พบผลลัพธ์ทั้งหมด 258 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินค่าธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น: คำสั่งให้วางเงินไม่ใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดี หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดก่อนแล้วจึงจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องครบถ้วนอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวถือเป็นกระบวนการชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 มิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์อันจะทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงไม่ก่อสิทธิที่จะฎีกาต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจคำฟ้องอุทธรณ์และการวางเงินค่าธรรมเนียม ศาลมีอำนาจสั่งให้วางเงินก่อนพิจารณาอุทธรณ์ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดี หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันทีตามมาตรา 232 แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดก่อนแล้วจึงจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวถือว่าเป็นกระบวนการชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 มิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์อันจะทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตามมาตรา 234 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่ 1 ที่จะฎีกาต่อมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองและเจ้าหนี้สามัญ การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองและทรัพย์สินอื่น
จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์โดยจำนองทรัพย์สินของตนเป็นประกันการชำระหนี้ สัญญาจำนองมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองว่า ถ้าโจทก์บังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด จำเลยยอมรับผิดใช้เงินที่ยังขาดจำนวนนั้นให้แก่โจทก์จนครบถ้วน โจทก์จึงเป็นทั้งเจ้าหนี้สามัญผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้และเป็นเจ้าหนี้จำนองผู้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญโดยมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำนองด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องโดยใช้สิทธิทั้งสองประการดังกล่าวและมีคำขอท้ายฟ้องว่า ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินของจำเลยและทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินสุทธิมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วน อันเป็นการฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องเต็มตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ ซึ่งแม้ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามคำขอท้ายฟ้อง แต่การบังคับคดีโจทก์ก็ยังต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 284 ที่ห้ามมิให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนให้ยึดทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้โจทก์ หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาใช้หนี้โจทก์จนครบถ้วน ซึ่งมีผลเป็นการกำหนดขั้นตอนในการบังคับชำระหนี้โดยให้โจทก์ต้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อน เมื่อไม่พอจึงจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลย อันเป็นการพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิในการบังคับชำระหนี้น้อยกว่าสิทธิที่มีอยู่ ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องมาแล้ว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: การระบุจำนวนเงินและขอบเขตความรับผิด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 รับผิดชำระหนี้ตามสัญญาขอให้โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน (ที่ถูก คือ สัญญาข้อตกลงขอให้ธนาคารเป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน) โดยระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและมิได้กล่าวถึง
จำนวนเงินไว้ เป็นการระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและกำหนดความรับผิดไว้ไม่ชัดแจ้ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้ระบุจำนวนเงินความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้แล้วก็ตาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำนวนเงินไว้ เป็นการระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและกำหนดความรับผิดไว้ไม่ชัดแจ้ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้ระบุจำนวนเงินความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้แล้วก็ตาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2247/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้มีส่วนได้เสียในบังคับคดี: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ผูกพัน แม้คดีจะอยู่ระหว่างพิจารณา
ผู้ร้องอ้างมาในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี โดยศาลจังหวัดอุบลราชธานีและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดขายทอดตลาด จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้ร้อง แม้คดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ย่อมผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายเพราะการบังคับคดีนั้น จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขกระบวนวิธีการบังคับคดีได้ตาม มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนอง ตามมาตรา 289 ป.วิ.พ.
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไว้เท่ากับภาระหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อผู้ร้องแสดงให้เห็นเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อน อันถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตามมาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 289 ก็ไม่ทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิของเจ้าหนี้จำนองในการได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนอง
คำร้องของผู้ร้องที่ยื่นต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองไว้เท่ากับภาระหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อผู้ร้องนั้น แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อน ถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตามมาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 289 ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิเจ้าหนี้จำนองในการบังคับคดีและการขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัยพ์สินจำนองออกขายทอดตลาด ขอให้กันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองไว้เท่ากับภาระหนี้จำนองที่จำเลยมีต่อผู้ร้อง แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองและนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อน อันถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้จำนองจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองซึ่งผู้ร้องมีบุริมสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นการขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่เมื่อคำร้องของผู้ร้องต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 289 ก็ไม่ทำให้คำร้องของผู้ร้องเสียไป ศาลมีอำนาจรับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อมีข้อขัดแย้งภายในและการจำกัดอำนาจผู้จัดการ
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. กำหนดให้ พ. หรือ ณ. คนใดคนหนึ่งต้องลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องและประทับตราของห้างจึงจะมีอำนาจกระทำการแทนห้างได้ แต่ พ. และ ณ. ขัดขวางและกระทำการเป็นปฏิปักษ์ไม่ยอมลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ตัวแทนของห้างไปดำเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้ที่ฉ้อโกงห้าง หากให้ห้างอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปจะทำให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเสียหาย และข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างไม่มีวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ซึ่งตามคำร้องขอเช่นนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของห้างโดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราของห้าง มีอำนาจกระทำการแทนห้างเพื่อผู้ร้องจะได้กระทำกิจการต่างๆ ในนามของห้างได้ อันเป็นการแก้ไขอุปสรรคขัดข้องของห้างมิให้เกิดความเสียหายที่เกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่น แม้ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของห้างว่างลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 73 บัญญัติไว้ แต่เมื่อไม่มีบทกฎหมายยกมาปรับแก่คดีนี้ได้ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ในกรณีนี้จึงต้องอาศัยเทียบมาตรา 73 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 วรรคสอง มาวินิจฉัยคดี และหากได้ความจริงตามคำร้องขอ ศาลก็สามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้แทนชั่วคราวของห้างหุ้นส่วนเมื่อผู้จัดการขัดขวางการดำเนินคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวของห้าง โดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราของห้างมีอำนาจกระทำการแทนห้าง เพื่อผู้ร้องจะได้กระทำกิจการต่างๆ ในนามห้างได้ อันเป็นการแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องของห้างมิให้เกิดความเสียหายเนื่องจากหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่นไม่ยอมลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจร่วมกับผู้ร้องเพื่อดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายจากการที่ผู้อื่นฉ้อโกงห้างทำให้ห้างเสียหาย แม้คำร้องขอของผู้ร้องจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของห้างว่างลงตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 73 บัญญัติไว้ แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีนี้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัยคดีตามมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 73 เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะนำมาวินิจฉัยคดีได้ดังนั้นหากได้ความจริงตามคำร้องขอศาลก็สามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้