พบผลลัพธ์ทั้งหมด 258 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย มาตรา 290
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายเนื่องจากโกรธที่ผู้ตายปัสสาวะรดที่นอน จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายคงมีเจตนาทำร้ายเท่านั้น เมื่อการทำร้ายของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง การประมาทเลินเล่อของผู้อำนวยการ และความรับผิดร่วมของเจ้าหน้าที่
การสอบสวนทางวินัยเป็นคนละกรณีกับการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่ง เพราะการสอบสวนทางวินัยและการรายงานผลการสอบสวนมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องทางวินัย มิได้รายงานว่าผู้ใดจะต้อง รับผิดในทางแพ่งบ้าง นอกจากนี้บุคคลที่จะต้องรับโทษทางวินัยอาจจะไม่ใช่บุคคลที่จะต้องรับผิดในทางแพ่งเสมอไป กรณีนี้ต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ เลขาธิการสำนักงานโจทก์ ลงชื่อรับทราบผลการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งไม่ใช่วันที่รับทราบผลการสอบสวนทางวินัย เมื่อโจทก์ทราบตัวผู้รับผิดในทางแพ่งนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดมีหน้าที่บังคับบัญชา ควบคุมดูแลและรับผิดชอบใน การปฏิบัติราชการของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนั้น ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา พ.ศ. 2523 มาตรา 21 ไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิรับเงินนำเงินฝากเข้าบัญชีของตนเอง ไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดตามระเบียบ แล้วได้ถอนเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยจำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วย
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีหน้าที่ทำบัญชีเงินสดและบัญชีแยกประเภท โดยมีจำเลยที่ 3 เป็น ผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ 5 ลงบัญชีว่ามีการจ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิแล้วโดยมิได้ตรวจดูหลักฐานการจ่ายเงินให้ถูกต้อง โดยลงบัญชีไปตามที่จำเลยที่ 3 บอกทั้งที่รู้ว่าเป็นการผิดระเบียบ และมิได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปทราบเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 กับพวก เบิกเงินจากคลังจังหวัดแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 5 มิได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 3 และมิได้รับประโยชน์จากการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายเพียง 1 ใน 10 ส่วน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดมีหน้าที่บังคับบัญชา ควบคุมดูแลและรับผิดชอบใน การปฏิบัติราชการของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนั้น ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา พ.ศ. 2523 มาตรา 21 ไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิรับเงินนำเงินฝากเข้าบัญชีของตนเอง ไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดตามระเบียบ แล้วได้ถอนเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยจำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วย
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีหน้าที่ทำบัญชีเงินสดและบัญชีแยกประเภท โดยมีจำเลยที่ 3 เป็น ผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ 5 ลงบัญชีว่ามีการจ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิแล้วโดยมิได้ตรวจดูหลักฐานการจ่ายเงินให้ถูกต้อง โดยลงบัญชีไปตามที่จำเลยที่ 3 บอกทั้งที่รู้ว่าเป็นการผิดระเบียบ และมิได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปทราบเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 กับพวก เบิกเงินจากคลังจังหวัดแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 5 มิได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 3 และมิได้รับประโยชน์จากการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายเพียง 1 ใน 10 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'บริวาร' ในการบังคับคดี: ผู้จะซื้อที่ดินก่อนโอนกรรมสิทธิ์ยังไม่มีสิทธิพิเศษขัดขวาง
ผู้ร้องเป็นผู้จะซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินและกิจการสถานีบริการน้ำมันจากจำเลย ได้ชำระราคาบางส่วนและได้เข้าครอบครองทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้จะซื้อมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องต้องชำระราคาที่เหลือ การเข้าครอบครองก่อนการโอนกรรมสิทธิ์เป็นการเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลย ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลยซึ่งถูกศาลพิพากษาให้ขับไล่เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจดำเนินการเพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับซึ่งออกตามคำพิพากษาได้ หาใช่เป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย-เช่าซื้อ: การรับซื้อคืนและการคำนวณหนี้คงค้างตามสัญญา
จำเลยยื่นคำให้การและนำสืบเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ชัดเจนว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจนเวลาล่วงเลยไปปีเศษนับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเป็นผลให้เครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อเสื่อมสภาพ เสื่อมราคาและตกรุ่น จำเลยนำออกจำหน่ายไม่ได้จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนผิดสัญญาเช่าซื้อที่ผ่อนเวลาการบอกเลิกสัญญาออกไปปีเศษทำให้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายบางส่วนและทำให้จำเลยเสียโอกาสที่จะจำหน่ายทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนผิดนั้น จึงเป็นการหยิบยกเรื่องที่เป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นวินิจฉัย และแม้คู่ความจะแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์รวม 32 งวด ก็ไม่ทำให้ประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ยุติตามข้อเท็จจริงที่แถลงรับกัน ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยขายเครื่องเรียงพิมพ์กราฟิคแก่โจทก์เพื่อนำไปให้บริษัท ว. เช่าซื้ออีกทอดหนึ่งโดยจำเลยทำหนังสือสัญญารับซื้อคืนกับโจทก์ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ถ้าผู้ให้เช่าซื้อต้องการและแจ้งให้ผู้รับซื้อคืนทราบเป็นหนังสือ ผู้รับซื้อคืนจะรับซื้อทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวซึ่งยึดกลับคืนมาในสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นในราคาเท่ากับจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่ผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อบริษัท ว. ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืนพร้อมกับส่งมอบให้แก่จำเลย จำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระตามหนังสือสัญญารับซื้อคืนก็คือเงินคงค้างทุกจำนวนที่บริษัท ว. ต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันที่โจทก์ยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืน แต่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบเพียงว่าจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่บริษัท ว. ค้างชำระอยู่เป็นเงิน 145,418.45 บาท โดยมิได้แสดงรายละเอียดแห่งหนี้ว่าเป็นการค้างชำระหนี้รายการใดบ้าง จำนวนเท่าใด จึงต้องถือจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ควรได้รับตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์กล่าวยืนยันในคำฟ้องคือ 882,605.52 บาท เป็นยอดสุทธิหักด้วยเงินค่าเช่าซื้อ 32 งวด จำนวน 839,456 บาท ที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงคงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เพียง 43,149.52 บาท
จำเลยขายเครื่องเรียงพิมพ์กราฟิคแก่โจทก์เพื่อนำไปให้บริษัท ว. เช่าซื้ออีกทอดหนึ่งโดยจำเลยทำหนังสือสัญญารับซื้อคืนกับโจทก์ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ถ้าผู้ให้เช่าซื้อต้องการและแจ้งให้ผู้รับซื้อคืนทราบเป็นหนังสือ ผู้รับซื้อคืนจะรับซื้อทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวซึ่งยึดกลับคืนมาในสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นในราคาเท่ากับจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่ผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อบริษัท ว. ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืนพร้อมกับส่งมอบให้แก่จำเลย จำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระตามหนังสือสัญญารับซื้อคืนก็คือเงินคงค้างทุกจำนวนที่บริษัท ว. ต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันที่โจทก์ยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืน แต่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบเพียงว่าจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่บริษัท ว. ค้างชำระอยู่เป็นเงิน 145,418.45 บาท โดยมิได้แสดงรายละเอียดแห่งหนี้ว่าเป็นการค้างชำระหนี้รายการใดบ้าง จำนวนเท่าใด จึงต้องถือจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ควรได้รับตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์กล่าวยืนยันในคำฟ้องคือ 882,605.52 บาท เป็นยอดสุทธิหักด้วยเงินค่าเช่าซื้อ 32 งวด จำนวน 839,456 บาท ที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงคงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เพียง 43,149.52 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ฉบับแก้ไข และผลของการประเมินเกินกำหนด
ขณะที่โจทก์มีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2533 และ 2534 นั้น พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จึงต้องยื่นแบบพิมพ์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 เดิม และจำเลยจะต้องประเมินและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ภายใน 10 ปี นับแต่วันครบกำหนดที่ให้ผู้รับประเมินยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 เดิม การที่จำเลยประเมินภาษีและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ภายใน 10 ปี จึงเป็นการประเมินภายในเวลาที่กำหนด ส่วนการยื่นแบบแจ้งรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีประจำปีภาษี 2535 ถึง 2537 ต้องกระทำภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 และจำเลยจะต้องประเมินและแจ้งการประเมินภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการประจำปีภาษี 2535 ถึง 2538 แล้ว ดังนั้น จำเลยจะต้องประเมินและแจ้งการประเมินภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นแบบพิมพ์ตามมาตรา 19 หรือ ภายในวันสุดท้ายของเดือน กุมภาพันธ์ การที่จำเลยประเมินภาษีเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543 และแจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ จึงพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ทวิ การประเมินจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7082/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมหลังเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี และการใช้สิทธิโดยสุจริตของผู้ประกอบการ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับบริการได้ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น การที่โจทก์ต้องเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มจากจำเลยเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 ให้ยกเลิกมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2534 ให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นรวมแล้วเป็นอัตราร้อยละ 10 เป็นผลให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากเดิมรวมแล้วร้อยละ 3 กรรมการของโจทก์ในฐานะนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยได้มีหนังสือหารือกรมสรรพากรว่ากรณีเช่นโจทก์จะได้รับสิทธิไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งกรมสรรพากรได้มีหนังสือตอบข้อหารือของกรรมการของโจทก์มาแล้วว่า กรณีของโจทก์ไม่ได้รับประโยชน์ที่จะเสียภาษีในอัตราเดิม ดังนี้ เมื่อต่อมาสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 5 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นอีกดังกล่าว แม้จะระบุในหนังสือแจ้งด้วยว่าหากโจทก์จะโต้แย้งให้ยื่นคำคัดค้านภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ และข้อเท็จจริงรับกันว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำคัดค้านซึ่งถึงแม้โจทก์จะยื่นคำคัดค้าน ผลก็ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะอธิบดีกรมสรรพากรได้วินิจฉัยตอบข้อหารือแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์เรียกให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเติมอีกร้อยละ 3 สำหรับเงินค่าจ้างที่โจทก์ได้รับจากจำเลยตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2541 แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงได้นำเงินไปชำระแก่กรมสรรพากรเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้น จึงมีเหตุผลอันสมควรและเป็นการกระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลย ก็เป็นการใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคหนึ่ง ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องรับผิดในเงินเพิ่มดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบ และการแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน รวมถึงประเภทสัญญาเช่า
ศาลมีคำสั่งให้ ศ. เป็นคู่ความแทนจำเลย ศ. ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวอ้างว่าส่งหมายเรียกให้แก่ตนไม่ชอบ ศาลมีคำสั่งยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและมิได้เป็นคำสั่งที่ไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 (2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
การขอแก้ไขคำให้การให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 1 ปาก จำเลยจึงไม่มีสิทธิกระทำได้โดยไม่ต้องพิเคราะห์ว่าโจทก์จะเสียเปรียบหรือไม่
สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าจะเป็นสัญญาธรรมดาหรือสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ก็เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญา มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การขอแก้ไขคำให้การให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากโจทก์สืบพยานไปแล้ว 1 ปาก จำเลยจึงไม่มีสิทธิกระทำได้โดยไม่ต้องพิเคราะห์ว่าโจทก์จะเสียเปรียบหรือไม่
สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าจะเป็นสัญญาธรรมดาหรือสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ก็เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญา มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5761/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดก: เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดเว้นยึดทรัพย์สินที่เป็นมรดกตกทอด
ตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทมี ท. เป็นผู้แจ้งการครอบครองกับเป็นเจ้าของที่ดิน โจทก์เคยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทมาครั้งหนึ่งแล้ว ท. ร้องคัดค้านว่าเป็นของตน ศาลชั้นต้นก็ฟังข้อเท็จจริงว่า บ้านที่ยึดปลูกอยู่บนที่ดินแปลงดังกล่าวของ ท. โดยจำเลยกับสามีอาศัยอยู่ในบ้านดังกล่าว บ้านเป็นของ ท. และพิพากษาให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ข้อเท็จจริงรับฟังยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวว่า ท. มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อ ท. ถึงแก่ความตายเป็นผลให้ที่ดินและบ้านที่โจทก์ประสงค์จะนำยึดเป็นมรดกตกทอดแก่พ. ซึ่งเป็นบุตร นับแต่วันที่ ท. ตายและมิใช่สินสมรสของ พ. กับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดเว้นยึดทรัพย์สินนั้นและร้องขอต่อศาลให้กำหนดการใด ๆ เพื่อมิให้ตนต้องรับผิดในค่าสินไหมทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 283 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: พรากเด็กและกักขังเรียกค่าไถ่ ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปจากบิดามารดาผู้ปกครองและหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 313 และ 317 จำเลยทั้งสองมุ่งประสงค์เรียกค่าไถ่เป็นสำคัญ จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 313 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: พรากเด็กเรียกค่าไถ่ ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากเด็กอายุ 6 ปีเศษ ไปจากบิดามารดาผู้ปกครองเพื่อหากำไรและร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังเด็กไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ โดยจำเลยทั้งสองมุ่งประสงค์เรียกค่าไถ่เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทคือ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 313 วรรคแรก บทหนึ่ง และตามมาตรา 317 วรรคสาม อีกบทหนึ่ง ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และมีอำนาจวินิจฉัยตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ฎีกาขึ้นมาด้วย เนื่องจากเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และมีอำนาจวินิจฉัยตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ฎีกาขึ้นมาด้วย เนื่องจากเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225