พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความ/เบิกความเท็จ – ความผิดฐานแจ้งความ/เบิกความเท็จและฐานข่มขืนกระทำชำเรา – เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่
คำฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนตามคำบอกเล่าของเด็กหญิง อ. บุตรสาวอายุ 8 ปี ว่าเด็กหญิง อ.ได้ถูกเด็กชายไม่ทราบชื่อซึ่งอยู่ในโรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราโดยมิได้กล่าวยืนยันถึงตัวผู้ข่มขืนว่า เป็นเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความถึงเรื่องที่เด็กหญิง อ. ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่า เป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรานั้น ก็เป็นการเล่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการชี้ตัวผู้กระทำผิดเท่านั้น มิใช่จำเลยที่ 1 กล่าวยืนยันเองเมื่อคำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่า ผู้ถูกข่มขืนมิได้เล่าข้อเท็จจริงเช่นนั้นแก่จำเลยที่ 1 หรือมิได้ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่าเป็นผู้กระทำผิด คำฟ้องโจทก์ดังกล่าวจึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172,173,174
ฟ้องข้อหาฐานเบิกความเท็จว่าจำเลยที่ 1 เบิกความว่า เมื่อเด็กหญิง อ. บอกว่าถูกเด็กชายที่โรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราก็ไปแจ้งความโดยมิได้เบิกความยืนยันว่าผู้ข่มขืนกระทำชำเราคือบุตรโจทก์ และจำเลยที่ 2 เบิกความไปตามคำบอกกล่าวของเด็กหญิง อ. แล้วเล่าถึงข้อเท็จจริงที่เด็กหญิง อ. ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่าเป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรานั้น เมื่อข้อที่ว่าเด็กหญิง อ. บอกเล่าแก่จำเลยแต่ละคนจริงหรือไม่ และชี้ตัวบุตรโจทก์จริงหรือไม่ มิใช่เหตุการณ์ที่โจทก์กล่าวหาว่าเป็นความเท็จ ดังนั้น คำเบิกความของจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 ได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมคุมขังเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ตามที่ได้รับแจ้งความนั้นเป็นเรื่องของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งได้กระทำไปตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายหาใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310
ฟ้องข้อหาฐานเบิกความเท็จว่าจำเลยที่ 1 เบิกความว่า เมื่อเด็กหญิง อ. บอกว่าถูกเด็กชายที่โรงเรียนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราก็ไปแจ้งความโดยมิได้เบิกความยืนยันว่าผู้ข่มขืนกระทำชำเราคือบุตรโจทก์ และจำเลยที่ 2 เบิกความไปตามคำบอกกล่าวของเด็กหญิง อ. แล้วเล่าถึงข้อเท็จจริงที่เด็กหญิง อ. ชี้ตัวบุตรโจทก์ว่าเป็นผู้ข่มขืนกระทำชำเรานั้น เมื่อข้อที่ว่าเด็กหญิง อ. บอกเล่าแก่จำเลยแต่ละคนจริงหรือไม่ และชี้ตัวบุตรโจทก์จริงหรือไม่ มิใช่เหตุการณ์ที่โจทก์กล่าวหาว่าเป็นความเท็จ ดังนั้น คำเบิกความของจำเลยทั้งสอง จึงไม่อาจมีมูลเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 ได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมคุมขังเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ตามที่ได้รับแจ้งความนั้นเป็นเรื่องของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งได้กระทำไปตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายหาใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน: ความสมบูรณ์ของฟ้องและการปรับบทความผิด
บรรยายฟ้องว่า จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยได้เห็น ส.คนเดียวลักทรัพย์ มิได้เห็น ร. ร่วมลักทรัพย์ด้วย ดังนี้เป็นการบรรยายข้อความที่เป็นเท็จและที่เป็นจริงไว้ชัดแล้วว่าความจริงจำเลยมิได้เห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์แต่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้เห็น ร. ร่วมกับ ส.ลักทรัพย์ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่ว่าความจริงหรือเท็จจะอยู่ตรงที่ว่า ร. ได้ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์หรือไม่เท่านั้น
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา: ความสมบูรณ์ของฟ้อง และการปรับบทความผิด
บรรยายฟ้องว่า จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็น ร. ร่วมกับ ส.ลักทรัพย์ซึ่งความจริงแล้วจำเลยได้เห็นส.คนเดียวลักทรัพย์ มิได้เห็น ร. ร่วมลักทรัพย์ด้วย ดังนี้ เป็นการบรรยายข้อความที่เป็นเท็จและที่เป็นจริงไว้ชัดแล้วว่า ความจริงจำเลยมิได้เห็น ร. ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์ แต่ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าได้เห็น ร.ร่วมกับส. ลักทรัพย์ เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว ไม่ใช่ว่าความจริงหรือเท็จจะอยู่ตรงที่ว่า ร. ได้ร่วมกับ ส. ลักทรัพย์หรือไม่เท่านั้น
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ฯลฯ"ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดกล่าวคือ เมื่อจำเลยแจ้งข้อความตามฟ้องนั้น จำเลยรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ แม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นข้อความนั้นเป็นเท็จ ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 172 และ 174ซึ่งบัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วๆ ไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับผู้ร่วมกระทำความผิด การลงโทษตามบทเฉพาะ vs. บททั่วไป
ก. ถูกคนร้ายฆ่าตาย จำเลยเห็น ส.กับฮ. ร่วมกันฆ่า ก. ตาย โดยมิได้เห็น ท. ร่วมกระทำความผิดด้วยแต่จำเลยได้แจ้งแก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้ออกไปสืบสวนและให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าเห็น ท.ร่วมกับส.และฮ.ฆ่า ก. จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ตามมาตรา 172
เมื่อการกระทำของจำเลยต้องด้วยมาตรา 172 ที่บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137ซึ่งเป็นบทบัญญัติโดยทั่วไปอีก
กรณีที่จำเลยแจ้งความกล่าวหาเป็นเรื่องมีคนร้ายฆ่านายกวงตาย ซึ่งได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง มิใช่แจ้งความกล่าวหาโดยมิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 173
เมื่อการกระทำของจำเลยต้องด้วยมาตรา 172 ที่บัญญัติเป็นความผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137ซึ่งเป็นบทบัญญัติโดยทั่วไปอีก
กรณีที่จำเลยแจ้งความกล่าวหาเป็นเรื่องมีคนร้ายฆ่านายกวงตาย ซึ่งได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นจริง มิใช่แจ้งความกล่าวหาโดยมิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากขาดรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และข้อหา
ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,172,173,174. โดยโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยมีอำนาจหน้าที่อย่างไร ทั้งคำบรรยายฟ้องก็ไม่ชัดแจ้งว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเกี่ยวกับความผิดอาญาในฐานใด จะทำให้โจทก์ถูกหาคดีอาญาได้อย่างไรหรือไม่ ไม่พอแปลความหมายได้ว่าจำเลยได้แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาจำเลยไม่อาจเข้าใจข้อหาได้ดี ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับอาชีพและเนื้อสัตว์ผู้อื่น เพื่อให้ผู้นั้นต้องโทษทางอาญา
จำเลยและผู้เสียหายมีอาชีพขายเนื้อโคกระบือ วันเกิดเหตุผู้เสียหายไม่ได้รับอนุญาตให้ฆ่ากระบือ จำเลยแจ้งตำรวจว่าเนื้อบนเขียงผู้เสียหายเป็นเนื้อกระบือ ให้จับผู้เสียหายถ้าไม่จับจะไปเอาตำรวจที่อื่นมาจับเพื่อให้ผู้เสียหายต้องรับโทษ โดยจำเลยรู้ว่าเนื้อดังกล่าวเป็นเนื้อโคซึ่งผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้จำหน่าย เช่นนี้ เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยประสงค์จะให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีกับผู้เสียหายฐานฆ่ากระบือและจำหน่ายเนื้อกระบือโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ซึ่งเป็นบทเฉพาะ ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 174 แต่มิได้เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งจะต้องลงโทษตามบทหนัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใหญ่บ้านแจ้งความตามคำร้องเรียนของลูกบ้าน ไม่ถือเป็นแจ้งความเท็จ แม้จะยังไม่ทราบข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน กลับจากธุระมาถึงบ้านก็ได้รับแจ้งจากจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นลูกบ้านว่าถูกโจทก์เรียกร้องเอาเงินไป ขอให้ไปแจ้งต่อตำรวจเพื่อเอาเงินคืน จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจตามคำบอกเล่าของลูกบ้าน อันเป็นการกระทำตามหน้าที่ของผู้ปกครองหมู่บ้าน โดยเชื่อตามคำบอกเล่าของลูกบ้านว่าเป็นความจริง เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ยังหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใหญ่บ้านแจ้งความตามคำบอกเล่าลูกบ้าน ไม่ถือเป็นแจ้งความเท็จ แม้ไม่รู้ข้อเท็จจริง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้าน กลับจากธุระมาถึงบ้านก็ได้รับแจ้งจากจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นลูกบ้านว่าถูกโจทก์เรียกร้องเอาเงินไป ขอให้ไปแจ้งต่อตำรวจเพื่อเอาเงินคืน จำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจตามคำบอกเล่าของลูกบ้าน อันเป็นการกระทำตามหน้าที่ของผู้ปกครองหมู่บ้าน โดยเชื่อตามคำบอกเล่าของลูกบ้านว่าเป็นความจริง เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ยังหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641-644/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จและสมคบกันทำผิดอาญา ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
จำเลยหลายคนสมคบกันใช้ให้จำเลยคนหนึ่งไปแจ้งข้อความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ผู้เสียหายได้ใช้กำลังประทุษร้ายกระทำอนาจารแก่จำเลยผู้แจ้ง เพื่อแกล้งให้ผู้เสียหายต้องรับโทษทางอาญา ดังนี้ จำเลยทั้งหมดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 และมาตรา 174 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนัก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้บทลงโทษให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้ และถือว่าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้บทลงโทษให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้ และถือว่าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จของผู้ต้องหา: การกล่าวแก้ข้อหาไม่ใช่ความเท็จ
ร้อยตำรวจตรีกมลกับพวกจับกุมจำเลยในข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ และค้นตัวจำเลยได้บัตรรับฝากรถจักรยานและกระดาษฟุลสแก๊ปมีเขียนเลข 2 ฉบับ จำเลยแจ้งว่าเป็นสลากกินรวบซื้อมาจากโจทก์ ดังนี้ ถือว่าจำเลยกล่าวในฐานะผู้ต้องหา หรือ เสมือนผู้ต้องหา จำเลยหามีความผิดฐานแจ้งความเท็จไม่