คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปัญญา ถนอมรอด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 258 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเดินสะพัด, อายุความ, และการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์ซึ่งเป็นธนาคารแล้วจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยมีอยู่ในบัญชีและโจทก์ยอมผ่อนผันยอมจ่ายไปให้ โจทก์ได้หักทอนบัญชีทุกเดือนและคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำนวนเงินที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในเดือนนั้นส่วนอัตราดอกเบี้ยโจทก์คิดตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ซึ่งเกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีโจทก์และจำเลยถือปฏิบัติต่อกันเช่นนี้เป็นเวลาหลายปีมีการนำเงินเข้าและถอนเงินจากบัญชีหลายสิบครั้ง แสดงว่าโจทก์จำเลยตกลงให้หักทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างกันและคงชำระหนี้ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือถือได้ว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกันโดยปริยาย จำเลยไม่ได้นำเงินเข้าหรือถอนเงินจากบัญชีนั้นเป็นเวลาถึง 5 ปีเศษ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยถอนเงินจากบัญชี แสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่ประสงค์จะเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป โจทก์หักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจึงเลิกกันโดยปริยายนับแต่วันนั้น การที่ต่อมาจำเลยนำเงินเข้าบัญชีและโจทก์นำไปหักใช้หนี้ จึงเป็นการนำเงินเข้าเพื่อชำระหนี้หาทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งเลิกกันไปแล้ว เกิดขึ้นมาใหม่หรือกลับมามีผลไม่ แม้การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีในภายหลังดังกล่าวจะไม่มีผลต่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกไปแล้ว แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการชำระหนี้บางส่วน ย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนหน้านั้นไม่นับเข้าในอายุความ และให้เริ่มนับใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/15 สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30ส่วนอายุความเรียกดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดฐานผลิตและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ฎีกาเน้นการบรรยายฟ้องที่ชัดเจนถึงเจตนา
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยแยกเป็นข้อ ก. ข. ค. ง. ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเฮโรอีนโดยการแบ่งบรรจุใส่หลอดกาแฟปิดหัวท้ายยาวประมาณ 2 เซนติเมตร จำนวน 4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.072 กรัมโดยไม่ได้รับอนุญาต ฟ้องข้อ 1 ข. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนบรรจุหลอดพลาสติกเบอร์ 5 จำนวน 1 หลอดและบรรจุหลอดกาแฟ 4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.368 กรัม อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองของจำเลยทั้งสองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย ดังนี้แม้ฟ้องข้อ1 ข. จะระบุว่าจำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษตามฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ฟ้องทั้ง 2 ข้อดังกล่าวโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยออกเป็นต่างกรรมกัน ฟ้องข้อ 1 ก.โจทก์มิได้บรรยายว่า การผลิตเฮโรอีนของจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย อันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ดังนี้ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกการกระทำความผิดผลิตและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลต้องลงโทษตามองค์ประกอบความผิดที่บรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกันโดยแยกเป็นข้อ ก. ข. ค.ง. ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิต เฮโรอีนโดยการแบ่งบรรจุใส่หลอดกาแฟปิดหัวท้ายยาวประมาณ 2 เซนติเมตร จำนวน 4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.072 กรัม โดยไม่ได้รับอนุญาต ฟ้องข้อ 1 ข. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสอง ร่วมกันมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนบรรจุหลอดพลาสติกเบอร์ 5 จำนวน 1 หลอด และบรรจุหลอดกาแฟ4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.368 กรัม อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองของ จำเลยทั้งสองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้ รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย ดังนี้แม้ฟ้องข้อ 1 ข.จะระบุว่าจำเลยทั้งสองมียาเสพติดให้โทษตามฟ้องข้อ 1 ก.ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ฟ้องทั้ง 2 ข้อดังกล่าวโจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยออกเป็นต่างกรรมกัน ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์มิได้บรรยายว่า การผลิตเฮโรอีนของจำเลยทั้งสองนั้นเป็นการกระทำเพื่อจำหน่ายอันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสองดังนี้ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดผลิตและครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย การลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า จำเลยกระทำความผิดกฎหมาย หลายกรรมต่างกันโดยแยกเป็นข้อ ก.ข.ค.ง. ฟ้องข้อ 1 ก. โจทก์บรรยายว่า จำเลยผลิตเฮโรอีนโดยการแบ่งบรรจุ ใส่หลอดกาแฟปิดหัวท้ายยาวประมาณ 2 เซนติเมตร จำนวน 4 หลอด รวมน้ำหนัก 0.072 กรัม โดยไม่ได้รับอนุญาต ฟ้องข้อ 1 ข.โจทก์บรรยายว่า จำเลยมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ซึ่งเป็นเกลือของเฮโรอีนบรรจุหลอดพลาสติกเบอร์ 5จำนวน 1 หลอด และบรรจุหลอดกาแฟ 4 หลอด รวมน้ำหนัก0.368 กรัม อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมายดังนี้แม้ฟ้องข้อ 1 ข. จะระบุว่าจำเลยมียาเสพติดให้โทษตามฟ้องข้อ 1 ก. ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ฟ้องทั้ง 2 ข้อดังกล่าว โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำความผิดของจำเลยออกเป็นต่างกรรมกัน ฟ้องข้อ 1 ก.โจทก์มิได้บรรยายว่า การผลิตเฮโรอีนของจำเลยนั้นเป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย อันเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ดังนี้ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ คงลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องทดแทนจากผู้รับประกันภัย: การรับช่วงสิทธิและสิทธิไล่เบี้ยตามกรมธรรม์ประกันภัย
การรับช่วงสิทธิเป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย ส่วนการ เกิดสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเป็นไปตามข้อกำหนดของ กรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้มีข้อกำหนดถึงเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ หลักในเรื่องการรับช่วงสิทธิมีอย่างไรจึงย่อมเป็นไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ.ขับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนจำเลยเป็น ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เช่นกัน ขณะเกิดเหตุ จำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ส. ขับโดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ในนามของผู้เอาประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้นเมื่อส.ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของส.ฝ่ายเดียวจำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บ. ซึ่ง โดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้ รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าวตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัย นั้น และเมื่อโจทก์เข้ามาชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ. ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ. ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ และหลักการทั่วไปของกฎหมายแพ่ง
การรับช่วงสิทธิเป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย ส่วนการ เกิดสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเป็นไปตามข้อกำหนดของ กรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย ดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้มีข้อกำหนดถึงเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ หลักในเรื่องการรับช่วงสิทธิมีอย่างไรจึงย่อมเป็นไปตาม บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ. ขับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535ส่วนจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส. ขับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เช่นกันขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส. ขับโดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อ ชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินในนามของผู้เอาประกันภัยแทน ผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของ ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้น เมื่อ ส. ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของ ส. ฝ่ายเดียวจำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บ. ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าว ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยนั้น และเมื่อโจทก์เข้ามา ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ. ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ. ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยรถยนต์ และสิทธิไล่เบี้ยตามกรมธรรม์
การรับช่วงสิทธิเป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย ส่วนการเกิดสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้มีข้อกำหนดถึงเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ หลักในเรื่องการรับช่วงสิทธิมีอย่างไรจึงย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ.
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ.ขับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เช่นกัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินในนามของผู้เอาประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้น เมื่อ ส.ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของ ส.ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บ.ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าวตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยนั้น และเมื่อโจทก์เข้ามาชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ.ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ.ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ราคาขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาตลาดปกติ ไม่ถือเป็นการกระทำโดยมิชอบของเจ้าพนักงานบังคับคดี
สิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลอันเนื่องมาจากการบังคับคดีต่างกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อทรัพย์ในการซื้อขายกันตามปกติราคาทรัพย์ในการซื้อขายทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวจึงอาจแตกต่างกันได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 อ้างเพียงว่า ราคาขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติมากจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ทั้งเหตุที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลทราบดีว่าราคาประเมินในการจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสูงกว่าราคาขายทอดตลาดนั้น ก็มิใช่การกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำร้องของ จำเลยที่ 1 จึงมิได้อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันจะเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การว่าไม่ใช่ผู้ลงลายมือชื่อเช็ค ถือเป็นการฟ้องผิดคน ศาลไม่รับแก้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท บุคคลที่ ถูกฟ้องมีเพียงคนเดียวเป็นหญิง มีชื่อ 2 ชื่อ การที่โจทก์ ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยเป็น นาย ช. เป็นการแก้ทั้งชื่อและเพศของจำเลย ทั้งเป็นการขอแก้ไข หลังจากที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อสู้คดี ว่าจำเลยมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทแม้ศาลชั้นต้น จะยังไม่ได้สั่งรับคำให้การก็ตาม แต่ก็ทำให้ปรากฏว่า ผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคคล ซึ่งมีชื่อตามที่โจทก์ฟ้อง การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องผิดคนแล้วขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งถ้าศาลสั่งอนุญาตจะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเป็นจำเลยจากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การแล้ว หากเป็นการฟ้องผิดตัวบุคคล ศาลย่อมไม่รับคำขอแก้ไข
เดิมโจทก์ฟ้องว่า จำเลยคือนางประไพพรรณหรือซายิดจันจุมอัมพาหรือนางประไพพรรณอับบาส โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท บุคคลที่ถูกฟ้องดังกล่าวมีเพียงคนเดียวเป็นหญิง มีชื่อ 2 ชื่อ ชื่อสกุล 2 ชื่อ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขหลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การต่อศาลแล้วว่า จำเลยมิได้เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายคือเจ้าของบัญชีร่วมกับจำเลยแม้ศาลชั้นต้นจะยังไม่ได้สั่งรับคำให้การก็ตามแต่ก็ทำให้ ปรากฏว่าผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นผู้อื่นที่ไม่ใช่บุคคลซึ่งมีชื่อตามที่โจทก์ฟ้อง การขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นเพียงการขอแก้ไขชื่อจำเลย แต่เป็นเรื่อง ที่โจทก์ฟ้องผิดคนแล้วขอแก้ไขคำฟ้อง ซึ่งถ้าศาลสั่งอนุญาต จะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งเป็นจำเลย จากบุคคลหนึ่งเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ศาลจึงต้องสั่งยกคำร้องของโจทก์
of 26