พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9230/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์คดีริบของกลางที่ไม่ใช่คดียาเสพติด ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งริบรถจักรยานยนต์ของกลางสืบเนื่องจากจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงาน จึงมิใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ดังนี้ เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอลงโทษจำเลย จำเลยปฏิเสธ ผู้เสียหายไม่เบิกความต่อศาล
ผู้เสียหายยังมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะสามารถติดตามตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยานได้ แต่หาได้ดำเนินการไม่จึงมิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) แม้โจทก์จะมี จ. ที่ทราบเหตุการณ์จากผู้เสียหาย และพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนที่เบิกความยืนยันตามเหตุการณ์ที่ได้ทราบจากผู้เสียหายประกอบคำให้การของผู้เสียหายล้วนแต่เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อจำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ พยานหลักฐานของโจทก์ย่อมไม่พอให้รับฟังลงโทษจำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวพันกัน โทษรวมต้องไม่เกิน 50 ปี ศาลฎีกาแก้ไขหมายจำคุก
ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 2,000 เม็ด และเฮโรอีน 1 หลอดบิ๊ก ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจนำจำเลยที่ 1 ไปตรวจค้นที่บ้านพักพบเมทแอมเฟตามีน 4,800 เม็ด และเฮโรอีน 2 หลอดบิ๊ก กับอาวุธปืนลูกซอง 1 กระบอก โจทก์แยกฟ้องเป็น 2 คดี ทั้งที่ลักษณะความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองคดีเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 ทุกกระทงความผิดเป็นคดีเดียวกัน และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1111/2548 ของศาลชั้นต้น จึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อของจำเลยที่ 1 จึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (3) คือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 50 ปี ไม่ได้ เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1111/2548 ของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ได้รับโทษจำคุกมีกำหนด 33 ปี 4 เดือน จึงนำโทษจำคุกในคดีนี้ไปนับต่อจากโทษในคดีดังกล่าวมีกำหนด 16 ปี 6 เดือน เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและการใช้ดุลพินิจของศาลในการสืบพยานคดีควบคุมตัวโดยมิชอบ
การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนอันเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะใช้อำนาจสืบพยานเองโดยพลการ ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 228 ให้อำนาจไว้ ทั้งศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ และพิพากษาคดีไปตามนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องลงวันที่ 4 ธันวาคม 2551 ของผู้ร้องที่ขอให้หมายเรียกพยานอันดับที่ 3 และอันดับที่ 6 ตามบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ของผู้ร้องเพราะเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องของโจทก์ร่วมและการวินิจฉัยความผิดฐานพยายามฆ่า จำเลยต้องรับผิดตามเจตนา
โจทก์ร่วมทั้งสองลงลายมือชื่อท้ายคำร้องจำเลยวันที่ 28 ธันวาคม 2549 ว่า โจทก์ร่วมทั้งสองตกลงยอมรับค่าเสียหายดังกล่าวข้างต้นและได้รับไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ติดใจเรียกร้องอย่างอื่นอีกและไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีกับจำเลยทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกต่อไป แปลความหมายได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสองไม่ติดใจหรือประสงค์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกต่อไป โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่อาจฎีกาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมทั้งสองมาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ และมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมที่ศาลชั้นต้นรับไว้ ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าเหตุอุทธรณ์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย จึงยกฎีกา
คำว่า "ฉ้อฉล" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายว่า ใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวเพื่อให้เขาหลงผิด ดังนั้นข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ที่ว่า จำเลยร้องไห้โอดครวญ ก้มลงกราบเท้าโจทก์ที่ 1 และพูดจาหว่านล้อมโจทก์ที่ 1 ให้ช่วยพูดขอร้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ให้ยกที่ดินพิพาทแก่จำเลย และจำเลยจะจ่ายเงิน 5,000,000 บาท เป็นค่าตอบแทน หากไม่ยอมทำตามจำเลยจะฆ่าตัวตายทันทีนั้น จึงมิใช่เป็นการฉ้อฉล โจทก์ที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่อาจอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ที่ว่า โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 6 มิได้เข้าร่วมไกล่เกลี่ยด้วย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น ก็หาใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ จึงไม่เข้าเหตุหนึ่งเหตุใดตามข้อยกเว้นใน ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ ที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 มา และศาลอุทธรณ์ภาค 5 รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ ถือว่าปัญหาดังกล่าวเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 โจทก์ที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาปัญหาดังกล่าวต่อมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17095/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สิน: การไถตออ้อยในที่ดินเช่าหลังเลิกสัญญา
โจทก์เช่าที่ดิน น.ค.3. จาก ม. เพื่อทำไร่อ้อย มีกำหนดระยะเวลาการเช่า 6 ปี การปลูกอ้อยของโจทก์เป็นการอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าและต้นอ้อยเป็นไม้ล้มลุก จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ทั้งสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับ ม. ก็ไม่มีข้อความใดระบุให้ต้นอ้อยหรือตออ้อยตกเป็นสิทธิของ ม. หลังสัญญาเช่าเลิกกัน ดังนั้น การที่ ม. ตกลงเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์หลังจากโจทก์ตัดอ้อยของปีที่ 4 และ ม. ขายที่ดินแก่ ล. ก็ไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในต้นอ้อยตกไปเป็นของ ล. แม้ ล. จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ก็ไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างนำรถเข้าไถตออ้อยของโจทก์โดยพลการ แม้จำเลยจะกระทำตามคำสั่งของ ล. เจ้าของที่ดิน แต่จำเลยก็ทราบว่าตออ้อยเป็นของโจทก์ซึ่งเช่าที่ดินจาก ม. ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16571/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดหลังกระทำผิด และผลต่อการกำหนดโทษใหม่ของผู้ต้องหา
ในระหว่างที่จำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาซึ่งคดีถึงที่สุด ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยตามมาตรา 65 วรรคสอง (เดิม) กำหนดไว้ว่า ผู้ใดผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต ส่วนในมาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่ กำหนดแยกบทลงโทษกรณีผลิตโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม (3) คือไม่ถึง 3 กรัม หากเป็นการผลิตเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 วรรคสี่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท เช่นนี้ ความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ จะเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิมตามมาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด เฉพาะในกรณีที่เป็นการผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายโดยการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุ และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (3) (ใหม่) คือไม่ถึง 3 กรัม เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยผลิตเฮโรอีนโดยการแบ่งบรรจุใส่หลอดพลาสติก 150 หลอด น้ำหนัก 142.007 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 91.865 กรัม แม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้บรรยายว่า เฮโรอีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องมาแล้วว่า จำเลยผลิตเฮโรอีนโดยการแบ่งจากห่อแล้วบรรจุใส่หลอดพลาสติก 150 หลอด น้ำหนัก 142.007 กรัม อันเป็นการบรรยายฟ้องมาครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 65 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแล้ว เมื่อเฮโรอีนของกลางมีปริมาณสารบริสุทธิ์ 91.865 กรัม เกินกว่าที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม (3) จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 65 วรรคสี่ ที่แก้ไขใหม่ กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ส่วนกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง (เดิม) และมาตรา 65 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียวเท่ากัน กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ที่ศาลจะกำหนดโทษจำเลยในความผิดฐานผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15919/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น.ส.3ก.ออกโดยมิชอบ สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 4410 เป็นการออกเฉพาะราย โดยมีการนำหลักฐาน ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นมาเป็นหลักฐาน เป็นการออก น.ส.3 ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องเพิกถอนตามมาตรา 61 แห่ง ป.ที่ดิน ซึ่งตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า จำเลยนำ น.ส.3 ก. ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาหลอกขายให้โจทก์และได้รับเงิน 660,000 บาท จำเลยไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินแปลงนั้น โจทก์ซื้อที่ดินมาไม่ได้สิทธิครอบครอง การที่โจทก์เข้าทำสัญญาซื้อขายกับจำเลยจึงเป็นการทำสัญญาโดยสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จึงต้องคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 412 ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าที่ดินได้ และการฟ้องคดีของโจทก์เป็นการติดตามเอาเงินคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และเมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่ามีการทวงถามจำเลยให้ชำระเงินคืนเมื่อไร จำเลยต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15831/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายต่อทรัพย์สิน: กำหนดจำนวนเงินที่ถูกต้องตามจริงเพื่อป้องกันการได้รับประโยชน์เกินควร
โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์กะบะราคา 840,000 บาท ขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ รถยนต์คันนี้โจทก์ร่วมชำระเงินดาวน์และเงินผ่อนไป 196,000 บาท ปัจจุบันบริษัทประกันภัยจ่ายเงินให้แก่บริษัทไฟแนนซ์ไปแล้ว ดังนี้ โจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องราคารถยนต์ที่สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 จำนวน 196,000 บาท ไม่ใช่ 840,000 บาท มิฉะนั้นโจทก์ร่วมย่อมได้กำไรเกินกว่าราคาที่สูญเสียไป และจำเลยทั้งสามอาจต้องชำระราคารถยนต์ซ้ำซ้อนในกรณีบริษัทประกันภัยใช้สิทธิไล่เบี้ยฟ้องคดีแพ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247