คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา ถนอมรอด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 258 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้ใหม่ในฎีกา: ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับ ส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาท แต่กรณีการกู้ยืมระหว่างโจทก์กับส.จะมีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยไว้ในคำให้การ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้ามลำดับศาล: การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้เสียหายต้องยื่นต่อศาลอุทธรณ์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1อุทธรณ์ มาตรา 193 วรรคหนึ่ง บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โดยให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะแล้วจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาอนุโลมบังคับใช้แก่การอุทธรณ์ข้อกฎหมายของโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายหรือไม่ไม่ได้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในข้อกฎหมายดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกานั้น เป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการยื่นอุทธรณ์ข้ามลำดับของศาลขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้ามลำดับศาล: ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้หากอุทธรณ์ไม่ผ่านศาลอุทธรณ์
++ เรื่อง บุกรุก
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 157 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการชี้แนะให้เด็กว่ายน้ำข้ามแม่น้ำ การกระทำต้องเป็นเหตุโดยตรงต่อการเสียชีวิต
การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291จะต้องมีการกระทำโดยประมาณและการกระทำโดยประมาทนั้นต้องเป็นผลโดยตรงให้เกิดความตาย การที่จำเลยร้องบอกให้เด็กหญิง จ. ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำไปโดยบอกว่าจะลงมาช่วยเป็นแต่เพียงคำชี้แนะนำของจำเลย จำเลยหาได้บังคับเด็กหญิง จ. ให้ต้องว่ายน้ำข้ามแม่น้ำไปไม่เด็กหญิง จ. มีอายุ 14 ปีเศษ มีวุฒิภาวะพอที่จะรู้ว่าตนเองมีความสามารถพอที่จะว่ายน้ำข้ามไปได้หรือไม่ เมื่อ เด็กหญิง จ. ตัดสินใจสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยเอง และเด็กหญิงจ. จมน้ำและถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากกระแสน้ำไหลเชี่ยว เช่นนี้ความตายของเด็กหญิง จ. หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยไม่ ทั้งไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะ ของจำเลย จำเลยจึงมิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ เด็กหญิง จ. ถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และประมาททำให้ถึงแก่ความตาย ศาลฎีกายกฟ้องฐานประมาท แต่ยืนโทษฐานพรากเด็ก
แม้เด็กหญิง จ. ออกจากบ้านโดยบอกผู้เสียหายที่ 1ซึ่งเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลว่าไปหานางสาว ร. เมื่อพบก็ขอตามไปทำงานที่จังหวัดสระบุรีด้วย นางสาว ร.กับเด็กหญิง จ. ไปหานาย ส.เพื่อขอให้ไปส่งที่บ้านดงบัง และนาย ส. วานจำเลยที่ 1 กับพวกไปส่งแทนก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 กับพวกไม่พานางสาว ร.กับเด็กหญิง จ. ไปส่งที่บ้านดงบัง จำเลยที่ 1 กลับพาเด็กหญิง จ. ไปเที่ยวและค้างคืนที่กระท่อมญาติของจำเลยที่ 1 โดยหาได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายที่ 1 ไม่ทั้งที่ทราบดีว่า นางสาว ร. กับเด็กหญิง จ. จะไปบ้านดงบัง พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ต้องมีการกระทำโดยประมาทและการกระทำโดยประมาทนี้เป็นผล โดยตรงให้เกิดความตาย คำของจำเลยที่ 1 ที่ร้องบอก ให้เด็กหญิง จ. ว่ายน้ำข้ามไป โดยบอกว่าจะลงมาช่วยนั้นคงเป็นแต่เพียงคำชี้แนะ หาได้บังคับให้เด็กหญิง จ. ว่ายน้ำข้ามไปไม่ เมื่อเด็กหญิง จ. ตัดสินใจว่ายน้ำ ข้ามไปและจมน้ำเพราะกระแสน้ำไหลเชี่ยว จนถึงแก่ความตายโดยจำเลยที่ 1 กับพวกไม่สามารถช่วยได้จึงนับได้ว่าเป็นการสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยของเด็กหญิง จ. เองเหตุความตายหาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ ทั้งมิใช่เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของ จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กับพวกจึงมิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กหญิง จ. ถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: การชี้แนะให้ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำ ไม่ถือเป็นเหตุโดยตรง
การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 จะต้องมีการกระทำโดยประมาทและการกระทำโดย ประมาทนั้นต้องเป็นผลโดยตรงให้เกิดความตาย จำเลยร้องบอกให้เด็กหญิง จ. ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำไปโดยบอกว่าจำเลยจะลงมาช่วย เมื่อเป็นแต่เพียงคำชี้แนะของจำเลย จำเลยหาได้บังคับเด็กหญิง จ. ให้ต้องว่ายน้ำข้ามแม่น้ำไปไม่ เด็กหญิง จ. มีอายุ 14 ปีเศษมีวุฒิภาวะพอที่จะรู้ว่าตนเองมีความสามารถพอที่จะว่ายน้ำข้ามไปได้หรือไม่ เมื่อเด็กหญิง จ. ตัดสินใจสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยเอง และเด็กหญิง จ. จมน้ำและถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากกระแสน้ำไหลเชี่ยว เช่นนี้ความตายของเด็กหญิง จ. หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยไม่ทั้งไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของจำเลยจำเลยจึงมิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กหญิง จ.ถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากเด็กหญิงและการกระทำโดยประมาทจนถึงแก่ความตาย: จำเลยไม่มีความผิดฐานประมาท
ในวันที่ 7 ตุลาคม 2539 ตอนเช้าเด็กหญิง ณ.(อายุ 14 ปีเศษ)มาหา จ เพื่อขอตามไปทำงานที่จังหวัดสระบุรี จ.กับเด็กหญิง ณ.ไปหา ส.เพื่อขอให้พาไปส่งที่บ้านดงบัง พบจำเลย บ.และ ฉ.กับพวกอีก 1 คน ส.วานจำเลยกับพวกให้ไปส่งแทน จ.กับเด็กหญิง ณ.นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของ ส. ส่วนจำเลยกับพวกขับรถจักรยานยนต์นั่งซ้อนท้ายไปอีกคันหนึ่ง แต่ ส.ขับรถจักรยานยนต์พา จ.กลับไปที่บ้านโนนฤาษีและพักค้างคืนที่บ้านเพื่อน บ. รุ่งขึ้นวันที่ 8 ส.พาเด็กหญิง ณ.ไปพบจำเลยและพากันมารับพยานไปเที่ยว จ.ขอให้ ส.ไปส่ง จ.กับเด็กหญิง ณ.ที่บ้านดงบัง บ.ไม่ยอมพาไป คืนนั้นจำเลยพา จ.กับเด็กหญิง ณ.ไปพักค้างคืนที่กระท่อมของญาติจำเลยจนถึงคืนวันที่ 10 ตุลาคม 2539 การที่จำเลยที่ 1 พบ จ.กับเด็กหญิงณ.ครั้งแรกที่บ้านนายสมัยไม่ใช่บ้านของนายบุญส่งหรือส่งและจำเลยทราบดีว่า จ.กับเด็กหญิง ณ.จะไปบ้านดงบัง ดังนี้ การที่จำเลยพาเด็กหญิง ณ.ไปนอนค้างที่กระท่อมของญาติจำเลยตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2539 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2539 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองและผู้ดูแล และไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควร ทั้งก่อนหน้านั้น จำเลยก็ทราบดีว่า จ.กับเด็กหญิง ณ.ต้องการจะไปบ้านดงบัง และในวันที่8 ตุลาคม 2539 ที่จำเลยกับ บ.พา จ.กับเด็กหญิง ณ.ไปเที่ยว จ.ขอร้อง บ.ให้ไปส่งคนทั้งสองที่บ้านดงบัง บ.ไม่ยอมพาไป แต่จำเลยกลับพา จ.กับเด็กหญิง ณ.ไปนอนค้างที่กระท่อมของญาติจำเลย พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพรากเด็กหญิง ณ.ไปเสียจากผู้ปกครองและผู้ดูแล
การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 291 จะต้องมีการกระทำโดยประมาทและการกระทำโดยประมาทนั้นต้องเป็นผลโดยตรงให้เกิดความตายการที่จำเลยร้องบอกให้เด็กหญิง ณ.ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำไปโดยบอกว่าจะลงมาช่วยก็ตามซึ่งเป็นแต่เพียงคำชี้แนะของจำเลย จำเลยหาได้บังคับเด็กหญิง ณ.ให้ต้องว่ายน้ำข้ามไปไม่ เด็กหญิง ณ.มีอายุ 14 ปีเศษ มีวุฒิภาวะพอที่จะรู้ว่าตนเองมีความสามารถพอที่จะว่ายน้ำข้ามไปได้หรือไม่ เมื่อเด็กหญิง ณ.ตัดสินใจว่ายน้ำข้ามไปเป็นการสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยเอง และเด็กหญิง ณ.จมน้ำและถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากกระแสน้ำไหลเชี่ยว โดยจำเลยกับพวกไม่สามารถช่วยเด็กหญิง ณ.ได้ เช่นความตายของเด็กหญิง ณ.หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยไม่ ทั้งไม่ใช่เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของจำเลย จำเลยจึงมิได้กระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้เด็กหญิงจรุณีถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3256/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษคดีวิ่งราวทรัพย์ของผู้กระทำผิดขณะศึกษา การวางแผนร่วมกันและพฤติการณ์ร้ายแรงเป็นเหตุไม่รอการลงโทษ
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์ ขับตามผู้เสียหายไปก่อนวิ่งราวทรัพย์นั้น บ่งชี้ว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันวางแผนกระทำความผิดมาก่อน ทั้งอาศัยโอกาส กระทำความผิดต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นสตรีในเวลากลางคืนในขณะปลอดผู้รู้เห็นและสะดวกแก่การหลบหนี การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการคุกคามต่อความปลอดภัยในทรัพย์สิน ของบุคคลทั่วไป ถือว่าเป็นกรณีร้ายแรง และแม้ขณะกระทำ ความผิดมารดาจำเลยที่ 2 จะป่วยไม่มีเงินเป็นค่ารักษาพยาบาลจำเลยที่ 2 ก็สามารถแก้ไขด้วยการประกอบอาชีพสุจริตหรือหยิบยืมจากญาติได้ หาใช่แก้ไขด้วยการกระทำผิดกฎหมายซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเดือด ร้อนต่อสังคมทั่วไปไม่ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะอายุเพียง 18 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งก็ย่อมได้รับการอบรมสั่งสอนให้มี ความรู้สึกผิดชอบและมีความสำนึกว่าควรแก้ไขปัญหาของตน ด้วยการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือด ร้อนต่อบุคคลอื่น และไม่กระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่จำเลยที่ 2 หาได้ นำสิ่งที่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาประพฤติปฏิบัติไม่ กลับมากระทำผิด กฎหมายในขณะกำลังศึกษาเช่นนี้ จึงไม่เป็นเหตุที่จะรอการลงโทษ ให้จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักตัวชาวต่างชาติที่ถูกสั่งห้ามเข้าประเทศและการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งไม่อนุญาตให้อ. ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร เพราะมีพฤติการณ์ค้ายาเสพติดและเป็นธุระจัดหาผู้หญิงเพื่อส่งไปประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 16 อ.ย่อมมีลักษณะต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 12(10) คำสั่งนั้นย่อม มีผลใช้บังคับได้จนกว่าถูกยกเลิกหรือเพิกถอน หลังจากนั้นอ. ได้เดินทางเข้าออกราชอาณาจักรหลายครั้ง โดยได้รับอนุญาตและมีหนังสือเดินทางถูกต้อง แต่ก็หามีผลทำให้อ. กลับกลายเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะไม่ต้องห้ามมิให้เข้ามาในราชอาณาจักรไม่ ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจพบ อ. ในราชอาณาจักร จึงจับอ.ส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อรอการส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 22และ 54 แต่พนักงานอัยการขอรับตัว อ.มาฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469ก่อนแม้ศาลในคดีดังกล่าวจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว อ.กับห้ามมิให้อ.เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และแม้อ. จะมีกำหนดเดินทางออกนอกราชอาณาจักรก่อนถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมไม่กี่วันก็ตาม แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองฯ มาตรา 54 วรรคสาม ก็มีอำนาจรับตัวและกักตัว อ. ไว้ต่อไปได้ ณ สถานที่ใดเป็นเวลานานเท่าใดตามความจำเป็นเนื่องจาก อ.เป็นคนต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เมื่อไม่ได้ความว่าคำสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ให้กักตัว อ. เพื่อรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าการกักตัว อ. เป็นการคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะเป็นเหตุให้ศาลสั่งปล่อยตัว อ.ตามที่ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของ อ. ร้องต่อศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 240 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: ข้อสงสัยตามสมควรและดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุกเพียงกระทงละ 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้ยกฟ้อง สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย แต่พิพากษายืนสำหรับความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในปัญหาว่าจำเลยมิได้กระทำความผิด ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษา ยืนให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ได้ เพราะเป็นการโต้แย้ง ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จุดที่พบเมทแอมเฟตามีนเป็นบริเวณป่าละเมาะมีทางเดินผ่าน ซึ่งบุคคลที่อาศัยอยู่ในบ้านที่ปลูกอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ บ้านจำเลย และบุคคลทั่วไปสามารถเดินผ่านไปมาได้และบุคคลที่เดินผ่าน สามารถเข้าไปยังจุดที่พบเมทแอมเฟตามีนซึ่งซ่อนอยู่ใกล้ ๆ ทางเดินได้โดยสะดวกเพราะไม่มีรั้วกั้น แม้สิบตำรวจเอกอ. จะเห็นจำเลยเดินไปข้างบ้านก่อนจะนำสิ่งของมามอบให้แก่สายลับ แต่ก็ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าจำเลยเดินไปด้านหน้าหรือด้านหลังบ้านและ เดินไปไกลเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยจะเดินไปถึง จุดที่พบเมทแอมเฟตามีนหรือไม่สิบตำรวจเอกอ.ไม่เห็นพยานหลักฐานโจทก์ในส่วนนี้ยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
of 26