คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา ถนอมรอด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 258 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต และสิทธิของทายาท
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อนจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา คือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าว แม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนโจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม: ต้องแจ้งทายาทก่อนฟ้อง
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้น เจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อนจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนาคือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าวแม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึง สิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600ถ้าผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองการบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือและต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้องและการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองหลังผู้จำนองถึงแก่กรรม: ต้องแจ้งทายาทหรือผู้จัดการมรดกก่อนฟ้อง
ในกรณีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนอง กฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ และต้องกำหนดเวลาอันสมควรเพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่ผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อน จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา ซึ่งกฎหมายกำหนดคือผู้จำนองฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส. ผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ ส. ผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดย่อมตกทอดแก่ทายาทของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว หากโจทก์ประสงค์จะบังคับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้า 1 เดือนก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ ส. ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวเป็นจดหมายหรือหนังสือล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน แก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3และที่ 4 ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลจำหน่ายคดีเมื่อคู่สัญญายอมรับข้อตกลงและไม่คัดค้านการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การจำเลยและนัดชี้สองสถาน ก่อนถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย โดยอ้างว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนตามที่ได้ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งว่าสำเนาให้โจทก์ถ้าจะคัดค้านให้ยื่นก่อนวันชี้สองสถานหรือในวันชี้สองสถาน เมื่อถึงวันนัดชี้สองสถานฝ่ายโจทก์แถลงยอมรับข้อเท็จจริงว่าได้ลงนามในสัญญาการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการกับจำเลยจริงและแถลงไม่ติดใจคัดค้านคำร้องของจำเลย เป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 แล้ว และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้ไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและคำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในกำหนด หากพ้นกำหนดต้องแสดงเหตุสุดวิสัยที่สมควร
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารที่พิพาทและส่งมอบอาคารที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องอีกการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยกล่าวว่าจำเลยไม่เคยรับและไม่เคยทราบหมายเรียกจำเลยคงได้รับแต่เฉพาะคำบังคับเท่านั้น น่าเชื่อว่ามีการจงใจปกปิดหมายต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ส่งถึงจำเลยและเพื่อไม่ให้จำเลยทราบ โจทก์เคยบอกว่าจะให้เงินค่ารื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกไปขอให้จำเลยอย่าสู้คดี จำเลยหลงเชื่อโจทก์จึงแอบฟ้องนั้นเป็นเพียงข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดเท่านั้นหาเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ และที่จำเลยกล่าวว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารขึ้นไม่เคยยกให้โจทก์ โจทก์เคยตกลงจะยกทาวน์เฮาส์ให้จำเลยอาศัยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน แต่โจทก์ผิดข้อตกลงนั้น เป็นข้ออ้างในทำนองว่าจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างและเป็นเจ้าของอาคารที่ให้เช่า โดยจำเลยไม่ได้คัดค้านในเนื้อหาคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เช่า หรือสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดระยะเวลาเช่าหรือคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่แสดงเหตุผลว่า หากศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับ เมื่อวันที่ 2พฤษภาคม2541 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ต่อศาลภายในวันที่ 1มิถุนายน2541 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2541และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นให้ยกคำร้องขอ โดยมิได้กำหนดให้จำเลยกระทำการอันใดภายในระยะเวลาที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบ และการสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ก็ไม่ทำให้ระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ขยายออกไป และหากจำเลยไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 แต่ศาลยังไม่สั่ง หรือไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แต่เจ้าพนักงานศาลบอกว่าหาสำนวนไม่พบจริง จำเลยย่อมทราบดีว่าต้องรักษาสิทธิของจำเลยโดยยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้แต่จำเลยหาได้ยื่นคำร้องขอเช่นนั้นไม่ เมื่อจำเลยมิได้กระทำการดังกล่าวข้างต้นจึงไม่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่สองเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นตามมาตรา 208 วรรคแรก ทั้งตามคำร้องขอดังกล่าวก็ไม่ได้กล่าวถึงพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ อันเป็นเหตุให้จำเลยยื่นคำร้องขอล่าช้าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่ฟ้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 208 วรรคสอง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและพิจารณาคดี การขอพิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในกำหนด หากพ้นกำหนดถือว่าสละสิทธิ
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารที่พิพาทและส่งมอบอาคารที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องอีก การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยกล่าวว่าจำเลยไม่เคยรับและไม่เคยทราบหมายเรียกจำเลยคงได้รับแต่เฉพาะคำบังคับเท่านั้น น่าเชื่อว่ามีการจงใจปกปิดหมายต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ส่งถึงจำเลยและเพื่อไม่ให้จำเลยทราบ โจทก์เคยบอกว่าจะให้เงินค่ารื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้างออกไป ขอให้จำเลยอย่าสู้คดี จำเลยหลงเชื่อ โจทก์จึงแอบฟ้องนั้นเป็นเพียงข้อกล่าวอ้างซึ่งเป็นเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดเท่านั้น หาเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ และที่จำเลยกล่าวว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารขึ้น ไม่เคยยกให้โจทก์ โจทก์เคยตกลงจะยกทาวน์เฮาส์ให้จำเลยอาศัยโดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน แต่โจทก์ผิดข้อตกลงนั้น เป็นข้ออ้างในทำนองว่าจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างและเป็นเจ้าของอาคารที่ให้เช่า โดยจำเลยไม่ได้คัดค้านในเนื้อหาคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้เป็นผู้เช่า หรือสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดระยะเวลาเช่าหรือคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่แสดงเหตุผลว่า หากศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้จำเลยโดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 2พฤษภาคม 2541 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ต่อศาลภายในวันที่ 1มิถุนายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับแรกเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม2541 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นให้ยกคำร้องขอ โดยมิได้กำหนดให้จำเลยกระทำการอันใดภายในระยะเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบ และการสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ก็ไม่ทำให้ระยะเวลาที่ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ขยายออกไป และหากจำเลยไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 แต่ศาลยังไม่สั่ง หรือไปขอทราบคำสั่งศาลในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แต่เจ้าพนักงานศาลบอกว่าหาสำนวนไม่พบจริง จำเลยย่อมทราบดีว่าจะต้องรักษาสิทธิของจำเลยโดยยื่นคำร้องขอให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้แต่จำเลยหาได้ยื่นคำร้องขอเช่นนั้นไม่ เมื่อจำเลยมิได้กระทำการดังกล่าวข้างต้นจึงไม่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่สองเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นตามมาตรา 208 วรรคแรก ทั้งตามคำร้องขอดังกล่าวก็ไม่ได้กล่าวถึงพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ อันเป็นเหตุให้จำเลยยื่นคำร้องขอล่าช้า คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับที่ฟ้องจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 208 วรรคสอง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัยต่อการกระทำของลูกจ้างระหว่างปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินของ อ. จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัยวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 20 นาฬิกา จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลป้องกันรักษาทรัพย์สินของ อ.ทุกชนิด ไม่ว่าเป็น อาคาร พาหนะ และทรัพย์สินใด ตลอดจนตรวจตราป้องกันการทำให้ทรัพย์สินของ อ.เสียหาย ดังที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับ อ.การที่จำเลยที่ 1 ขับรถตู้ของ อ.ไปหาเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่จำเลยที่ 1เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถตู้ด้วยความประมาทเลินเล่อชนท้ายรถยนต์อื่นเป็นเหตุให้รถตู้ของ อ.คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้าง กรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินของ อ. จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัย วันเกิดเหตุเวลาประมาณ 20 นาฬิกา จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลป้องกันรักษาทรัพย์สินของ อ. ทุกชนิดไม่ว่าเป็น อาคาร พาหนะ และทรัพย์สินใด ตลอดจนตรวจตราป้องกันการทำให้ทรัพย์สินของ อ. เสียหาย ดังที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับ อ. การที่จำเลยที่ 1 ขับรถตู้ของ อ. ไปหาเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถตู้ด้วยความประมาทเลินเล่อชนท้ายรถยนต์อื่นเป็นเหตุให้รถตู้ของ อ. คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันบัญชีเดินสะพัดยังผูกพัน แม้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันแล้ว หากยังมิได้ชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดย สิ้นเชิงจะครบกำหนดวันที่ 2 เมษายน 2534 แม้จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันในวันดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่า มีการหักทอนบัญชีและชำระหนี้คงเหลือให้เสร็จสิ้นไป ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีผล ดังนั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังมีผลผูกพันกันอยู่และกลายเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 อยู่ตราบใด จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาท แต่กรณีการกู้ยืมระหว่างโจทก์กับ ส. จะมีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามที่จำเลยอ้างหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยไว้ในคำให้การ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 26