คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ม. 13 ทวิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษสามเท่าสำหรับข้าราชการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การตีความบทบัญญัติและหลักกฎหมายที่ใช้
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอีเฟดรีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2จำนวน 40,000 เม็ด น้ำหนักสุทธิรวม 3,584 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนักรวม45.2 กรัม อันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันขายอีเฟดรีนดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อ โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวข้องเป็นตัวการในการขายวัตถุออกฤทธิ์ครั้งนี้ โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ในกรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา6 (7 ทวิ), 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89, 106 ทวิ, 116 พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา10 ป.อ.มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนตาม ป.อ.มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท - การผลิตและครอบครองอีเฟดรีนเพื่อขาย - ไม่เป็นฟ้องซ้ำ - คำรับสารภาพไม่เป็นประโยชน์
จำเลยผลิตอีเฟดรีนและมีอีเฟดรีนที่ได้ผลิตขึ้นตามฟ้องไว้ในครอบครองเพื่อขาย เมื่ออีเฟดรีนที่จำเลยกับพวกร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันขายยาอีเฟดรีนผสมคาเฟอีนจำนวน 30,394 เม็ด อันเป็นยาแผนปัจจุบัน และเป็นยาอันตรายที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาตามกฎหมาย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มาตรา4, 12, 72, 79, 101, 122, 126 ซึ่งแตกต่างจากคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานผลิตและขายอีเฟดรีน ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 เป็นความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 4, 5, 6, 13 ทวิ,62, 89, 106, 116 อันมีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกัน และของกลางก็เป็นคนละจำนวนกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
เมื่อโจทก์มีทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร รวมทั้งวัตถุพยานพอรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม คำรับของจำเลยก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ศาลในการพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานวัตถุ-เอกสารประกอบคดี-การขายยาเสพติด: หลักเกณฑ์การนำสืบและการพิสูจน์ความผิด
ธนบัตรของกลางเป็นพยานวัตถุที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย แม้จะมิได้ลงบันทึกประจำวันไว้ โจทก์ก็อ้างเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 226 เพราะไม่มีกฎหมายห้าม
แผนที่เกิดเหตุเป็นเพียงพยานเอกสารจำลองถึงที่เกิดเหตุตามที่พนักงานสอบสวนได้จัดทำขึ้น แม้จะมีระเบียบให้พนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อประกอบคดีแต่ถ้าพนักงานสอบสวนมิได้จัดทำ ก็หาทำให้พยานหลักฐานอื่นที่โจทก์นำสืบเสียไปแต่อย่างใดไม่ หากพยานโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องมีแผนที่เกิดเหตุ
การที่จำเลยเอาเมทแอมเฟตามีนมาขายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อแม้สายลับจะไม่มีเจตนาซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยมาเพื่อเสพหรือแสวงหาประโยชน์อื่นใดจากเมทแอมเฟตามีน ก็ถือว่าจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนตามบทนิยามคำว่าขายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ 2518มาตรา 4 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6707/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนผสมอีเฟดรีนเป็นกรรมเดียว
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 780 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้จำหน่ายให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อไปทั้งหมด เจ้าพนักงานตำรวจจับได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดเป็นของกลาง ผลการตรวจพิสูจน์ของกลางทั้ง 780เม็ด พบว่ามีปริมาณเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 10.783 กรัมและมีปริมาณอีเฟดรีนคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ได้ 0.618 กรัม โดยของกลางแต่ละเม็ดมีส่วนผสมของเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน ดังนี้ เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางทั้งหมดแต่ละเม็ดถูกผสมด้วยอีเฟดรีนบางส่วนก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เมทแอมเฟตามีนที่มีอีเฟดรีนผสมอยู่จึงเป็นวัตถุอันเดียว การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไปเป็นการกระทำคราวเดียวกัน จึงเป็นการกระทำผิดเพียงกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อโทษอาญาจาก พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ เป็น พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534มาตรา 10
จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาต และการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนเป็นจำนวนมาก จึงเป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกผลิตและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย โดยหลังจากเจ้าพนักงานตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวนหนึ่งได้จากจำเลยทั้งสองที่ร่วมกันผลิตและมีไว้ในครอบครองที่บ้านเกิดเหตุแล้ว จำเลยที่ 1 ยังนำเจ้าพนักงานไปตรวจค้นและยึดวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกจำนวน 80 ถุง บรรจุถุงละ 200 เม็ด จากบริเวณบ้านจำเลยที่ 1 โดยก่อนวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนบรรจุถุงละ 200 เม็ด ได้จำนวน 180 ถุง จำเลยที่ 2 ส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 จำนวน150 ถุง ได้จำหน่ายไปบางส่วนคงเหลือ 80 ถุง ใส่โหลพลาสติกฝังไว้ในสวนมะนาวหลังบ้านจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุง ดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะผลิตและมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟ-ตามีนจำนวนที่ยึดได้จากบ้านเกิดเหตุ การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนดังกล่าวเป็นการกระทำคนละเวลาคนละสถานที่และวัตถุแห่งการกระทำความผิดก็เป็นคนละจำนวนโดยมิได้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกัน การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองสำหรับการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 80 ถุงไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อขาย จึงเป็นการกระทำความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก ซึ่งต้องเรียงกระทงลงโทษตามกฎหมาย
ขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขาย เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 89 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณา ปรากฏว่ามีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ดังกล่าวข้างต้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ระวางโทษประหารชีวิต และการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้35 กรัม จำนวนหนึ่ง และ 242 กรัม อีกจำนวนหนึ่ง เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ต้องรับโทษตามมาตรา 66วรรคหนึ่ง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 35 กรัม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท และต้องรับโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง ในกรณีคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 242 กรัม ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ดังนั้น พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 ที่ใช้ในขณะจำเลยทั้งสองกระทำความผิดแตกต่างกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่ใช้ในภายหลังกระทำความผิด และเมื่อ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ระวางโทษแก่จำเลยทั้งสองเบากว่าระวางโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงต้องนำ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองมาใช้บังคับ ตาม ป.อ.มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน: การพิพากษาปรับบทลงโทษกรรมเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง,89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกจำเลย 3 ปี 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องข้อหาฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันให้ลงโทษฐานขายเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
ตามวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุ สิบตำรวจตรีหญิง ว.กับสายลับได้เข้าไปขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำนวน 4 เม็ด โดยมีร้อยตำรวจเอก ก.กับพวกซุ่มรออยู่นอกโกดัง จำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ออกจากโกดังไปประมาณ15 นาที จึงกลับเข้ามาและมอบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 เม็ด ให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว. แต่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ขอรับไว้เพียง 2 เม็ด โดยอ้างว่าเอาเงินมาไม่พอและมอบธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่เตรียมไว้ใช้ในการล่อซื้อให้แก่จำเลยต่อมาสิบตำรวจตรีหญิง ว.กับร้อยตำรวจเอก ก.และพวกได้เข้าจับกุมจำเลยและค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2 เม็ด กับธนบัตรจำนวน 160 บาท ที่ใช้ในการล่อซื้อจากตัวจำเลย ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน เนื่องจากจำเลยได้ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ไปก่อนจำนวน 2 เม็ด ส่วนเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจยึดได้จากตัวจำเลยในขณะจับกุมอีกจำนวน 2 เม็ด ที่เหลือเป็นจำนวนเดียวกับที่จำเลยนำมาเพื่อจะส่งมอบให้แก่สิบตำรวจตรีหญิง ว.ซึ่งการส่งมอบก็เป็นความผิดฐานขายตามกฎหมายเช่นเดียวกันฉะนั้นเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากขายจึงเป็นเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันคือ ความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนนั่นเอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62วรรคหนึ่ง, 89, 106 วรรคหนึ่ง ลงโทษฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 3 ปี4 เดือน คืนธนบัตรของกลางแก่เจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยมีความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีนแต่เพียงบทเดียว เป็นการพิพากษาปรับบทลงโทษความผิดของจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้น หาได้เป็นการพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีเยาวชน จำเป็นต้องมีการสืบพยานเพื่อยืนยันความผิด แม้จำเลยให้การรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเกินประมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา6(7ทวิ)13ทวิ,62,89,106,106ทวิซึ่งความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีนมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำหนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา176วรรคหนึ่งแม้จำเลยมีอายุ17ปีเศษและถ้าศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76ก็ตามก็ยังคงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยเมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานแล้วให้เลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาและต่อมาได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟังโจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์คงเพียงแต่อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยในสถานหนักเท่านั้นถือได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานเช่นนี้ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน และศาลอุทธรณ์ก็ยังคงพิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225แต่อย่างไรก็ดีสำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องโจทก์นั้นย่อมรวมถึงความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทมาตรา62วรรคหนึ่งและมาตรา106ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทและโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยและอ้างบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในฟ้องแล้วความผิดฐานนี้เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานต่อไปก็ได้ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6207/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีเยาวชน: จำหน่ายยาเสพติด-งดสืบพยาน-ความผิดฐานครอบครอง-บทลงโทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเกินประมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและขายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 6(7 ทวิ) 13 ทวิ, 62, 89, 106, 106 ทวิ ซึ่งความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย และขายเมทแอมเฟตามีนมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำหนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ และถ้าศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยเมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพ และศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานแล้วให้เลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาและต่อมาได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟัง โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ คงเพียงแต่อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยในสถานหนักเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน เช่นนี้ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีน และศาลอุทธรณ์ก็ยังคงพิพากษาลงโทษจำเลยจึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่อย่างไรก็ดี สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องโจทก์นั้น ย่อมรวมถึงความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท มาตรา 62 วรรคหนึ่ง และมาตรา 106 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทและโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยและอ้างบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในฟ้องแล้ว ความผิดฐานนี้เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานต่อไปก็ได้ ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันผลิตยาเสพติดและบทบาทของสารวัตรกำนัน การเพิ่มโทษจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยที่3มีน้ำยาแอมเฟตามีนมาเก็บไว้เพื่อนำไปผลิตอีเฟดรีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่2ร่วมกับจำเลยที่1จึงเป็นตัวการในการผลิตอีเฟดรีนแต่เมื่อจำเลยที่3เป็นสารวัตรกำนันมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยและรับใช้สอนกำนันตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457มาตรา44มิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายจึงมิอาจเพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มาตรา10ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองอีเฟดรีนประเภท 2 เพื่อจำหน่าย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 86 (พ.ศ.2536)เรื่อง เปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ได้ประกาศกำหนดให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ประกาศฉบับดังกล่าวนี้ได้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 51 และฉบับที่ 71 ที่เกี่ยวกับอีเฟดรีนแล้ว หลังจากที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 86 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม2536 แล้ว ดังนั้นไม่ว่าอีเฟดรีนจะมีโครงสร้างทางเคมีอยู่ในรูปใดหรือวัตถุตำรับใด หากมีอีเฟดรีนผสมอยู่แล้วให้ถือว่าวัตถุตำรับนั้นเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518
จำเลยที่ 1 มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีถุงพลาสติกขนาดเล็กเพื่อไว้บรรจุแบ่งขายเป็นจำนวนมากเช่นกัน แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อขายอันเป็นการขายตามกฎหมาย
of 4