พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15189/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิรูปที่ดินและสภาพป่าสงวน: การเพิกถอนสภาพป่าสงวนต้องเกิดหลังการจัดสรรที่ดิน
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 บัญญัติว่า "เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว (4) ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น..." แม้ปรากฏว่ามี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในท้องที่อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน และกิ่งอำเภอโพนสวรรค์ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2534 ก็ตาม แต่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทำการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติยังคงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม จนกว่าจะได้มีการส่งมอบพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อดำเนินการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดต่อไป หากจะถือว่าการประกาศ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินแปลงใด มีผลเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติในทันที ก็จะเป็นการส่งเสริมให้บุคคลใด ๆ บุกรุกเข้ามาทำประโยชน์หรือเข้าครอบครองที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 อันจะเป็นช่องว่างของกฎหมาย บทบัญญัตินี้จึงมุ่งหมายให้ ส.ป.ก. เข้าไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรกรรมในพื้นที่ป่านั้นและจัดสรรให้ผู้ได้รับอนุญาตก่อน จึงจะถือเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและที่ดินของรัฐ เมื่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครพนมได้ออกประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเกิดเหตุหลังจากที่ผู้ร้องถูกดำเนินคดีนี้แล้ว ดังนั้น ในขณะที่ผู้ร้องกระทำความผิดคดีนี้ ผู้ร้องจึงยังไม่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเกิดเหตุ การจัดสรรที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินยังไม่เสร็จสิ้น ที่ดินเกิดเหตุจึงยังมีสภาพเป็นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่ การกระทำของผู้ร้องจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งรวมถึงที่ดินเกิดเหตุ ก็เป็นเพียงทำให้การครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของผู้ร้องนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย แต่ไม่มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดก่อนหน้าที่ผู้ร้องจะได้รับอนุญาต กรณีหาใช่เป็นเรื่องมีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังทำให้การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นความผิดต่อไปตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20484/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีตามสัญญาประกัน: การเปลี่ยนจากอัยการเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลังแก้กฎหมาย
แม้ขณะที่ผู้คัดค้านผิดสัญญาประกัน พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกัน ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (8) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมความใน ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดยวางหลักเกณฑ์ว่า หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 ดังนี้ อำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันจึงเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องนับแต่วันดังกล่าวด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้เพิกถอนหมายบังคับคดีเฉพาะผู้คัดค้าน รวมถึงการดำเนินการบังคับคดีแก่ผู้คัดค้านตามหมายบังคับคดี ผู้ที่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน มิใช่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16397/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเมื่อจำเลยถอนอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวข้องกับจำเลยนั้นต่อไป
คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 6 อุทธรณ์ เมื่อจำเลยที่ 6 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 ถอนอุทธรณ์เฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยที่ 6 เท่านั้น แล้วพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันต่อไป แต่ศาลอุทธรณ์กลับมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของจำเลยที่ 6 ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14806/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: ผู้กู้และผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดในส่วนเกินหลังบังคับจำนอง หากสัญญามิได้ระบุข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 733
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ยืมและบังคับจำนอง เมื่อตามสัญญาจำนองมิได้ตกลงยกเว้นความใน ป.พ.พ. มาตรา 733 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในเงินส่วนที่ขาดหลังจากการบังคับจำนอง และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วยตามมาตรา 698 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14804/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรมชลประทานร้องขอบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตชลประทาน แม้คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำเขตชลประทานประเภท 2 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 23, 37 วรรคหนึ่ง และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกจากเขตชลประทานชานคลอง 17 มิใช่กรณีที่พนักงานอัยการขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43, 44, 50 ผู้ร้องซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเขตชลประทานชานคลอง จึงมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้อีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากที่โจทก์สามารถร้องขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13936/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: รถยนต์กระบะที่ใช้ขนส่งยาเสพติดเพื่อจำหน่าย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเสพกัญชา เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยได้พร้อมกัญชาดังกล่าว และรถยนต์กระบะที่จำเลยใช้เป็นยานพาหนะในการนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 มาจำหน่าย ซึ่งเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นใดที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเป็นของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12066/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด-ผูกพันจำเลย: การซื้อขายสินค้าผ่านผู้จัดการ/กรรมการ จำเลยต้องรับผิด
ถ. ผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลย ติดต่อกับโจทก์ขอซื้อผลิตภัณฑ์นม โดยโทรสารจากสำนักงานจำเลย หลังจากโจทก์ส่งสินค้าครบแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยสั่งจ่ายเช็คชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เห็นได้ว่า ถ. และจำเลยร่วมต่างเป็นผู้กระทำการแทนจำเลย หาก ถ. ขายหรือสั่งซื้อสินค้าโดยอ้างว่ากระทำไปในฐานะผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยบุคคลภายนอกย่อมเข้าใจได้ว่า เป็นการสั่งสินค้าโดยจำเลย ส่วนจำเลยร่วมเป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งของจำเลย เมื่อจำเลยร่วมแสดงเจตนาในการขายหรือซื้อสินค้ากับบุคคลภายนอก บุคคลนั้นย่อมเข้าใจได้ว่าตนซื้อขายสินค้ากับจำเลย การกระทำของ ถ. และจำเลยร่วมจึงเป็นตัวแทนเชิดของจำเลย จำเลยต้องผูกพันในการซื้อขายสินค้ากับโจทก์ ส่วนที่ใบสั่งซื้อสินค้าที่ส่งให้โจทก์ไม่มีลายมือชื่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อก็เป็นระเบียบภายในของจำเลยเท่านั้นและการส่งสินค้าให้แก่บุคคลอื่น ในสถานที่อื่นมิใช่ที่ทำการของจำเลยไปตามที่ระบุในใบสั่งซื้อสินค้า ก็เป็นปกติของการค้าขายที่ผู้ซื้ออาจขายต่อหรือนำสินค้าไปส่งต่อตามทางธุรกิจของตน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11339/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาที่ไม่ระบุเวลาเกิดเหตุ หากรายละเอียดในฟ้องทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
คำว่า เวลา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) หมายความถึง วันเดือนปีด้วย ไม่ใช่หมายความเฉพาะเวลากลางวันหรือกลางคืน ฟ้องที่ไม่ได้กล่าวถึงเวลากลางวันหรือกลางคืนจะไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไปว่าฟ้องนั้นกล่าวถึงเวลาพอให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีหรือไม่ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2551 จำเลยทั้งสองร่วมกันลักเครื่องปรับอากาศยี่ห้อมิตซูบิชิ พร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง จำนวน 59 ชุด รวมราคา 1,482,119.83 บาท ไปจากคลังสินค้าเอกมัยของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 แสร้งขออนุมัติการขายต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุมัติ ณ บริษัทโจทก์ ด้วยการขอเปิดสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษี 5 ชุด อ้างว่าลูกค้ารายห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต. และห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ประสงค์จะซื้อสินค้า 59 ชุด ข้างต้น ซึ่งไม่เป็นความจริงเพราะลูกค้าโจทก์ทั้งห้ารายดังกล่าวไม่ได้สั่งซื้อสินค้าข้างต้นแต่อย่างใด ความจริงแล้วจำเลยที่ 1 ได้ขอให้จำเลยที่ 2 เปิดบิลขออนุมัติขายสินค้าเครื่องปรับอากาศ 59 ชุดข้างต้น เพื่อประสงค์หักล้างสต๊อกสินค้าในคลังสินค้าเอกมัยที่ขาดจำนวน เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์ดังกล่าวโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ในช่วงเวลาใด
ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ขออนุมัติการขายเครื่องปรับอากาศ 59 ชุด ต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุมัติเพื่อหักล้างสต็อกสินค้าในคลังสินค้าเอกมัยที่ขาดจำนวนนั้น ก็เป็นเพียงการบรรยายฟ้องให้เห็นการปกปิดการกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้ฟ้องมีความขัดแย้งกันดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา
ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ขออนุมัติการขายเครื่องปรับอากาศ 59 ชุด ต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุมัติเพื่อหักล้างสต็อกสินค้าในคลังสินค้าเอกมัยที่ขาดจำนวนนั้น ก็เป็นเพียงการบรรยายฟ้องให้เห็นการปกปิดการกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้ฟ้องมีความขัดแย้งกันดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10471/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในคำฟ้องอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อด้วยตนเอง หรือทนายความลงชื่อแทนไม่ได้
การที่โจทก์ทั้งสองมิได้ลงชื่อในคำฟ้องคดีอาญา แต่ให้ทนายโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10020/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันในหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่แยกจากหนี้เงินกู้หลัก
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ด้วย โดยจำเลยที่ 1 ต้องเอาประกันภัยทรัพย์จำนอง โจทก์ได้ออกเงินทดรองจ่ายเบี้ยประกันแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน หนี้ค่าเบี้ยประกันภัยทรัพย์จำนองเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากสัญญาจำนอง จึงไม่เกี่ยวกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันและหลุดพ้นจากความรับผิดเนื่องจากหนี้ดังกล่าวขาดอายุความ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความรับผิดในหนี้ค่าเบี้ยประกันภัย