คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 226 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 185 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานนอกกำหนด: การโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นถือเป็นการอุทธรณ์ได้
การที่ศาลไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลย เพราะมิได้ยื่นภายในกำหนด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 นั้น เมื่อศาลสั่งแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องแถลงถึงความจำเป็นที่มิได้ยื่นภายในกำหนด และขอให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ยื่นคำโต้แย้งคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) แล้ว จำเลยจึงยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ-ใบเสร็จรับเงินหลังบอกเลิกสัญญาเช่า: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลสั่งขาดนัดยื่นคำให้การแล้วจำเลยยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งนั้นกลับอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณายกอุทธรณ์จำเลยไม่ฎีกา ปัญหาเรื่องขอยื่นคำให้การจึงยุติแล้วจำเลยจะกลับยกขึ้นฎีกาอีกเมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนั้นแล้วไม่ได้
โจทก์นำสืบหลักฐานได้น้อยไปกว่าที่ฟ้องไว้ ไม่ถึงกับทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ไม่เกิดขึ้น จนถึงกับจะต้องยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุมูลคดีที่ฟ้องไม่มี
โจทก์บอกเลิกการเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยนำเงินค่าเช่าที่ค้างกับค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าเช่าสำหรับเดือนต่อๆ มาหลังจากบอกเลิกการเช่าแล้วไปชำระเจ้าหน้าที่ผู้รับเงินของโจทก์ด้วยความผิดพลาดได้ออกใบรับให้แก่จำเลยโดยรวมเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าด้วยดังนี้ไม่ถือว่าสัญญาเช่ายังคงผูกพันอยู่ เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไปตั้งแต่โจทก์บอกเลิกการเช่าแล้ว แม้จำเลยจะอยู่ต่อมาก็ได้ชื่อว่าอยู่โดยละเมิดสิทธิโจทก์ นิติสัมพันธ์ทางสัญญาเช่าย่อมไม่เกิดขึ้นใหม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานการชำระราคาซื้อขายที่ดิน และหน้าที่ในการนำสืบของคู่ความ
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินกฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่าย ต้องรับผิดมาแสดง แต่การที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระราคาที่พิพาทกันแล้วนั้น จำเลยย่อมนำสืบได้ ไม่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมเอกสารสัญญาแต่อย่างใด
โจทก์ยื่นคำร้องโต้แย้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำสืบก่อนไม่ชอบ ขอให้สั่งใหม่ให้จำเลยนำสืบก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตตามที่โจทก์ขอ โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่ง กลับแถลงไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นจึงดำเนินการพิจารณาสืบพยานจำเลยจนเสร็จสำนวน และพิพากษาแล้ว โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่นำสืบนี้อีกไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 819/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบการชำระราคาในสัญญาซื้อขายที่ดิน และหน้าที่ในการนำสืบของคู่ความ
แม้สัญญาจะซื้อขายที่ดินกฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายต้องรับผิดมาแสดงแต่การที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระราคาที่พิพาทกันแล้วนั้นจำเลยย่อมนำสืบได้ไม่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมเอกสารสัญญาแต่อย่างใด
โจทก์ยื่นคำร้องโต้แย้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์นำสืบก่อนไม่ชอบขอให้สั่งใหม่ให้จำเลยนำสืบก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตตามที่โจทก์ขอโจทก์ไม่โต้แย้งคำสั่งกลับแถลงไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นจึงดำเนินการพิจารณาสืบพยานจำเลยจนเสร็จสำนวน และพิพากษาแล้วโจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่นำสืบนี้อีกไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 819/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเอกสารมหาชน & การโต้แย้งกระบวนพิจารณา: การนำสืบ & สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติถึงเรื่องพยานเอกสารมหาชนไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอันว่าด้วยการนำสืบเอกสารมหาชนมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และมาตรา 226 บัญญัติไว้
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยอ้างคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานจำเลย แต่จำเลยมิได้ถามค้านโจทก์หรือพยานโจทก์ถึงว่าได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวนอย่างใดไว้ ศาลจึงรับเอาคำให้การชั้นสอบสวนมาเป็นข้อเสื่อมเสียแก่คดีโจทก์ไม่ได้นั้น ปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฝ่ายโจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นจกแจ้งข้อโต้แย้งนี้ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 และ มาตรา 226(2) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติการดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเอกสารมหาชนในคดีอาญา และการโต้แย้งกระบวนพิจารณาที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอน
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติถึงเรื่องพยานเอกสารมหาชนไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำมาตรา 127 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอันว่าด้วยการนำสืบเอกสารมหาชนมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และมาตรา 226 บัญญัติไว้
ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยอ้างคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานจำเลยแต่จำเลยมิได้ถามค้านโจทก์หรือพยานโจทก์ถึงว่าได้ให้การไว้ในชั้นสอบสวนอย่างใดไว้ ศาลจึงรับเอาคำให้การชั้นสอบสวนมาเป็นข้อเสื่อมเสียแก่คดีโจทก์ไม่ได้นั้นปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฝ่ายโจทก์ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นจดแจ้งข้อโต้แย้งนี้ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งคัดค้านไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 และมาตรา 226(2)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติการดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1456/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นศาลและผู้พิพากษา, การใส่ความหมิ่นประมาท, และการเพิ่มเติมฟ้องในคดีอาญา
ขณะที่ ก. ผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีอยู่ จำเลยกำลังนั่งฟังอยู่ข้างนอก ได้พูดกับผู้อื่นว่า " ไม่นึกเลยว่าสำนวนนี้จะมาตกอยู่แก่คนๆ นี้" รูปการณ์เช่นนี้บ่งชัดว่าหมายถึงสำนวนเรื่องนั้นตกแก่ ก. ซึ่งกำลังนั่งพิจารณาอยู่นั้น และศาลจะต้องพิจารณาพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบประกอบคำกล่าวของจำเลยต่อไป จึงจะชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยได้ (แม้คำฟ้องจะมิได้บรรยายถึงพฤติการณ์ต่างๆเหล่านั้นก็ตาม) เมื่อเห็นเจตนาว่า ที่จำเลยกล่าวข้อความนั้นเพราะไม่พอใจที่เห็นสำนวนความเรื่องนั้นตกแก่ ก. ผู้ซึ่งจำเลยเห็นว่าเป็นผู้พิพากษาที่พิจารณาความด้วยอคติไม่ให้ความยุติธรรม จึงได้กล่าวตำหนิ ก. เป็นนัยเช่นนั้น อันมีความหมายไปในทางไม่ดี เป็นที่ระคายเคืองแก่ศักดิ์ศรีของ ก. การกระทำของจำเลยก็เป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีตามมาตรา 198 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยทำโทรเลขและหนังสือกล่าวโทษ ก. ผู้พิพากษาไปยังอธิบดีฯภาค อันเป็นการใส่ความหมิ่นประมาท (ผิดตามมาตรา 326) นั้น ต้องถือว่าเป็นการดูหมิ่น ก. ผู้พิพากษาไปในขณะเดียวกันด้วยว่า พิจารณาคดีไม่เที่ยงธรรม แม้จะมิได้ทำในขณะที่ ก. ทำการพิจารณาคดีอยู่ก็ดีก็นับได้ว่าได้หมิ่นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี ต้องตามมาตรา 198ด้วย เมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 198 แล้ว ก็ไม่เป็นผิดตามมาตรา 136 อีก เพราะกฎหมายบัญญัติแยกความผิดฐานดูหมิ่นผู้พิพากษากับดูหมิ่นเจ้าพนักงานอื่นทั่วๆ ไปไว้ต่างหากจากกัน จึงต้องปรับบทแยกกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2506เฉพาะข้อกฎหมายข้างต้นนี้)
การที่จำเลยกล่าวโทษ ก. ไปนั้น ถือว่าเป็นกรรมเดียวเป็นผิดต่อกฎหมายหลายบทโทษตามมาตรา 198 หนักกว่ามาตรา 326 จึงลงโทษตามมาตรา 198 เพียงบทเดียว
การยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งในระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์เมื่อมีคำพิพากษาแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องยื่นภายหลังทราบคำสั่งแล้วเพียงใดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้อย่างใด ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้อง ศาลสั่งไม่อนุญาตโจทก์ก็ยังไม่ยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์ยังยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นเดียวกับฉบับแรกอีกแล้วจึงยื่นคำแถลงโต้แย้งหรือคัดค้านคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก ดังนี้ โจทก์ก็ชอบที่จะทำได้ ศาลอุทธรณ์จึงรับวินิจฉัยคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องได้
แม้เมื่อได้สืบพยานโจทก์ไปมากแล้ว ก็ยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะขอเพิ่มฟ้อง การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมความในฟ้องว่า "ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวแล้ว"และเพิ่มมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญาลงในคำขอท้ายฟ้อง โดยอ้างว่าเป็นรายละเอียดที่ยังบกพร่องไม่ครบถ้วนเนื่องจากผู้พิมพ์ฟ้องพิมพ์ตกไป ดังนี้ เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดและอ้างบทขอให้ลงโทษตามฐานความผิดที่ได้บรรยายไว้ในฟ้องมาแต่ต้นแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือหลงต่อสู้คดี ชอบที่จะอนุญาตให้เพิ่มเติมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอัยการฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้, องค์ประกอบความผิด ม.350, การเป็นโจทก์ร่วม และข้อจำกัดการต่อสู้คดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหายในคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2,3 นั้นจำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วยฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้นโจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้, องค์ประกอบความผิด, และการยกฟ้องกระทบสิทธิโจทก์ร่วม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนแทนผู้เสียหายในคดีอาญาฐานโกงเจ้าหนี้
ฟ้องไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2, 3 นั้น จำเลยได้กระทำโดยรู้ว่าเจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ไม่ครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการโดยขอถือเอาคำฟ้องของอัยยการเป็นคำฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง จึงหมายความว่าได้ยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วย ศาลจึงใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์ร่วมใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ แม้จะไม่ได้วินิจฉัยคดีทางแพ่งด้วยก็ตาม
เมื่อโจทก์นำสืบ จำเลยมิได้ถามค้านความข้อใดไว้ แล้วจำเลยมานำสืบพิสูจน์ภายหลังในความข้อนั้น โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งและขอให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นไว้ การที่โจทก์เพิ่งมาคัดค้านในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีสัญญากู้เงิน และการนำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับสาเหตุการทำสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินไปก่อนจำเลยให้การโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า กรณีเดิมสามีและบุตรเขยจำเลยกู้เงินโจทก์ แล้วจำเลยทำสัญญารับใช้หนี้ให้ โจทก์แก้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่งมาตรา 179 (2) เพราะเป็นการอธิบายถึงสาเหตุที่จำเลยทำสัญญากู้ให้
เมื่อจำเลยให้การแก้ข้อหาในคำร้องเพิ่มเติมฟ้อง จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านไว้ จะอุทธรณ์ข้อนี้ไม่ได้
เมื่อโจทก์ฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ดังนั้นแล้ว แม้สัญญาที่นำมาฟ้องจะบอกชัดว่าเป็นสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยและว่าได้รับเงินไปแล้วแต่วันทำสัญญา โจทก์ก็นำสืบได้ว่าไม่มีการรับเงินเนื่องจากกรณีเดิมสามีกับบุตรเขยโจทก์กู้ไป ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร
จำเลยลงลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญากู้ โดยมีพยาน 2 คน โจทก์ไม่จำต้องนำพยานเหล่านั้นมาสืบทุกคน
of 19