกความโดยนำข้อความที่ตนได้ยินจากคำพูดบุตรสาวโจทก์ที่พูดว่าโจทก์ ('เป็นหยังตำรวจไม่มาลากคอมันไปบักเพลิงใหญ่') ซึ่งข้อความที่บุตรสาวโจทก์พูดนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยืนยันถือไม่ได้ว่าจำเลยทำผิดฐานเบิกความเท็จ(อ้างฎีกาที่ 172/2483)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จต้องเกี่ยวกับข้อสำคัญในคดีอาญา การได้ยินคำพูดบุตรสาวโจทก์ไม่ใช่ข้อสำคัญ
ในคดีอาญาฐานวางเพลิงที่โจทก์ถูกฟ้องข้อสำคัญในคดีก็คือ โจทก์วางเพลิงหรือไม่จำเลยเบิกความโดยนำข้อความที่ตนได้ยินจากคำพูดบุตรสาวโจทก์ที่พูดว่าโจทก์ ("เป็นหยังตำรวจไม่มาลากคอมันไปบักเพลิงใหญ่") ซึ่งข้อความที่บุตรสาวโจทก์พูดนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่ จำเลยไม่ได้ยืนยัน ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำผิดฐานเบิกความเท็จ (อ้างฎีกาที่ 172/2483)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จ-ปลอมเอกสาร: ศาลฎีกาชี้ขาดองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษ
คำว่า ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) นี้หมายถึงว่าอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดนั้นจะต้องมีระวางโทษจำคุก 3 ปีเป็นอย่างน้อยที่สุด
การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญา ไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความแต่เป็นเรื่องเบิกความซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจดข้อความตอนใดหรือไม่จดก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความการจดจึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องของพยานที่จะแจ้งให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา267
จำเลยไม่ใช่นายช่วง แต่มาอ้างต่อศาลว่าเป็นนายช่วงและข้อเท็จจริงที่จำเลยเบิกความว่าได้รู้เห็นเหตุการณ์จำเลยก็มิได้รู้เห็นจริง กับจำเลยได้ลงนามปลอมว่า นายช่วง ในคำเบิกความที่ศาลจดไว้อีกด้วยความผิดฐานเบิกความเท็จสำเร็จได้โดยไม่ต้องอาศัยการลงนามปลอมการลงนามปลอมของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีกด้วยแต่จำเลยหามีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 อีกมาตราหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดเบิกความเท็จ ปลอมเอกสาร และการตีความอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำในประมวลกฎหมายอาญา
คำว่า ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 181(1) นี้ หมายถึงว่า อัตราโทษชั้นต่ำของความผิดนั้น จะต้องมีระวางโทษจำคุก 3 ปี เป็นอย่างน้อยที่สุด
การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญาไม่ใช่เรื่องแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความ แต่เป็นเรื่องเบิกความซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจจดข้อความตอนใดหรือไม่จดก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ การจดจึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่เรื่องของพยานที่จะแจ้งให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267
จำเลยไม่ใช่นายช่วง แต่มาอ้างต่อศาลว่าเป็นนายช่วง และข้อเท็จจริงที่จำเลยเบิกความว่าได้รู้เห็นเหตุการณ์ จำเลยก็มิได้รู้เห็นจริง กับจำเลยได้ลงนามปลอมว่า นายช่วง ในคำเบิกความที่ศาลจดไว้อีกด้วย ความผิดฐานเบิกความเท็จสำเร็จได้โดยไม่ต้องอาศัยการลงนามปลอม การลงนามปลอมของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264 อีกด้วย แต่จำเลยหามีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 อีกมาตราหนึ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จกล่าวหาปล้นทรัพย์เพื่อแกล้งให้ผู้อื่นรับโทษหนักขึ้น มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174 ประกอบ 181(1)
จำเลยเกิดปากเสียงกับนายชิงชองแล้วถูกนายชิงชองชกต่อยเอา แต่จำเลยกลับนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีนักเลง 3 คนกลุ้มรุมทำร้ายจำเลย โดยคนหนึ่งใช้ไม้ตีคนหนึ่งล๊อกคอ อีกคนหนึ่งล้วงเอาเงินในกระเป๋าเสื้อไป 300 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการแกล้งจะให้นายชิงชองต้องรับโทษหนักขึ้น และเป็นการกล่าวหาว่านายชิงชองกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174 ประกอบด้วยมาตรา 181(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จกล่าวหาปล้นทรัพย์เพื่อแกล้งให้ผู้อื่นรับโทษหนักกว่าความเป็นจริง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเกิดปากเสียงกับนายชิงชองแล้วถูกนายชิงชองชกต่อยเอา แต่จำเลยกลับนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่ามีนักเลง 3 คนกลุ้มรุมทำร้ายจำเลย โดยคนหนึ่งใช้ไม้ตี คนหนึ่งล๊อคคออีกคนหนึ่งล้วงเอาเงินในกระเป๋าเสื้อไป 300 บาท ซึ่งเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการแกล้งจะให้นายชิงชองต้องรับโทษหนักขึ้นและเป็นการกล่าวหาว่านายชิงชองกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 174 ประกอบด้วยมาตรา 181 (1)
of 4