คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา ถนอมรอด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 258 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กเรียกค่าไถ่: ศาลฎีกาแก้ไขเป็นกรรมเดียว โทษตาม ม.313 วรรคแรก
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุเพียง 6 ปีเศษไปจากบิดามารดา ผู้ปกครอง และหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ โดยจำเลยทั้งสองมุ่งประสงค์เรียกค่าไถ่เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่ความผิดหลายกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างชั่วคราวกับบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับเจ้าพนักงานของรัฐในคดียาเสพติด
จำเลยที่ 3 เป็นเพียงลูกจ้างชั่วคราวของเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก จึงมิใช่พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ที่ศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 3 และศาลอุทธรณ์ไม่แก้ไขเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกไม่วินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4463/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี และประเด็นการลดเบี้ยปรับ
แม้ฟ้องโจทก์ตอนต้นจะบรรยายว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ในฐานะตัวแทนของบริษัท เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า โจทก์มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 1,126,760 บาท จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 33,802.80 บาท เท่านั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นเงิน 121,772 บาท นั้น โจทก์ไม่เห็นด้วยเพราะโจทก์ไม่จำเป็นต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจำนวน 87,971.49 บาท และโจทก์ได้บรรยายฟ้องตอนท้ายว่าโจทก์ยอมชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ 33,802.80 บาท โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เฉพาะส่วนเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจำนวน87,971.49 บาท แม้ศาลภาษีอากรกลางจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะของเจ้าพนักงานและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ก็หมายถึงการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เฉพาะเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเท่านั้น หาได้มีความหมายถึงตัวค่าภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซื้อที่ดิน รับโอนที่ดินและห้องชุดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บริษัท ส. แล้วโจทก์ขายที่ดินและห้องชุดนั้นแก่ผู้ซื้อภายใน 5 ปี นับแต่วันได้มา อันเป็นการขายที่เป็นการค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เมื่อโจทก์ไม่เสียภาษีภายในกำหนดจึงต้องรับผิดในเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย หลังจากเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1ตรวจพบว่าโจทก์ไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนจึงได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปพบ โจทก์ให้การว่าโจทก์เป็นพนักงานขายของบริษัท ส. ได้ค่าตอบแทนการขายเพียงรายละ 5,000 บาทจึงเป็นการบ่ายเบี่ยงเพื่อไม่ต้องชำระภาษี มิใช่ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน แต่ปรากฏว่าต่อมามีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 366)ฯ ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะในเรื่องนี้ลงเหลือร้อยละ0.1 จึงเห็นสมควรลดเบี้ยปรับลงร้อยละ 50

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4330/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดและการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผล
การโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดที่จะทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนหรือราคาเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ทวิ(4)จะต้องเป็นการโอนทรัพย์สินหรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรการที่โจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาทุนเพียงเล็กน้อย แต่ทำให้มีส่วนในการส่งเสริมการขายของโจทก์ทำให้สินค้าของโจทก์รู้จักกันแพร่หลาย โจทก์มีรายได้และมีกำไรเพิ่มมากขึ้นจึงเป็นการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควรการที่เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นจึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ
โจทก์ บริษัท ท. และบริษัท ร. ทำสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคกับบริษัท ส. ผู้ให้เช่าอาคาร โดยมีบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท. และบริษัท ร. เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งความรับผิดตามสัญญาเช่าและสัญญาการให้บริการสาธารณูปโภคในระหว่างผู้เช่าด้วยกันโจทก์รับผิดเพียงหนึ่งในสามของค่าเช่าและค่าบริการต่าง ๆ มิใช่ต้องรับผิดทั้งหมดรายจ่ายส่วนที่โจทก์จ่ายแทนผู้เช่าอีก 2 บริษัท จึงเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี(13) ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่เจ้าพนักงานประเมินตัดรายจ่ายในส่วนนี้ออกสองในสามส่วนและประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มตามหนังสือค้ำประกัน การตีความการหักชำระหนี้ และข้อจำกัดการคิดดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
ตามใบขนสินค้าขาเข้าฉบับหลัง โจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อน แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปชำระเงินเพิ่ม ส่วนกรณีตามใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับแรก มีข้อสงสัยว่า โจทก์นำเงินที่ได้จากธนาคารไปชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อนหรือชำระเงินเพิ่มก่อน จึงตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ว่าโจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารไปหักชำระเงินค่าอากรขาเข้าก่อน
โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระค่าอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าทั้งสามฉบับ แต่จำเลยไม่ชำระ และมิได้อุทธรณ์การประเมิน โจทก์จึงเรียกให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามจำนวนที่ค้ำประกันไว้ ปรากฏว่าเงินที่ธนาคารส่งให้โจทก์มีจำนวนมากกว่าอากรขาเข้า ดังนั้น เมื่อโจทก์นำไปชำระค่าอากรขาเข้าก่อน จึงไม่มีอากรขาเข้าที่ค้างชำระอีกต่อไป เงินที่ขาดจำนวนอีก 345,890.88 บาท จึงเป็นเงินเพิ่มที่จำเลยยังค้างชำระ แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินอากร แต่มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติ "...ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น..." ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนจากเงินเพิ่มที่ค้างชำระจำนวน 345,890.88 บาท เพราะเป็นการคิดเงินเพิ่มทบต้น ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มศุลกากร การตีความการหักชำระหนี้ และข้อจำกัดการคิดดอกเบี้ย
กรณีตามใบขนสินค้าขาเข้าฉบับหลังกรมศุลกากรโจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อนแล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปชำระเงินเพิ่ม ส่วนกรณีตามใบขนสินค้าขาเข้า 2 ฉบับแรก มีข้อสงสัยว่าโจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารไปชำระหนี้ค่าอากรขาเข้าก่อนหรือชำระเงินเพิ่มก่อน ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลย ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 11 จึงฟังได้ว่า โจทก์นำเงินที่ได้รับจากธนาคารไปหักชำระเป็นค่าอากรขาเข้าก่อนเมื่อเงินที่ธนาคารส่งให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามใบขนสินค้าขาเข้าแต่ละฉบับมีจำนวนมากกว่าอากรขาเข้า จึงไม่มีอากรขาเข้าที่ค้างชำระอีกต่อไป เงินที่ขาดจำนวนอีก 345,890.88 บาท จึงเป็นเงินเพิ่มที่จำเลยยังค้างชำระ แม้พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสาม จะบัญญัติให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินอากร แต่มาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนจากเงินเพิ่มที่ค้างชำระจำนวน 345,890.88 บาท เพราะเป็นการคิดเงินเพิ่มทบต้น ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3275/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการหมิ่นประมาทผ่านสื่อ และขอบเขตความรับผิดของเจ้าของสื่อ
ในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คำพิพากษาคดีอาญานอกจากจะผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความในคดีแล้ว ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญาฟังว่า ข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดที่จำเลยที่ 1 ลงพิมพ์โฆษณานั้นเป็นการใส่ความหมิ่นประมาทโจทก์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ข้อเท็จจริง จึงฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคหนึ่ง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นเมื่อคดีฟังว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใส่ความโจทก์หรือมีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด ลำพังการเป็นเจ้าของและผู้จำหน่ายหนังสือพิมพ์ฉบับพิพาทให้แก่ประชาชนทั่วไปไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์
ปัญหาว่าศาลล่างพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3202/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การอุทธรณ์การประเมินภาษีไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีอากรตามที่ได้รับแจ้งการประเมิน หาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะทำให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องในระหว่างที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองอันเป็นการที่จำเลยทั้งสองใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3202/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การอุทธรณ์การประเมินมิใช่การโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2) ส่วนคู่กรณีที่พิพาทกันจะฟ้องได้เมื่อใดหรือไม่ภายในระยะเวลาเท่าไรจะต้องพิจารณากฎหมายอื่นประกอบด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบแล้วจำเลยไม่ชำระค่าภาษีแต่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อันเป็นการใช้สิทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ซึ่งกฎหมายกำหนดให้อุทธรณ์การประเมินได้ ก็เพื่อจะให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตรวจคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีอากรตามที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิที่จะทำให้โจทก์นำคดีมาฟ้องในขณะที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหลังพ.ร.ก.ใหม่ สัญญาเพิ่มเติมหลังสัญญาเดิมไม่เข้าเกณฑ์อัตรา 7%
แม้ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0ต่อไป ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวทุกฉบับมิได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกประกาศกำหนดว่าถ้ามีปัญหาในการปฏิบัติและอธิบดีมีคำวินิจฉัยแล้วให้ถือเป็นที่สุดฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ซึ่งคำว่า "คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" ตามประกาศฉบับดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า เป็นที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในชั้นวินิจฉัยว่าผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไปได้รับสิทธินั้นหรือไม่เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
บริษัท ม. จ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารชุดก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236)ฯ แต่ต่อมาโจทก์กับบริษัท ม. ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาดังกล่าวโดยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่เป็นการทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 จึงมิใช่สัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไป โดยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ9.0 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309)ฯ
of 26