คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ม. 10 วรรคท้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคืนเงินค่าอากร, การวางประกันค่าอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร, และการสำแดงเท็จ
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 40 และ 112 ต่างมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการวางเงินประกันค่าอากร แต่มาตรา 112 เป็นการวางเงินประกันกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากร แตกต่างจากมาตรา 40 ที่เป็นการวางประกันกรณีที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากร เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าโจทก์สำแดงเท็จและโจทก์ได้วางเงินประกันตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีจึงเป็นการวางเงินประกันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามมาตรา 112 เมื่อมีการคืนเงินประกัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามมาตรา 112 จัตวา วรรคสี่
โจทก์ได้ชำระค่าอากรเฉพาะตามจำนวนที่สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มโจทก์ได้วางเงินประกันไว้ เงินประกันดังกล่าวมิใช่เงินอากรที่โจทก์ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 10 วรรคท้าย เมื่อไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ประกอบมาตรา 193/12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาสินค้าศุลกากร: การประเมินราคาต้องอาศัยหลักฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินโดยมิพิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคท้าย บัญญัติว่า "สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี..." หมายถึง ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112,112 ทวิโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ได้ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไปในระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม2541 และได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 ยังไม่พ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนค่าอากรและการประเมินราคาศุลกากร: พิจารณาแยกแต่ละเที่ยวสินค้า
ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคท้าย ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินไว้ภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112, 112 ทวิ โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมิน ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้โจทก์จะนำใบขนสินค้าทั้ง 12 เที่ยว จำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาพ้องรวมเป็นคดีเดียวกัน แต่ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องด้วยพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยวที่โจทก์นำเข้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนภาษีอากรและการประเมินราคาที่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร
การขอคืนเงินภาษีอากรในจำนวนที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงภายในสองปีนับแต่วันนำของเข้าเพราะเหตุเกี่ยวด้วยราคาแห่งของใด ๆ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา10 วรรคท้าย นั้น จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะขอคืนเงินภาษีอากรในจำนวนที่เห็นว่าเสียไว้เกินจำนวนที่พึงเสียจริง มิฉะนั้นย่อมไม่มีสิทธิขอคืนไม่ว่าจะอยู่ในระยะ 2 ปี หรือไม่ การขอคืนหนังสือค้ำประกันมิใช่การขอคืนเงินภาษีอากรจึงไม่ต้องห้ามด้วยบทบัญญัติของมาตรา 10 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ต้องบังคับด้วยอายุความทั่วไป10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 กระบอกลูกสูบเครื่องยนต์ที่โจทก์นำเข้านอกจากจะมีเครื่องหมายการค้ายี่ห้อ เอ็น.พี.อาร์. แล้ว ยังมีเครื่องหมายการค้าอื่นด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำสินค้าดังกล่าวของโจทก์ที่มียี่ห้อฮีโน่ประทับอยู่ไปเปรียบเทียบกับอะไหล่แท้ซึ่งเป็นสินค้ายี่ห้อฮีโน่ ปรากฏว่าเป็นสินค้าที่มีเนื้อโลหะ ขนาด และน้ำหนักเหมือนกันทุกประการ ส่วนสินค้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้ายี่ห้ออีซูซุหรือโตโยต้านั้น แม้จะไม่ปรากฏผลการเปรียบเทียบก็ตาม แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากอะไหล่แท้ดังกล่าวอย่างไร จึงต้องถือว่าสินค้าของโจทก์มีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามราคาของอะไหล่แท้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความขอคืนเงินอากรศุลกากร และการประเมินราคาที่ชอบด้วยกฎหมาย
การขอคืนเงินอากรในจำนวนที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงภายในสองปีนับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคท้าย นั้น จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะขอคืนเงินอากรในจำนวนที่เห็นว่าเสียไว้เกินจำนวนที่พึงเสียจริงก่อนการส่งมอบ มิฉะนั้นย่อมไม่มีสิทธิขอคืนไม่ว่าจะอยู่ในระยะเวลา 2 ปี หรือไม่ การขอคืนหนังสือค้ำประกันมิใช่การขอคืนเงินอากร จึงไม่ต้องห้ามด้วยบทบัญญัติของมาตรา 10 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ. 2469 จึงต้องบังคับด้วยอายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164.