พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินงอก: การครอบครอง, สาธารณสมบัติ, และระยะเวลาการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
เดิมที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งที่น้ำท่วมถึงจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ที่พิพาทเพิ่งกลายเป็นที่งอกหลังจากมีการสร้างถนนเมื่อ 4 ถึง 5 ปี มานี้ ดังนั้นก่อนหน้าที่พิพาทเป็นที่งอกแม้โจทก์จะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ หลังจากที่พิพาทกลายเป็นที่งอกที่เชื่อมติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่งอกพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9817-9819/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำกกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ไม่มีสิทธิออกโฉนด
เดิมบริเวณที่พิพาทเป็นเกาะอยู่กลางแม่น้ำกก ต่อมาแม่น้ำกกเปลี่ยนทางเดินของน้ำลงมาทางทิศใต้ ทำให้ แม่น้ำกกส่วนที่อยู่ระหว่างเกาะกับที่ชายตลิ่งตื้นเขินขึ้นน้ำท่วมไม่ถึง ทำให้เกาะกับตลิ่งเชื่อมติดต่อกันกลายเป็นที่พิพาท ที่พิพาทจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) แม้โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา ก็หามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่จะยันต่อรัฐได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน: สิทธิการครอบครองต่อเนื่องจากผู้อื่น และระยะเวลาการครอบครองที่ยังไม่ครบกำหนด
ผู้คัดค้านที่ 1 มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2699เนื้อที่ประมาณ 3 งาน 35 ตารางวา ผู้คัดค้านที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2700 เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 41 ตารางวา เดิมที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่งอกริมตลิ่งที่น้ำท่วมไม่ถึงหน้าที่ดินตราจองเลขที่ 1493 และ 1494 ของผู้คัดค้านทั้งสอง เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2515 ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำขอรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท ส.บิดาผู้ร้องที่ 1 คัดค้าน แต่เจ้าพนักงานที่ดินก็ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสอง ต่อมา ส.ได้ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองและเจ้าพนักงานที่ดินขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ระหว่างพิจารณา ส.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส.ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส.คดีดังกล่าว ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" เลขที่ 1493 และ1494 จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 และถือว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินมือเปล่าแต่เป็นที่ดินอยู่ในตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว"ของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวในลักษณะเป็นส่วนควบ ส่วนการที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่ที่ดินพิพาทเป็นเพียงการปฏิบัติเพื่อให้ที่ดินพิพาทมีหนังสือสำคัญตามประเภทที่ดินเท่านั้น ส.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสอง ส.คัดค้านการออกโฉนดที่ดินถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสองมาเป็นการยึดถือเพื่อตนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสองทราบแล้วโดยปริยายเมื่อปี 2515 แต่ส.เพิ่งมาฟ้องกล่าวอ้างว่า ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2517 หลังบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพียงสองปียังไม่ครบสิบปี ส.จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382ดังนี้ระยะเวลาที่ ส.บิดาผู้ร้องที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันคัดค้านการออกโฉนดที่ดินจนถึงวันฟ้องคดีแพ่ง และนับถึงวันฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้นส.และผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดี ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนผู้คัดค้านทั้งสองเท่านั้น เมื่อผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทสืบสิทธิต่อจาก ส. ผู้ร้องทั้งสองจึงนับเวลาการครอบครองในระหว่างคดีดังกล่าวมารวมเข้ากับเวลาที่ ส.ครอบครองและผู้ร้องทั้งสองครอบครองไม่ได้ เพราะการที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดีกับเจ้าของที่ดิน คู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และแม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิใช่คู่ความเดียวกับโจทก์ในคดีก่อน แต่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยสืบสิทธิต่อจากโจทก์ในคดีก่อน ต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสองในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน ผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่า ส.ครอบครองที่ดินพิพาทเพียงสองปียังไม่ครบสิบปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1382 ย่อมผูกพันผู้ร้องทั้งสองด้วย ทั้งหลังจากศาลฎีกาพิพากษาคดีนั้นแล้วจนถึงวันที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องคดีนี้ ผู้ร้องทั้งสองก็เพิ่งครอบครองที่ดินพิพาทมายังไม่ถึง 1 ปีผู้ร้องทั้งสองยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท: ผลของคำพิพากษาเดิมผูกพันผู้สืบสิทธิ และระยะเวลาการครอบครองต่อเนื่อง
เดิมที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่งอกริมตลิ่งที่ น้ำท่วมไม่ถึงหน้าที่ดินตราจองเลขที่ 1493 และ 1494 ของผู้คัดค้านทั้งสอง ปี 2515 ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำขอ รังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท ส. บิดาผู้ร้องที่ 1 คัดค้านแต่เจ้าพนักงานที่ดินก็ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดินให้แก่ ผู้คัดค้านทั้งสอง ต่อมา ส. ได้ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองและเจ้าพนักงานที่ดินขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว ระหว่างพิจารณา ส. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ส. ศาลชั้นต้นอนุญาตคดีดังกล่าว ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดโดย วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" เลขที่ 1493 และ 1474จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 การที่ ส.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านทั้งสองและคัดค้านการ ออกโฉนดที่ดิน ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือมาเป็นการยึดถือเพื่อตนเมื่อปี 2515 แต่ ส.เพิ่งมาฟ้องกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2517 หลังบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพียง 2 ปี ส. จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ดังนี้ระยะเวลาที่ ส. บิดาผู้ร้องที่ 1 ครอบครองที่ดิน พิพาทนับแต่วันคัดค้านการออกโฉนดที่ดิน จนถึงวันฟังคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวนั้น ต้องถือว่า เป็นการครอบครองแทนผู้คัดค้านทั้งสองเท่านั้น เมื่อผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท สืบสิทธิต่อจาก ส. ผู้ร้องทั้งสองจึงนับเวลาการครอบครองในระหว่างคดีดังกล่าวมารวมเข้ากับเวลาที่ ส. ครอบครองและผู้ร้องทั้งสองครอบครองไม่ได้ เพราะการที่คู่ความฝ่ายหนึ่งครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดีกับเจ้าของที่ดินคู่ความฝ่ายนั้นจะอ้างว่าได้ครอบครองปรปักษ์ต่อ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิใช่คู่ความเดียวกับโจทก์ในคดีก่อน แต่ผู้ร้องทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทโดยสืบสิทธิต่อจากโจทก์ ในคดีก่อน ต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองและผู้คัดค้านทั้งสอง ในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกัน ผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่า ส. ครอบครองที่ดินพิพาทเพียงสองปียังไม่ครบสิบปีจึงไม่ได้ กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ย่อมผูกพันผู้ร้องทั้งสองด้วย ทั้งหลังจากศาลฎีกาพิพากษา คดีนั้นแล้วจนถึงวันที่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอคดีนี้ ผู้ร้องทั้งสองเพิ่งครอบครองที่ดินพิพาทมายังไม่ถึง 10 ปี ผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำทำลายทรัพย์สินบนที่สาธารณะ การกระทำละเมิด และหน้าที่ของเทศบาล
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบที่พิพาทและปลูกไม้ยืนต้นตามที่ระบุชื่อไว้ในที่พิพาท โดยระบุจำนวนเนื้อที่ และแสดงแผนที่พิพาทไว้ตามเอกสารท้ายฟ้อง แล้วถูกจำเลยบุกรุกทำลายต้นไม้ยืนต้นและเสารั้วขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงแสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาข้ออ้างซึ่งใช้เป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับโดยชัดเจนพอเข้าใจได้แล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าต้นไม้ชนิดใดถูกทำลายจำนวนเท่าใด เสารั้วลวดหนามปักอยู่บริเวณใดบ้าง เป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณีกระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติ ที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304
แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณีกระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติ ที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304
แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดินสาธารณะ การรื้อถอนทรัพย์สิน และค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้แล้วว่าโจทก์ได้ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบที่พิพาทและปลูกไม้ยืนต้นตามที่ ระบุชื่อไว้ในที่พิพาท โดยระบุจำนวนเนื้อที่ และแสดง แผนที่พิพาทไว้ตามเอกสารท้ายฟ้อง แล้วถูกจำเลยบุกรุกทำลายต้นไม้ยืนต้นและเสารั้ว ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องฟ้องของโจทก์จึงแสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างซึ่งใช้เป็นหลักแห่งข้อหาตลอดจนคำขอบังคับโดยชัดเจน พอเข้าใจได้แล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าต้นไม้ชนิดใด ถูกทำลายจำนวนเท่าใด เสารั้วลวดหนามปักอยู่บริเวณใดบ้างเป็นเรื่องรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเกิดจากกรณี กระแสน้ำพัดพาเอาดิน กรวด ทราย มากองทับถมสูงขึ้นจนกลายเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินโฉนดตามฟ้องของโจทก์ตามธรรมชาติที่พิพาทจึงเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินที่ประชาชน ใช้ร่วมกัน ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 แม้ที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าเป็นที่งอกของที่ดินโจทก์แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ และเทศบาลจำเลยมีหน้าที่ดูแลที่ดินสาธารณะ ด้วยก็ตาม แต่จำเลยก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและไม่มีอำนาจที่จะทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในที่สาธารณะโดยพลการ การที่จำเลยได้ร่วมรื้อถอนเสารั้วลวดหนามโค่นตัดฟันต้นไม้ที่โจทก์ปลูกไว้ในที่พิพาทและไถกลบบ่อน้ำของโจทก์ในที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7435/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทเป็นท้องทางน้ำตื้นเขิน ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดิน
เดิมที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำ แต่ปัจจุบันติดที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยาวไปทางแม่น้ำ 61.80 เมตร สภาพของที่ดินพิพาทกับที่ดินอื่นซึ่งติดกับที่ดินพิพาทเป็นแนวยาวทอดไปตามริมแม่น้ำหลายกิโลเมตร ที่ดินพิพาทส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นที่ลุ่่ม ต่ำกว่าที่ดินของโจทก์ จากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ลุ่มขึ้นไปทางทิศเหนือมีลักษณะค่อย ๆ ลุ่ม ลึกลงบางตอนลึกท่วมศีรษะ ส่วนทางด้านทิศใต้ก็เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะลุ่มลึกน้อยกว่า เมื่อที่ดินพิพาทและที่ดินที่ทอดเป็นแนวยาวไปตามแนวแม่น้ำนั้น เกิดจากกระแสน้ำได้เซาะที่ดินฝั่งตรงกันข้ามและบริเวณดังกล่าวน้ำไม่ไหลหมุนเวียน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กับที่ดินพิพาทเดิมมีลำรางคั่นน้ำท่วมถึงทุกปี แต่ระยะหลังลำรางตื้นเขิน เพราะมีเขื่อนกั้นทำให้น้ำเปลี่ยนทางเดิน เป็นที่งอกยาวไปตามแนวแม่น้ำ ที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการที่น้ำพัดพาเอาดินจากที่อื่นมาทับถมกันที่ริมตลิ่งตามธรรมชาติจนน้ำท่วมไม่ถึงทำให้เกิดที่ดินงอกออกไปจากริมตลิ่งแต่เป็นทางน้ำที่ตื้นเขิน ขึ้นเพราะน้ำเปลี่ยนทางเดิน และเดิมที่ดินพิพาทเป็นเกาะมีลำคลองกั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือและทางทิศใต้มีคลอง แต่ทางราชการได้ปิดกั้นคลองทำให้ลำคลองที่กั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตั้นเขิน น้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงไปติดกับที่ดินของโจทก์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดิมสภาพของที่ดินพิพาทเป็นเกาะเมื่อลำรางที่กั้นระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินและน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงติดกับที่ดินของโจทก์ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ดินที่งอกออกไปจากริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามธรรมชาติแต่เป็นท้องทางน้ำที่ตื้นเขิน แล้วขยายเข้ามาติดที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7435/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินพิพาทมิได้งอกริมตลิ่ง แต่เกิดจากการตื้นเขินของลำน้ำ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เดิมที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกติดแม่น้ำ แต่ปัจจุบันติดที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยาวไปทางแม่น้ำ 61.80 เมตร สภาพของที่ดินพิพาทกับที่ดินอื่นซึ่งติดกับที่ดินพิพาทเป็นแนวยาวทอดไปตามริมแม่น้ำหลายกิโลเมตร ที่ดินพิพาทส่วนที่ติดกับที่ดินของโจทก์มีลักษณะเป็นที่ลุ่มต่ำกว่าที่ดินของโจทก์ จากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นที่ลุ่มขึ้นไปทางทิศเหนือมีลักษณะค่อย ๆ ลุ่มลึกลงบางตอนลึกท่วมศีรษะ ส่วนทางด้านทิศใต้ก็เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะลุ่มลึกน้อยกว่า เมื่อที่ดินพิพาทและที่ดินที่ทอดเป็นแนวยาวไปตามแนวแม่น้ำนั้น เกิดจากกระแสน้ำได้เซาะที่ดินฝั่งตรงกันข้ามและบริเวณดังกล่าวน้ำไม่ไหลหมุนเวียน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์กับที่ดินพิพาทเดิมมีลำรางคั่น น้ำท่วมถึงทุกปี แต่ระยะหลังลำรางตื้นเขินเพราะมีเขื่อนกั้นทำให้น้ำเปลี่ยนทางเดิน เป็นที่งอกยาวไปตามแนวแม่น้ำ ที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการที่น้ำพัดพาเอาดินจากที่อื่นมาทับถมกันที่ริมตลิ่งตามธรรมชาติจนน้ำท่วมไม่ถึงทำให้เกิดที่ดินงอกออกไปจากริมตลิ่ง แต่เป็นทางน้ำที่ตื้นเขินขึ้นเพราะน้ำเปลี่ยนทางเดิน และเดิมที่ดินพิพาทเป็นเกาะมีลำคลองกั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือและทางทิศใต้มีคลอง แต่ทางราชการได้ปิดกั้นคลองทำให้ลำคลองที่กั้นกลางระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงไปติดกับที่ดินของโจทก์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเดิมสภาพของที่ดินพิพาทเป็นเกาะ เมื่อลำรางที่กั้นระหว่างที่ดินพิพาทกับที่ดินของโจทก์ตื้นเขินและน้ำท่วมไม่ถึง ที่ดินพิพาทจึงติดกับที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ดินที่งอกออกไปจากริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ตามธรรมชาติแต่เป็นท้องทางน้ำที่ตื้นเขินแล้วขยายเข้ามาติดที่ดินของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอก-ริมตลิ่งของที่ดินโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินงอกริมตลิ่ง: คำสั่งศาลเดิมผูกพันหรือไม่เมื่อมีสิทธิดีกว่า
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)บัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่าคำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าคดีนี้โจทก์นำพยานมาสืบได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่ครบ10ปีจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินของโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1308โจทก์พิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้ คำพิพากษาที่ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)นั้นมิได้หมายถึงเฉพาะกรณีคำพิพากษาในคดีที่มีคู่ความตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเท่านั้นดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีไม่มีข้อพิพาทที่สั่งว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา145(2)ด้วย โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลยจึงถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: ผลผูกพันคำสั่งศาลต่อบุคคลภายนอกและการพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่า
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) บัญญัติข้อยกเว้นไว้ว่า คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า คดีนี้โจทก์นำพยานมาสืบได้ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทยังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งจากที่ดินของโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1308 โจทก์พิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจึงใช้ยันโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) นั้นมิได้หมายถึงเฉพาะกรณีคำพิพากษาในคดีที่มีคู่ความตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเท่านั้นดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีไม่มีข้อพิพาทที่สั่งว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 145 (2) ด้วย
โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลย จึงถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา142 (5) และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว
คำพิพากษาที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 (2) นั้นมิได้หมายถึงเฉพาะกรณีคำพิพากษาในคดีที่มีคู่ความตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปเท่านั้นดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีไม่มีข้อพิพาทที่สั่งว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องขอในคดีดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงอยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 145 (2) ด้วย
โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่จำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินกับจำเลย จึงถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา142 (5) และการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีดังกล่าว