พบผลลัพธ์ทั้งหมด 258 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าทรัพย์: การปรับปรุงสถานที่เช่า, ความเสียหาย, และขอบเขตความรับผิดของตัวแทน
แม้โจทก์ทำสัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟนครราชสีมากับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 5 ปี แต่ในสัญญาดังกล่าวมีข้อตกลงว่าโจทก์ต้องรักษาที่เช่าให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยต้องไม่ปลูกสร้างต่อเติมส่วนใดส่วนหนึ่งต้องให้พนักงานของจำเลยที่ 1 ตรวจที่เช่าได้ทุกเมื่อ และต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้นเป็นข้อสัญญาที่มิได้ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์ในบริเวณสถานีรถไฟแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้สิทธิโจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครอง ส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีรถไฟอีกด้วย ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ดังนั้น ในระหว่างอายุสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จะเข้าปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟดังกล่าวในส่วนที่เป็นร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์อันเป็นสถานที่เช่าโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์มิได้ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ให้ฝ่ายช่างโยธามาทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ โจทก์ก็มิได้โต้แย้งหรือห้ามปราม ฉะนั้น การที่โจทก์มาร้องขอลดค่าเช่ากับจำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่สามารถทำการค้าได้ตามปกติหลังจากจำเลยที่ 1 เข้าปรับปรุงอาคารแล้วถึง 1 เดือนเศษ จึงเป็นพฤติการณ์มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าโจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ทุบร้านอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญาในส่วนนี้ แต่เมื่อการปรับปรุงอาคารเสร็จแล้วเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ถูกดัดแปลงกลายสภาพเป็นห้องประชาสัมพันธ์และจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองใช้ประโยชน์สืบมาอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์ในสถานที่เช่าตามสัญญาได้ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว
ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 คืนมัดจำให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าสิทธิสิ้นสุดลงและได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่โจทก์ฎีกาปัญหานี้มาจึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว
ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 คืนมัดจำให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าสิทธิสิ้นสุดลงและได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในส่วนนี้ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่โจทก์ฎีกาปัญหานี้มาจึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิทธิขายอาหาร: การปรับปรุงสถานที่เช่าโดยไม่ยินยอมของผู้เช่าถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟ ไม่ใช่สัญญาที่ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์บริเวณสถานีรถไฟเพียงอย่างเดียว หากแต่ให้สิทธิโจทก์ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครองส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 1 จะเข้าปรับปรุงส่วนที่เป็นสถานที่เช่าโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ไม่ได้ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเข้าทุบร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งห้ามปราม แต่กลับขอให้จำเลยที่ 1 ลดค่าเช่าให้เนื่องจากไม่สามารถทำการค้าได้ตามปกติ พฤติการณ์มีเหตุเชื่อได้ว่าโจทก์ยินยอมอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญาในส่วนนี้ แต่เมื่อปรับปรุงอาคารเสร็จ เคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ถูกดัดแปลงเป็นห้องประชาสัมพันธ์ และจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองใช้ประโยชน์ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์สถานที่เช่าตามสัญญาได้อีก จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัว
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิทธิ: การปรับปรุงสถานที่เช่าโดยไม่ยินยอมผู้เช่าถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาเช่าสิทธิขายอาหารและสิ่งพิมพ์ประจำสถานีรถไฟนครราชสีมาระหว่างโจทก์กับการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยที่ตกลงว่า โจทก์จะรักษาที่เช่าให้คงอยู่ในสภาพเรียบร้อยและจะรักษาความสะอาดโดยกวดขัน โจทก์จะไม่ปลูกขึ้นใหม่ หรือปลูกสร้างต่อเติมส่วนหนึ่งส่วนใดขึ้นในสถานที่เช่า โจทก์ต้องยอมให้จำเลย หรือพนักงานจำเลยเข้าตรวจสถานที่เช่าได้ทุกเมื่อ จะไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงมิใช่สัญญาที่ให้สิทธิโจทก์ขายอาหารและสิ่งพิมพ์ในบริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมาเท่านั้น หากแต่ยังให้สิทธิโจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในลักษณะเป็นผู้ครอบครองส่วนที่เป็นบริเวณร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์ซึ่งอยู่ในบริเวณสถานีรถไฟอีกด้วยโดยถือเป็นสถานที่เช่าตามสัญญาเช่าสิทธิ ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ ดังนั้น จำเลยจะเข้าปรับปรุงอาคารส่วนที่เป็นร้านขายอาหารและเคาน์เตอร์ขายสิ่งพิมพ์โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานก่อนฟ้องคดีและการใช้ล่ามที่ไม่ได้รับการรับรองในคดีอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง
แม้ ส. จะเป็นเพียงเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่ามก็ตาม เมื่อไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยโดยมี ส. เป็นล่ามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 วรรคสี่ และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
แม้ ส. จะเป็นเพียงเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่ามก็ตาม เมื่อไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยโดยมี ส. เป็นล่ามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 วรรคสี่ และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานก่อนฟ้องคดีและการใช้ล่ามที่ไม่ได้รับการรับรองโดยราชการชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล ที่กำหนดให้ศาลชั้นต้นที่ได้รับคำร้องจากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนให้สืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าพยานบุคคลซึ่งจะต้องนำมาสืบในภายหน้าจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ยากแก่การนำมาสืบ ดังนี้การสืบพยานผู้เสียหายดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง และก่อนสืบพยานศาลก็ได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ได้ต้องการทนายความ การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นสืบพยานผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ โจทก์ได้จัด อ. เป็นล่าม ซึ่งก่อนจะแปลคำเบิกความ อ. ได้สาบานตนแล้ว แม้ อ. จะเป็นเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองเป็นล่ามก็ตาม ก็ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ อีกทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แล้ว
ศาลชั้นต้นสืบพยานผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ โจทก์ได้จัด อ. เป็นล่าม ซึ่งก่อนจะแปลคำเบิกความ อ. ได้สาบานตนแล้ว แม้ อ. จะเป็นเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองเป็นล่ามก็ตาม ก็ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ อีกทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิ่งราวทรัพย์ การสืบพยานก่อนฟ้อง และการรับฟังพยานหลักฐานผ่านล่ามที่ไม่ได้รับการรับรอง
การสืบพยานผู้เสียหายไว้ก่อนเพราะจะต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรอันยากแก่การนำมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง ส่วนการสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีแม้จะมีการพิมพ์ข้อความแทรกระหว่างบรรทัดในรายงานกระบวนพิจารณาว่า"ก่อนสืบพยานได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ต้องการทนายความ"แต่จำเลยก็มิได้ยืนยันว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ แต่กลับบอกว่าจำไม่ได้ว่าศาลถามหรือไม่ จึงต้องฟังว่าศาลชั้นต้นได้ถามจำเลยในเรื่องทนายความแล้ว การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบ
การที่โจทก์จัดให้ อ. เพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่าม ให้เป็นล่ามการสืบพยานผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้นไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว
การที่โจทก์จัดให้ อ. เพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่าม ให้เป็นล่ามการสืบพยานผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้นไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กและพาหญิงเพื่อการอนาจาร โดยพระภิกษุใช้อำนาจครอบงำผู้เสียหาย
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 13 ปีเศษ ผู้เสียหายพักอาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 284 วรรคแรก ให้ลงโทษฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร จำคุก
10 ปี ส่วนความผิดฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 279 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี และความผิดฐานกระทำชำเรา เด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตามมาตรา 277 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี รวมจำคุกจำเลยมีกำหนด 15 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า เฉพาะความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม มาตรา 91 เมื่อรวมโทษจำคุกทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นวางโทษแล้ว ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามคงจำคุกจำเลยมีกำหนด 10 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โทษจำคุกในความผิดฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 279 วรรคแรก จึงถูกลดโทษลงเหลือ 8 เดือน และโทษจำคุกในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตามมาตรา 277 วรรคแรก ถูกลดโทษลงเหลือ 2 ปี 8 เดือน อันเป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ กำหนดโทษจึงคงเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว โทษจำคุกคงเหลือ 6 ปี 8 เดือน ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยเรียกเด็กหญิง พ. ไปพบเพื่อบอกให้ผู้เสียหายไปหาจำเลยที่กุฏิ เมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยแล้ว จำเลยได้ว่าจ้างรถยนต์กระบะพาผู้เสียหายไปวัดอื่นโดยให้ผู้เสียหายพักหลับนอนกับจำเลยที่กุฏิวัด 2 คืน ระหว่างนั้นจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ 13 ปีเศษ ย่อมเกรงใจจำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุผู้อุปการะ ครอบครัวของผู้เสียหายเป็นธรรมดาจึงจำต้องยอมติดตามจำเลยไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อำนาจครอบงำผิดครองธรรม ทั้งย่อมเป็นพฤิตการณ์บังคับให้ผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำทำอนาจารและกระทำชำเราในเวลากลางคืนอันเป็นการกระทำที่ล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย และเป็นการพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมจำเลยจึงมีความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและมีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร
10 ปี ส่วนความผิดฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 279 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี และความผิดฐานกระทำชำเรา เด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตามมาตรา 277 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี รวมจำคุกจำเลยมีกำหนด 15 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า เฉพาะความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม มาตรา 91 เมื่อรวมโทษจำคุกทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นวางโทษแล้ว ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามคงจำคุกจำเลยมีกำหนด 10 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โทษจำคุกในความผิดฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 279 วรรคแรก จึงถูกลดโทษลงเหลือ 8 เดือน และโทษจำคุกในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตามมาตรา 277 วรรคแรก ถูกลดโทษลงเหลือ 2 ปี 8 เดือน อันเป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ กำหนดโทษจึงคงเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว โทษจำคุกคงเหลือ 6 ปี 8 เดือน ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยเรียกเด็กหญิง พ. ไปพบเพื่อบอกให้ผู้เสียหายไปหาจำเลยที่กุฏิ เมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยแล้ว จำเลยได้ว่าจ้างรถยนต์กระบะพาผู้เสียหายไปวัดอื่นโดยให้ผู้เสียหายพักหลับนอนกับจำเลยที่กุฏิวัด 2 คืน ระหว่างนั้นจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ 13 ปีเศษ ย่อมเกรงใจจำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุผู้อุปการะ ครอบครัวของผู้เสียหายเป็นธรรมดาจึงจำต้องยอมติดตามจำเลยไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อำนาจครอบงำผิดครองธรรม ทั้งย่อมเป็นพฤิตการณ์บังคับให้ผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำทำอนาจารและกระทำชำเราในเวลากลางคืนอันเป็นการกระทำที่ล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย และเป็นการพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมจำเลยจึงมีความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและมีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9710/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและขอบเขตคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ป. เป็นจำเลยที่ 2 ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น ต่อมาคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ซึ่งคดีที่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ต้องเป็นกรณีที่มีคู่ความเดียวกันหรือเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความคนก่อนรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ผลของคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นพิพาทในคดีนี้ที่เป็นประเด็นเดียวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ย่อมเป็นที่สุด คงเหลือประเด็นพิพาทข้ออื่น ๆ ซึ่ง คู่ความจะต้องนำสืบพยานหลักฐานให้จบสิ้นกระแสความเสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวด้วยการสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247
ผลของคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นพิพาทในคดีนี้ที่เป็นประเด็นเดียวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ย่อมเป็นที่สุด คงเหลือประเด็นพิพาทข้ออื่น ๆ ซึ่ง คู่ความจะต้องนำสืบพยานหลักฐานให้จบสิ้นกระแสความเสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวด้วยการสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและคำบังคับที่ภูมิลำเนาบริษัท และการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนด
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 68 บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท จำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 385/1 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก กรุงเทพฯ ศาลชั้นต้นสั่งให้ปิดหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและคำบังคับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แม้พนักงานเดินหมายจะรายงานว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดใส่กุญแจ และเมื่อสอบถามบุคคลที่อยู่บ้านข้างเคียงก็ได้ความว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดอยู่นานแล้วและไม่มีผู้ใดรู้จักบริษัทจำเลยก็ตาม ก็ยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นจริงตามนั้น ดังนั้นในเบื้องต้นต้องถือว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8760/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าสินไหมทดแทน เมื่อทรัพย์สินส่วนหนึ่งถูกส่งคืนแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอให้จำเลยคืนรถจักรยานยนต์และเสื้อยืดที่ถูกปล้นไปหรือใช้ราคาแทนแก่ผู้เสียหาย เมื่อได้ฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องจริงและได้ความว่าผู้เสียหายได้รับรถจักรยานยนต์ที่ถูกปล้นคืนไปแล้ว จำเลยจึงควรรับผิดคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เพียงเท่าที่ผู้เสียหายยังไม่ได้คืน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225