คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8081/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา(จำเลยที่ 1) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า มาตรา 4 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 5(3)(ก) เป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและควบคุมดูแลการดำเนินการของกองตรวจสอบ 2เกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ส่วนจำเลยที่ 10เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจหน้าที่รับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 เมื่อจำเลยที่ 10 มีคำวินิจฉัยให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นคัดค้านไว้และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมติยืนตามคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 10 โดยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ารวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 10เป็นจำเลยต่อศาลได้
เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดภาษาไทย คำว่า คอฟ-ทีกับเครื่องหมายการค้าคำว่าค๊อฟ-ซี่ ของโจทก์คู่หนึ่ง และเครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดอักษรโรมัน คำว่า KOF-T กับเครื่องหมายการค้าคำว่า COFCY ของโจทก์อีกคู่หนึ่งนั้นต่างมีสำเนียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกันมาก และมี 2 พยางค์เหมือนกัน การออกเสียงเรียกขานชื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำดังกล่าวอาจทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดได้เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และผู้ซื้อสินค้าอาจจะไม่ได้ดูชื่อที่เขียนอยู่บนห่อสินค้านั้นเพราะเป็นสินค้าที่มีราคาไม่มากตัวอักษรที่นำมาประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันต่างก็มีจำนวนตัวอักษรที่เกือบจะเท่ากันแม้ตัวอักษรบางตัวและลีลาการเขียนตัวอักษรจะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัด เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันความสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่ายโดยเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกตหรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ค๊อฟ-ซี่ และ COFCY รวมทั้งผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่คนทั่วไปมาหลายปีแล้ว บริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า คอฟ-ที และ KOF-Tใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์อีกไม่ได้เพราะเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนยื่นจดทะเบียน และความคล้ายคลึงจนสับสน
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังมิได้มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
มาตรา 29 และ 35 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วยแต่เมื่อไม่มีการคัดค้าน กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 35 และหาเป็นการตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างประกอบด้วยตัวอักษรโรมันตัวเดียวกันคือ "K" และ "L" ซึ่งแม้จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะแตกต่างกัน แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองก็มีสำเนียงเรียกขานว่า "เคแอล" เช่นเดียวกัน ทั้งสินค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่างและมือจับที่ทำด้วยโลหะเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าได้
โจทก์จ้างสถาปนิกให้ออกแบบเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับซึ่งทำด้วยโลหะของโจทก์ตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่โจทก์ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโจทก์ยังได้จัดพิมพ์ใบโฆษณาขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่สินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวแก่สาธารณชนมาก่อนจำเลยโดยเฉพาะสินค้าของโจทก์จะมีตัวอักษรโรมันว่า "KL" ติดอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันว่า "KL" ในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะมาก่อนจำเลยโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตัวอักษรโรมันดังกล่าวในสินค้าจำพวกวงกบประตู หน้าต่าง และมือจับที่ทำด้วยโลหะและสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันดีกว่าจำเลย และมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในชื่อการค้าและเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองชื่อที่ใช้ก่อนและป้องกันการใช้ในธุรกิจที่คล้ายคลึง
โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้าและใช้เครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2524 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะดำเนินธุรกิจให้เช่าห้องพักในรูปแบบเกสต์เฮาส์โดยใช้ชื่อว่า "Comfort Inn" และใช้ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ว่า "Comfort Inn Co,. LTD." ถึง 5 ปี และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") เพื่อใช้กับบริการให้เช่าห้องพักและโรงแรมถึง 11 ปี เมื่อโจทก์ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการโรงแรมของโจทก์ เป็นเครื่องหมายบริการสำหรับธุรกิจโรงแรมของโจทก์ และเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน เช่น กระดาษ แผ่นการ์ด ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณากิจการโรงแรมของโจทก์มาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะใช้คำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการเกสต์เฮาส์ให้เช่าห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการโรงแรมของโจทก์ ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน กระดาษ ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณาต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยที่ 1 และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำว่า "Comfort Inn" มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") หลายปี โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าและที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม
โจทก์ได้ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาก่อน เมื่อจำเลยทั้งสามได้ทราบถึงกิจการโรงแรมของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" แล้วนำคำดังกล่าวมาใช้กับกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยทั้งสาม การที่จำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn " เป็นชื่อธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพัก และใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Comfort Inn Co., LTD." กับใช้ชื่อทางการค้าที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" กับสินค้ากระดาษ ซองจดหมาย ใบสั่งซักรีดเสื้อผ้า กระดาษห่อสบู่ ใบสั่งจองห้องพัก ใบเสร็จรับเงิน และแผ่นพับโฆษณาธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพักของจำเลยทั้งสาม และใช้คำว่า "COMFORT INN โรงแรมคอมฟอร์ต อินน์" พิมพ์ไว้ที่ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่แก้วน้ำในห้องพัก ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าเดียวกันกับชื่อทางการค้าของโจทก์และใช้กับกิจการโรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ากิจการบริการของจำเลยทั้งสามเป็นกิจการบริการของโจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากลูกค้าโรงแรมของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งสับสนหลงผิดไปใช้บริการของจำเลยทั้งสามได้ เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" สำหรับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยดีกว่าจำเลยทั้งสาม ห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในการประกอบธุรกิจโรงแรมของจำเลยทั้งสามในประเทศไทย และห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกกระดาษ การ์ด สิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์โฆษณา ภาพพิมพ์ รูปภาพ และรูปถ่ายเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม และห้ามจำเลยทั้งสามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในนามทางการค้า: การใช้ชื่อซ้ำโดยธุรกิจต่างประเภท ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย จึงไม่อาจสั่งห้ามได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "VICTORIA'S SECRET" โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เพื่อใช้กับสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผลิตภัณฑ์ชุดชั้นใน รวมทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับในประเทศไทยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 38 เดิม จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการประเภทภัตตาคาร ส่วนจำเลยที่ 2 ประกอบกิจการสถานออกกำลังกาย โดยกิจการของจำเลยทั้งสองดังกล่าวใช้ชื่อทางการค้าว่า "VICTORIA'S SECRET" และ "วิคตอเรีย ซีเครท" โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นชื่อทางการค้าของจำเลยทั้งสอง กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในนามของบุคคลซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้า จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามได้ก็ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายนั้น แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปใช้เป็นชื่อทางการค้าสำหรับสถานบริการประเภทภัตตาคาร ไนท์คลับ และสถานออกกำลังกายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนไว้นั้น จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสื่อมเสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการธุรกิจบริการก็เป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกิจการการค้าของโจทก์ซึ่งผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัว เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี อันอาจทำให้โจทก์มีรายได้ในทางการค้าลดลงหรือทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหายอื่นใด โจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวในการประกอบกิจการสถานบริการของจำเลยทั้งสองได้
??
??
??
??
1/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้า ต้องพิสูจน์ความเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้าที่เหมือนกัน
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "VICTORIA'SSECRET" โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เพื่อใช้กับสินค้าประเภท ของใช้ส่วนตัว เครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี ผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในรวมทั้งสินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สำหรับในประเทศไทยโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อใช้กับสินค้าในจำพวกที่ 38 เดิม จำเลยที่ 1ประกอบกิจการประเภทภัตตาคาร ส่วนจำเลยที่ 2 ประกอบ กิจการสถานออกกำลังกาย โดยกิจการของจำเลยทั้งสองดังกล่าว ใช้ชื่อทางการค้าว่า "VICTORIA'SSECRET" และ "วิคตอเรียซีเครท"โจทก์ขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็น ชื่อทางการค้าของจำเลยทั้งสอง กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิ ในนามของบุคคลซึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้า จะร้องขอต่อศาล ให้สั่งห้ามได้ก็ต่อเมื่อการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือเป็นที่วิตกว่าจะต้องเสียหาย อยู่สืบไปด้วย และโจทก์ผู้เป็นเจ้าของนามหรือชื่อทางการค้านั้น มีหน้าที่นำสืบถึงความเสียหายนั้น แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ มาไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปใช้เป็นชื่อทางการค้า สำหรับสถานบริการประเภทภัตตาคาร ไนท์คลับและสถานออกกำลังกายของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยทั้งสองได้จดทะเบียนไว้นั้น จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเสื่อมเสียประโยชน์แต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการธุรกิจบริการก็เป็นธุรกิจที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกิจการการค้าของโจทก์ซึ่งผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทของใช้ส่วนตัวเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีอันอาจทำให้โจทก์มีรายได้ในทางการค้าลดลงหรือทำให้โจทก์เสื่อมเสียประโยชน์หรือได้รับความเสียหายอื่นใด ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวในการประกอบกิจการสถานบริการของ จำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนในการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ขอจดทะเบียน เป็นอักษรโรมัน ตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาคำว่า "GIANFERRENTE" อ่านว่า "เจียนเฟอร์รองเต้" หรือ"จิอองเฟอร์รองเต้" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัทจ.ซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คำว่า "GIANFRANCOFERRE" อ่านว่า "จิอองฟรังโก้เฟอร์รี่"แม้เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีตัวอักษรโรมันสองคำเช่นเดียวกัน และในภาคส่วนแรกประกอบด้วยอักษรโรมัน 4 ตัวแรก เหมือนกันก็ตามแต่อักษรโรมันคำอื่นที่ประกอบเป็นคำแตกต่างกัน โดย เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "GIAN" ประกอบด้วย อักษรโรมัน 4 ตัว ส่วนของบริษัทจ. ผู้คัดค้านคือคำว่า"GIANFRANCO" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 10 ตัวและภาคส่วนท้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า "FERRENTE" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 8 ตัวส่วนของผู้คัดค้านใช้คำว่า "FERRE" ประกอบด้วยอักษรโรมัน5 ตัว รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจึงแตกต่างกัน การเรียกขานเครื่องหมายการค้าของทั้งสองเครื่องหมายแตกต่างกัน คือของโจทก์เรียกขานว่า"จิอองเฟอร์รองเต้" ส่วนของผู้คัดค้านเรียกขานว่า"จิอองฟรังโก้เฟอรี่" รูปลักษณะของตัวอักษรที่ประกอบเป็นคำ จำนวนตัวอักษรโรมันทั้งหมด กับการวางรูปคำเสียงเรียกขานเครื่องหมายของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกันเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะเครื่องหมายการค้า "GIANFRANCOFERRE"มีคำว่า "FRANCO" แต่ของโจทก์ไม่มีคำนี้ จึงจะทำให้ลักษณะของคำและการเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีจุด สังเกตุ ข้อแตกต่างได้ชัด ซึ่งสาธารณชนมองเห็น ความแตกต่างกันได้ เช่นนี้จึงยังถือไม่ได้ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของบริษัทจ.จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าโจทก์ย่อมมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "GIANFERRENTE" ได้ จึงชอบที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า พึงดำเนินการตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ต่อไป ตามคำบรรยายฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าโดยฟ้องคดีต่อศาล ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 38 วรรคสอง เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียนแล้วให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ แล้วมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบและให้ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่ชำระค่าธรรมเนียมให้ถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียนและการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เป็นไปตาม วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 40 ดังนี้ เมื่อศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและให้เพิกถอน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามฟ้องแล้วขั้นตอนดำเนินการต่อไปมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะดังกล่าวแล้ว ซึ่งในที่สุดนายทะเบียน จะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับขั้นตอนและเงื่อนไขตามที่กฎหมายบัญญัติ ไว้ต่อไป มิใช่จะรับจดทะเบียนให้ได้โดยทันที และกรณียังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับ การปฏิบัติในขั้นตอนดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ ศาลบังคับให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ไปเลย และปัญหานี้เป็นปัญหาอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความ ฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาว่าให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ต่อไปนั้น ยังไม่ถูกต้อง จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้ยกคำขอของโจทก์ที่ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดและความถูกต้องของคำพิพากษา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาคำว่า "GIAN FERRENTE" อ่านว่า "เจียนเฟอร์รองเต้" หรือ"จิอองเฟอร์รองเต้" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท จ. ซึ่งจดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ คำว่า " GIANFRANCO FERRE' " อ่านว่า "จิอองฟรังโก้เฟอร์รี่" แม้เครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีตัวอักษรโรมันสองคำเช่นเดียวกัน และในภาคส่วนแรกประกอบด้วยอักษรโรมัน4 ตัวแรก เหมือนกันก็ตาม แต่อักษรโรมันคำอื่นที่ประกอบเป็นคำแตกต่างกัน โดยเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "GIAN" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 4 ตัว ส่วนของบริษัท จ. ผู้คัดค้านคือคำว่า "GIANFRANCO" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 10 ตัวและภาคส่วนท้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้คำว่า "FERRENTE" ประกอบด้วยอักษรโรมัน 8 ตัว ส่วนของผู้คัดค้านใช้คำว่า "FERRE" ประกอบด้วยอักษรโรมัน5 ตัว รูปลักษณะเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจึงแตกต่างกัน การเรียกขานเครื่องหมายการค้าของทั้งสองเครื่องหมายแตกต่างกัน คือของโจทก์เรียกขานว่า"จิอองเฟอร์รองเต้" ส่วนของผู้คัดค้านเรียกขานว่า "จิอองฟรังโก้เฟอรี่" รูปลักษณะของตัวอักษรที่ประกอบเป็นคำ จำนวนตัวอักษรโรมันทั้งหมด กับการวางรูปคำเสียงเรียกขานเครื่องหมายของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกันเป็นส่วนมาก โดยเฉพาะเครื่องหมายการค้า " GIANFRANCO FERRE' "มีคำว่า "FRANCO" แต่ของโจทก์ไม่มีคำนี้ จึงจะทำให้ลักษณะของคำและการเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีจุดสังเกตข้อแตกต่างได้ชัด ซึ่งสาธารณชนมองเห็นความแตกต่างกันได้ เช่นนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท จ.จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "GIAN FERRENTE"ได้ จึงชอบที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพึงดำเนินการตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่อไป
ตามคำบรรยายฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าโดยฟ้องคดีต่อศาล ตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 38 วรรคสอง เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียนแล้ว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ แล้วมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ และให้ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่ชำระค่าธรรมเนียมให้ถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 ดังนี้ เมื่อศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามฟ้องแล้วขั้นตอนดำเนินการต่อไปมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะดังกล่าวแล้ว ซึ่งในที่สุดนายทะเบียนจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับขั้นตอนและเงื่อนไขตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ต่อไป มิใช่จะรับจดทะเบียนให้ได้โดยทันที และกรณียังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการปฏิบัติในขั้นตอนดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปเลย และปัญหานี้เป็นปัญหาอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาว่าให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ต่อไปนั้น ยังไม่ถูกต้อง จึงควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้ยกคำขอของโจทก์ที่ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด และละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
แม้คำว่า "เจ้าสาว" จะเป็นคำสามัญ แต่จำเลยเอาชื่อคำว่า "เจ้าสาว" มาใช้โดยจงใจให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าร้านของจำเลยคือร้านของโจทก์หรือเป็นสาขาหรือเกี่ยวข้องกับร้านของโจทก์ การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะโจทก์กับจำเลยดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกันแม้มิได้อยู่ในทำเลละแวกเดียวกันลูกค้าที่นิยมในชื่อเสียงของร้านโจทก์อาจจะเข้าใจผิดไปตัดเย็บหรือซื้อชุดวิวาห์จากร้านของจำเลยอันเป็นการแย่งลูกค้าจากโจทก์ไปส่วนหนึ่งและหากร้านจำเลยตัดเย็บชุดวิวาห์มีคุณภาพไม่ดีหรือประกอบกิจการไม่เป็นที่พอใจแก่ลูกค้าก็อาจกระทบต่อชื่อเสียงของร้านโจทก์ให้ต้องเสื่อมเสียไปด้วยย่อมส่งผลต่อรายได้ของโจทก์ ดังนั้น การกระทำของจำเลยในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดสิทธิในการใช้นามที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 และเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยระงับการกระทำดังกล่าวได้ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยนำคำว่า "เจ้าสาว" ซึ่งเป็นชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้ประกอบกิจการร้านจำหน่ายสินค้าของจำเลย โดยไม่มีสิทธิและเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์นั้น ตราบใดที่จำเลยยังคงใช้คำดังกล่าวอยู่จนถึงวันฟ้อง การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อเนื่องตลอดมา โจทก์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยระงับการกระทำนั้นอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีใช้ชื่อสมญานามทางการค้า: การฟ้อง น.บูติค โดย ย. ถือเป็นการฟ้อง ย. เจ้าของสมญานาม
โจทก์ฟ้อง น.บูติค โดย ย.เป็นจำเลย ขอให้บังคับชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้บัตรเครดิตธนาคารโจทก์พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีว่า จำเลยเป็นลูกค้าของธนาคารโจทก์ เปิดบัญชีเดินสะพัดไว้กับโจทก์ และในส่วนที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตธนาคารระบุว่า จำเลยยื่นคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ย.ใช้ชื่อในการประกอบธุรกิจว่า น.บูติค ในหนังสือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงระบุว่า น.บูติค โดย ย.เป็นผู้กู้ ส่วนในใบสมัครและข้อตกลงการเป็นผู้ถือบัตรเครดิตก็ระบุว่า น.บูติค โดย ย. ย่อมเห็นได้ว่า น.บูติคเป็นนามสมญาในทางการค้าของ ย. ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์ที่ระบุว่า น.บูติค ในช่องคู่ความ และที่ระบุว่าโจทก์ขอยื่นฟ้อง น.บูติค โดย ย.จำเลย จึงหมายความถึงฟ้อง ย.ในนามเจ้าของสมญาน.บูติค โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง1 ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีบุคคลธรรมดาในนามสมญาทางการค้า ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องได้หากระบุชื่อเจ้าของสมญาในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้อง น.บุติคโดยย. เป็นจำเลย ขอให้บังคับชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้บัตรเครดิตธนาคาร โจทก์พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีว่า จำเลยเป็นลูกค้าของธนาคารโจทก์ เปิดบัญชีเดินสะพัดไว้กับโจทก์และในส่วนที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตธนาคารระบุว่า จำเลยยื่นคำขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันระบุว่า ย.ใช้ชื่อในการประกอบธุรกิจว่าน.บูติคในหนังสือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงระบุว่า น.บูติคโดย ย. เป็นผู้กู้ ส่วนในใบสมัครและข้อตกลงการเป็นผู้ถือบัตรเครดิตก็ระบุว่า น.บูติคโดยย. ย่อมเห็นได้ว่า น.บูติคเป็นนามสมญาในทางการค้าของย. ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์ที่ระบุว่า น.บูติค ในช่องคู่ความ และที่ระบุว่าโจทก์ขอยื่นฟ้อง น.บูติคโดยย. จำเลยจึงหมายความถึงฟ้อง ย.ในนามเจ้าของสมญาน.บูติคโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
of 11